การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาที่มีคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 โดยใช้การวิจัยประสบการณ์ผู้ใช้
คำสำคัญ:
ข้อเสนอเชิงนโยบาย, ความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยประสบการณ์ผู้ใช้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ในการลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาที่มีคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 โดยใช้การวิจัยประสบการณ์ผู้ใช้ 2) สร้างข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาที่มีคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 และ 3) ประเมินข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาที่มีคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 14 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง 2) แบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1.ข้อเสนอเชิงนโยบายจากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาเพื่อร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย ได้แก่ ด้านการจัดสรรงบประมาณ ด้านการจัดสรรอัตรากำลัง ด้านสุขภาพและความปลอดภัย และด้านการเข้าถึงทรัพยากรทางการเรียนการสอน 2.การสร้างข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาที่มีคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 จำนวน 6 ด้าน ได้แก่ วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ กลยุทธ์ และแนวปฏิบัติ และ 3.การประเมินข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาที่มีคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด
References
กนกภรณ์ เทสินทโชติ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
กนกอร อุ่นสถานนท์. (2563). การบริหารด้านความปลอดภัยของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กรุงเทพมหานคร. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 10(2), 1 - 14
ชัยยุทธ ปัญญสวัสดิ์สุทธิ์. (2563). เหลื่อมล้ำในวัยเรียน: สองทศวรรษของความเหลื่อมล้ำทางคุณภาพการศึกษา และ การจัดสรรทรัพยากรระดับพื้นที่ของประเทศไทย. ใน ณพล สุดใส และพลอย ธรรมาภิรานนท์ (บ.ก.), ชีวิตที่เหลื่อมล้ำ: เหลื่อมล้ำตลอดชีวิต. (น.185 – 206). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณัชชา มหปุญญานนท์. (2566). ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในประเทศไทย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 17(1), 21 - 45.
ธนกร วรพิทักษานนท์. (2564). ผลกระทบของความเหลื่อมล้ำในการเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนไทย. วารสารวิจยวิชาการ, 5(6), 203 – 216.
ปังปอนด์ รักอำนายกิจ เเละ ศิริพงศ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา. (2558). งบประมาณการศึกษากับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน: ข้อค้นพบในประเทศไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์ปริทรรศน์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 9(2), 88 – 108.
พระมหาจักรพันธ์ จกฺกวโร (นะวะแก้ว). (2563). แนวทางการพัฒนาศักยภาพและโอกาสทางการศึกษาของเยาวชนบนพื้นที่สูงในจังหวัดตาก. วารสารปัญญาปณิธาน, 5(1), 119 - 131.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). รายงานการติดตามความก้าวหน้าการสร้างความเป็น ธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย ภายใต้ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม แผนพัฒนาฯฉบับที่ 12. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
อุทัย ปริญญาสุทธินันท์. (2563). การพัฒนาชุมชนแนวคิดและทฤษฎีการพัฒนา ประเด็นปัจจุบันและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Pholphirul, P., Rukumnuaykit, P., & Teimtad, S. (2023). Teacher shortages and educational outcomes in developing countries: Empirical evidence from PISA-Thailand. Cogent Education, 10(2), 1 – 26.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา
![Creative Commons License](http://i.creativecommons.org/l/by-nc-nd/4.0/88x31.png)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.