Soft Power สู่การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

ผู้แต่ง

  • โมไณย อภิศักดิ์มนตรี ผู้อำนวยการโรงเรียนเจ้าพระยาวิทยาคม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • วรพล ศรีเทพ ผู้อำนวยการโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๑๐๒ (บ้านเกาะเต่า) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

คำสำคัญ:

ซอฟต์พาวเวอร์, การจัดการเรียนรู้, ศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

ในยุคศตวรรษที่ 21 ซึ่งเต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วและความท้าทายที่ซับซ้อน การศึกษาได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ให้พร้อมต่อการเผชิญหน้ากับโลกอนาคต Soft Power ซึ่งเน้นการสร้างแรงดึงดูดและความน่าเชื่อถือผ่านวัฒนธรรม การสื่อสาร และการมีส่วนร่วม ได้รับการยอมรับว่าเป็นแนวคิดสำคัญที่สามารถบูรณาการสู่การจัดการเรียนรู้ในทุกระบบการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันโลกกำลังประสบปัญหากับความไม่แน่นอนจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการเข้ามาแทนที่ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของประเทศในมิติการศึกษาอยู่ในหัวข้อของวัฒนธรรมในการใช้เป็น Soft Power ฐานะเครื่องมือที่สร้างศักยภาพ เพื่อเพิ่มคุณภาพให้แก่ประชากรในอนาคตผ่านการขัดเกลาทางสังคม โดยบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ซึ่งการรับรู้ในชีวิตประจำวันและวัฒนธรรมการศึกษากับ Soft Power  เป็นวิธีการ การส่งเสริมสนับสนุน แทรกซึม อย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งเป็นผลโดยอ้อมที่แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนของ Soft Power ซึ่งส่งผลถึง ค่านิยม และหลงใหลในวัฒนธรรมทำให้เกิดการกล่าวถึงบอกต่อไปในวงกว้าง และการปรับตัวให้ทันต่อ เหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำให้เกิดประโยชน์แก่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยิ่ง เกิดเป็น รูปแบบบุคคลที่ต้องเป็นผู้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ เพื่อให้เท่าทันโลกสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต และเป็น บุคคลแห่งศตวรรษที่ 21 หรือศตวรรษหน้าต่อไป การใช้ Soft Power เป็นแนวคิดสำคัญในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นการสร้างแรงจูงใจและความน่าเชื่อถือผ่านการสื่อสารและการมีส่วนร่วม มากกว่าการบังคับ โดยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ในระบบการศึกษา สามารถบูรณาการวัฒนธรรม ศิลปะ และเทคโนโลยีในหลักสูตรเพื่อสร้างแรงบันดาลใจและพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน ในระบบนอกระบบ สามารถใช้ Soft Power ในการฝึกอบรมอาชีพและสร้างเครือข่ายชุมชนเรียนรู้ ขณะที่ในระบบตามอัธยาศัยสามารถส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตผ่านสื่อดิจิทัลและการสร้างเครือข่ายออนไลน์ การประยุกต์ใช้ Soft Power อย่างเหมาะสมนี้ช่วยพัฒนาผู้เรียนในด้านความคิดเชิงวิพากษ์ การปรับตัว ความเป็นพลเมืองโลก และการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงในอนาคตอย่างยั่งยืน

References

ชูศักดิ์ ชูศรี. (2564). การรับรู้รูปแบบอำนาจละมุน (Soft Power) ในมุมมองของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. Journal of Social Science and Cultural. 8(7), 152 - 161.

นิติราษฎร์ บุญโย. (2565). Soft Power ของไทย? ความหมาย ความจริงและความฝัน กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้น 10 พฤศจิกายน 2567, จาก https://www.bangkokbiznews.com/blogs/

columnist/999871

พิณสุดา สิริธรังศรี. (2560). การพัฒนาการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมือง. สุทธิปริทัศน์, 31(100), 100 - 113.

พีระ เจริญวัฒนนุกูล. (2565). "ยุทธศาสตร์ Soft Power" ของไทย และความหนักใจในการสร้าง Moral Authority ด้านการต่างประเทศ. สืบค้น 1 ตุลาคม 2567, จาก https://isc.mfa.go.th/en/content/ยุทธศาสตร์-soft-power-ของไทย?cate=5f204

a5928600c531517cb75

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี - สฤษวงศ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2560). แนวทางในการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สุภาพิชญ์ ถิระวัฒน์. (2565). Soft Power (อำนาจละมุน). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สุรชาติ บำรุงสุข. (2557). Soft Power. กรุงเทพฯ: สถาบันการข่าวกรอง สำนักข่าวกรองแห่งชาติ.

อิงอร เนตรานนท์. (2562). พลังอำนาจแห่งชาติซอฟต์พาวเวอร์ของไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, 11(1), 33 - 47.

Atkinson, Carol. (2010). Does Soft Power Matter? A Comparative Analysis of Student Exchange Programs 1980 – 2006. Foreign Policy Analysis, 6(1), 1 – 22.

McClory, J. (2012). The New Persuaders III. Monocle: Institute for Government.

Nye, J. S. (2004). Soft Power: The Means to Success In World Politics. New York: Public Affairs.

Partnership for 21st Century Skills. (2009). Framework for 21st Century Learning. Retrieved October 1, 2024, from http://www.p21.org/about-us/p21-framework

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04/05/2025

How to Cite

อภิศักดิ์มนตรี โ., & ศรีเทพ ว. (2025). Soft Power สู่การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา, 3(1), 78–91. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/IAEM/article/view/1221

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ (Academic Articles)