จริยธรรมการรับตีพิมพ์
จริยธรรมในการดำเนินงานของวารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 2
วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 2 กำหนดแนวทางปฏิบัติด้านจริยธรรมสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดทำวารสาร ได้แก่ บรรณาธิการ ผู้นิพนธ์ และผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ ดังนี้
- บทบาทหน้าที่และจริยธรรมของบรรณาธิการและกองบรรณาธิการ
- ตรวจสอบบทความที่ส่งมาว่ามีการซ้ำซ้อนหรือเคยเผยแพร่ที่อื่นหรือไม่
- พิจารณาความสอดคล้องของบทความกับวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร
- ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาและรูปแบบ ตามข้อกำหนดของวารสาร
- ใช้หลักวิชาการอย่างเคร่งครัดในการพิจารณาคุณภาพบทความโดยปราศจากอคติ
- ต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์หรือผู้ประเมินบทความ
- ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องและเชื่อถือได้ ตามมาตรฐานจริยธรรมของแต่ละสาขาวิชา
- บทบาทหน้าที่และจริยธรรมของผู้นิพนธ์
- ผู้นิพนธ์ที่ระบุชื่อในบทความ ต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัยจริง
- บทความที่ส่งมาตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในวารสารอื่น หรือระหว่างอยู่ระหว่างการพิจารณาจากวารสารอื่น
- การอ้างอิงข้อมูลและรูปภาพต้องถูกต้อง ครบถ้วนตามหลักวิชาการ
- ต้องไม่มีการปลอมแปลงข้อมูล หรือดัดแปลงข้อมูลให้ผิดไปจากความจริง
- การเก็บข้อมูลต้องเป็นไปตามหลักจริยธรรมของแต่ละสาขาวิชา
- ต้องรับผิดชอบต่อเนื้อหาทั้งหมดในบทความ
- หากเป็นงานวิจัยในมนุษย์หรือสัตว์ทดลอง ต้องแนบหนังสือรับรองจริยธรรมการวิจัยจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ หรือสัตว์ทดลอง
- การพิจารณาการตีพิมพ์ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของกองบรรณาธิการวารสาร ถือเป็นที่สิ้นสุด
- บทบาทหน้าที่และจริยธรรมของผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ
- ประเมินบทความโดยใช้หลักการทางวิชาการ เฉพาะในสาขาที่เชี่ยวชาญ
- ประเมินคุณค่าทางวิชาการ ความถูกต้องของกระบวนการ และการอ้างอิง
- ประเมินตามข้อเท็จจริงอย่างเป็นธรรม ปราศจากอคติและผลประโยชน์ทับซ้อน
- ต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์บทความ