การศึกษาปัจจัยทางการตลาดบริการผ่านสื่อดิจิทัลที่ส่งผลเกิดการ บอกต่อของผู้ใช้บริการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในเขตอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
ปัจจัยการตลาดบริการ, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, สื่อดิจิทัล, การบอกต่อบทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องการศึกษาปัจจัยการตลาดบริการผ่านสื่อดิจิทัลที่ส่งผลให้เกิดการบอกต่อของผู้ใช้บริการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในเขตอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการตลาดบริการผ่านสื่อดิจิทัลและการบอกต่อของผู้ใช้บริการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และปัจจัยด้านการตลาดบริการผ่านสื่อดิจิทัลที่ส่งผลให้เกิดการบอกต่อผู้ใช้บริการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประชากรในการศึกษาได้แก่ นักท่องเที่ยวในสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียงในจังหวัดลำปาง 5 แห่ง แห่งละ 30 คน รวมจำนวน 150 คน โดยมีตัวแปรต้นคือ ปัจจัยการตลาดบริการผ่านสื่อดิจิทัล และตัวแปรตามคือการบอกต่อ (Word of Mouth (WOM) การศึกษาในเชิงปริมาณ (Quantitative) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการไม่อาศัยความน่าจะเป็น (Non-Probability Sampling) ด้วยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบโควตา (Quota Sampling) โดยมีสถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation) และค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยแบบพหุคูณ (Linear Regression) ณ ระดับนัยสําคัญที่ 0.01 และ 0.05 โดยมีผลการศึกษาดังนี้
จากการทดสอบพบว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์และสมมติฐานที่กำหนดไว้ กล่าวคือปัจจัยการตลาดบริการผ่านสื่อดิจิทัลมีความสัมพันธ์กับการบอกต่อของลูกค้าบริการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายพบว่ามีค่าระหว่างตัวแปร ตั้งแต่ระหว่าง 0.175 ถึง 0.609 มีความสัมพันธ์กันน้อยถึงปานกลางและเป็นทิศทางบวกทั้งหมด ณ ระดับนัยสําคัญ 0.01 และ 0.05 และพบว่าตัวแปรต้นสามารถอธิบายตัวแปรตามได้ร้อยละ 32 จากการทดสอบสัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณ พบว่าด้านกายภาพของการบริการ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการตลาด และด้านการส่งเสริมการตลาดที่ผ่าน สื่อดิจิทัลส่งผลต่อการบอกต่อผู้ใช้บริการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ณ ระดับนัยสําคัญที่ 0.05 โดยสามารถแสดงสมการถดถอยจากคะแนนดิบดังได้นี้
References
สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). [ออนไลน์]. ข้อมูลด้านการท่องเที่ยวระหว่าง ปี 2554 – 2563. [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2567]. จาก https://shorturl.asia/JflC6
ศูนย์วิจัยด้านตลาดการท่องเที่ยว. (2564). [ออนไลน์]. สถานการณ์ท่องเที่ยวตลาดในประเทศปี 2564. [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2567]. จาก https://shorturl.asia/MGCsj
เยาวภา วงศ์สวัสดิ์. (2557). การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1: นโยบายสู่แนวทางปฏิบัติ. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ. ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม -ธันวาคม). 39-47
CBE Thailand. (2567). [ออนไลน์]. ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580. [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2567]. จาก https://shorturl.asia/607Qw
ฤทธิจักร จันทิมา. (2565). แนวทางการพัฒนาภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมภาคเหนือแบบยั่งยืน. สาขาวิชาการพัฒนาสังคม บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
ขวัญนภา สุขคร และคณะ. (2561). การพัฒนายุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการ : ตามแนวคิดลำปางเมืองที่ไม่หมุนตามกาลเวลา. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences. 1-23.
Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1988). SERVQUAL: A multiple-item scale for measuring consumer perceptions of service quality. Journal of Retailing, 64(1), 12–40.
Kotler, P., & Armstrong, G. (2010). Principles of Marketing (14th ed.). Upper Saddle River, New Jersey: Prentice Hall.
ขจรพงศ์ เตือนวีระเดช. (2561) อิทธิพลของการสื่อสารการตลาดแบบปากต่อปากบนสื่อออนไลน์ต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านกาแฟสดของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
เสาวรภย์ สุวรรณกิจ. (2561). ศึกษาอิทธิผลการกู้คืนผลิตภัณฑ์และบริการ การตลาดแบบปากต่อปากผ่านทางอิเล็กโทรนิกส์และความไว้วางใจที่มีผลต่อความภักดีของผู้บริโภค. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การตลาด). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ธำรง รัตนภรานุเดช. (2563). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดบนสื่อสังคมออนไลน์ของธุรกิจออนไลน์วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. ปีที่ 12 ฉบับที่ 35. 53-62.
Sernovitz, Andy. (2006). Word of Mouth Marketing: How Smart Marketing Get People Talking. Chicago: Kaplan Publishing
CSME Company Limited. (2567). [ออนไลน์]. กลยุทธ์ด้านการทำการตลาดบนโซเชียลมีเดีย.[สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2567]. จาก. https://csmemarketing.co.th/th
Anderson & Gerbing (1988). Structural Equation Modeling in Practice: A Review and Recommended Two-Step Approach. Psychological Bulletin 1988, Vol. 103, No. 3,411-423
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์ความถดถอยและสหสัมพันธ์เชิงซ้อน. พิมพ์ครั้งที่ 14.การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Sekaran & Bougie, (2016). Research Methods for Business: A Skill Building Approach. John Wiley & Sons.
บุญชม ศรีสะอาด (2543) การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น.
ชวดล นุตะเอกวุฒิ, สุมามาลย์ ปานคำ และสุมามาลย์ ปานคำ (2563). อิทธิพลของการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ การสื่อสารแบบปากต่อปาก ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อความภักดีในตราสินค้าและความตั้งใจซื้อสินค้า ผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ 12 ฉบับที่ 24. 28-37.
Development Strategies for Integrated Tourism through the concept of “Lampang” where time stands still. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์ลำปาง, SDU Res. J. 13 (2): May-Aug 2017.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้ได้รับการเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) ซึ่งอนุญาตให้ผู้อื่นสามารถแชร์บทความได้โดยให้เครดิตผู้เขียนและห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าหรือดัดแปลง หากต้องการใช้งานซ้ำในลักษณะอื่น ๆ หรือการเผยแพร่ซ้ำ จำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากวารสาร