การประเมินโครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะของโรงเรียน บ้านเกล็ดแก้ว (ซีเซะ) โดยใช้แบบจำลองการประเมินของเคิร์กแพทริค
คำสำคัญ:
การประเมินโครงการ, หลักสูตรฐานสมรรถนะ, เคิร์กแพทริคบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการประเมินโครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะของโรงเรียนบ้านเกล็ดแก้ว (ซีเซะ) โดยใช้แบบจำลองการประเมินของเคิร์กแพทริค (Kirkpatrick) โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อประเมินปฏิกิริยาตอบสนอง 2.เพื่อประเมินการเรียนรู้ 3.เพื่อประเมินพฤติกรรม และ4.เพื่อประเมินผลลัพธ์ โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นครู โรงเรียนบ้านเกล็ดแก้ว(ซีเซะ) จำนวน 12 คน และนักเรียนชั้นป.3 และป.6 จำนวน 56 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบประเมินทั้งหมด 4 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบทดสอบ แบบนิเทศและแบบประเมินสมรรถนะผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการประเมินปฏิกิริยาตอบสนอง พบว่า ครูมีระดับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก (=3.98, SD=0.45) 2. ผลการประเมินการเรียนรู้ พบว่า คะแนนทดสอบหลังการจัดทำหลักสูตรของครูสูงกว่าก่อนการจัดทำหลักสูตรอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 3. ผลการประเมินพฤติกรรม พบว่า ผลการติดตามนิเทศกระบวนการจัดการเรียนรู้ของครู โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (
=3.61, SD=0.75) 4. ผลการประเมินผลลัพธ์ ที่เกิดกับผู้เรียน จากการประเมินสมรรถนะของนักเรียนชั้นป.3 พบว่า สมรรถนะด้านการสื่อสาร มีผลการประเมินเหนือความคาดหมาย สำหรับสมรรถนะด้านการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืนที่อยู่ในระดับ "กำลังพัฒนา" และสมรรถนะด้านอื่น ๆ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับ "สามารถ" สำหรับนักเรียนชั้นป.6 พบว่า สมรรถนะด้านการจัดการตนเอง การทำงานเป็นทีม และการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งได้รับการประเมินในระดับ "สามารถ" ส่วนด้านการคิดขั้นสูง การสื่อสาร และการอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้รับการประเมินในระดับ "กำลังพัฒนา"
References
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
รสาพร หม้อศรีใจ. (2562). รายงานการประเมินผลการใช้หลักสูตรการจัดทาหนังสือเรียนรายวิชาเลือกเสรีสำหรับครูการศึกษานอกโรงเรียน. สืบค้น 17 กันยายน 2567, จาก http://elibrary.nfe.go.th/e_library/ebook/0/ebook/1580095928.pdf
ระย้า คงขาว. (ม.ป.ป.). รูปแบบการนิเทศที่การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูผู้สอน สู่พัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้รูปแบบการนิเทศชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring). สืบค้น 17 กันยายน 2567, จาก https://www.shorturl.asia/C75lQ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). หลักสูตรฐานสมรรถนะ. สืบค้น 20 สิงหาคม 2567, จาก https://www.facebook.com/CBE-Thailand-109070987546747/.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). คู่มือการนำกรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2565). คู่มือการใช้เครื่องมือประเมินสมรรถนะของผู้เรียน.กรุงเทพฯ: อักษรไทย (น.ส.พ.ฟ้าเมืองไทย).
สุภาลัย สายคำภา. (2564). การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุกที่ส่งผลต่อสมรรถนะของผู้เรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Kirkpatrick, D. L., & Kirkpatrick, J. D. (2006). Evaluating training programs: The four levels (3rd ed.). Oakland: Berrett-Koehler Publishers.
Vygotsky, L. S. (1978). Mind in society: The development of higher psychological processes. Cambridge: Harvard University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา
![Creative Commons License](http://i.creativecommons.org/l/by-nc-nd/4.0/88x31.png)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.