https://so11.tci-thaijo.org/index.php/AndamamJournal/issue/feed วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 2 2025-07-16T23:50:42+07:00 ดร.จริยา เอียบสกุล research@veis2.ac.th Open Journal Systems <p><strong>วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 2 </strong></p> <p><strong> ISSN 3088-1609 (<span style="font-size: 0.875rem;">Online) | ISSN 3088-1730 (Print)</span></strong></p> <p><strong>ระยะเวลาการเผยแพร่ </strong><strong>:</strong> วารสารราย 6 เดือน เผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ </p> <p>ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน </p> <p>ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม </p> <p><strong>นโยบายการจัดทำวารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ </strong><strong>2</strong></p> <p>วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 2 จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษาด้านอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต รวมถึงรองรับแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-Long Learning) โดยให้ความสำคัญกับการเฟ้นหาและให้ความช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่หลุดออกจากระบบการศึกษา เพื่อเปิดโอกาสในการพัฒนาทักษะและศักยภาพที่เหมาะสม นอกจากนี้ วารสารยังมุ่งเน้นการปฏิรูประบบอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพมาตรฐาน และสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ </p> https://so11.tci-thaijo.org/index.php/AndamamJournal/article/view/2397 การพัฒนาชุดการสอนสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ชุดฝึกทักษะงานซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า 2025-07-16T15:33:11+07:00 พัตธิพงค์ สังข์ทอง ice_ptp@hotmail.com <p>สำหรับการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดการสอนสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ชุดฝึกทักษะ งานซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า วิชางานซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า รหัสวิชา 20104-2110 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80&nbsp; &nbsp;2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดการสอนสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะงานซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า วิชางานซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า รหัสวิชา 20104-2110 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม 3) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของ ชุดการสอนสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะงานซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า วิชางานซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า รหัสวิชา 20104-2110 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม มีค่าประสิทธิผลสูงกว่า 0.50 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดการสอนสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะงานซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า วิชางานซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า รหัสวิชา 20104-2110 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 25 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ชุดการสอน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินคุณภาพ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานของการวิจัยด้วย t-test ผลการวิจัยพบว่าชุดการสอนสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะงานซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;ในรายวิชางานซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า รหัสวิชา 20104-2110 ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ได้รับการประเมินว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด โดยผลการประเมินประสิทธิภาพโดยรวมอยู่ที่ 80.51/81.20 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในสมมุติฐานคือ 80/80 แสดงให้เห็นว่าชุดการสอนนี้มีประสิทธิภาพในระดับที่น่าพึงพอใจ เมื่อพิจารณาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้เรียนโดยใช้ชุดการสอนดังกล่าว พบว่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 แสดงให้เห็นว่าชุดการสอนมีผลต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ในด้านของดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอน ได้ค่าดัชนีเท่ากับ 0.6225 ซึ่งคิดเป็นความก้าวหน้าทางการเรียนร้อยละ 62.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 0.50 แสดงถึงความสามารถของชุดการสอนในการส่งเสริมความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนได้อย่างชัดเจน และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดการสอนสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะงานซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าในรายวิชาดังกล่าว พบว่า โดยภาพรวมมีอยู่ในระดับมาก แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ดังกล่าว และยอมรับว่าชุดการสอนมีคุณภาพและเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ในวิชาช่างอุตสาหกรรม</p> 2025-07-16T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 https://so11.tci-thaijo.org/index.php/AndamamJournal/article/view/2398 แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ของสถานศึกษาในเครือข่ายสถานศึกษา พนัสนิคม 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่เขตการศึกษา ประถมศึกษา ชลบุรี เขต 2 2025-07-16T15:39:45+07:00 วีระพล ประวันเนย์ Bussarakam.t@payap.ac.th บุษราคัม ทองเพชร Bussarakam.t@payap.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาในเครือข่ายสถานศึกษาพนัสนิคม 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 &nbsp;2) ศึกษาแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาในเครือข่ายสถานศึกษาพนัสนิคม 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 ประชากรประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 94 คน และกลุ่มเป้าหมายในการศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาในเครือข่ายสถานศึกษาพนัสนิคม 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 ทั้งหมด 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามและแบบ สนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI <sub>Modified</sub>) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาในเครือข่ายสถานศึกษาพนัสนิคม 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 สภาพปัจจุบันโดยรวมอยูในระดับ<strong>ปานกลาง</strong> สภาพที่พึงประสงค์โดยรวม อยู่ในระดับ<strong>มาก</strong> และความต้องการจำเป็นพบว่า สรุปโดยรวม 5 ด้าน มีค่าความต้องการจำเป็น (ค่า PNI <sub>Modified</sub> = 0.66) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความต้องการจำเป็นอันดับที่ 1 คือ ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (ค่า PNI <sub>Modified</sub> = 0.75) ความต้องการจำเป็น อันดับที่ 2 คือด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน (ค่า PNI <sub>Modified</sub> = 0.68) ความต้องการจำเป็น อันดับที่ 3 คือด้านการบริหารจัดการศึกษา (ค่า PNI <sub>Modified</sub> = 0.67) ความต้องการจำเป็น อันดับที่ 4 คือด้านผลลัพธ์/ภาพความสําเร็จ (ค่า PNI <sub>Modified</sub> = 0.67) และอันดับสุดท้ายคือด้านพัฒนาบุคลากร (ค่า PNI <sub>Modified</sub> = 0.56)&nbsp; ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาในเครือข่ายสถานศึกษาพนัสนิคม 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 มีทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านการบริหารจัดการศึกษา ควรมีการกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 2. ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนควรมีการบูรณาการหลักสูตรท้องถิ่นกับการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ๆ ให้กับผู้เรียน 3. ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนควรมีการเสริมสร้างผู้เรียนให้มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 โดยบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การประสานความร่วมมือกับชุมชนเพื่อสร้างศูนย์การเรียนรู้พอเพียง และการประเมินผลกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมีแนวทางที่ชัดเจนและมีเครื่องมือวัดและประเมินผลที่หลากหลาย 4. ด้านพัฒนาบุคลากรควรมีการส่งเสริมบุคลากรสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้บุคลากรในสถานศึกษาสามารถพัฒนาตนเอง 5. ด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ ควรมีการพัฒนาสถานศึกษาให้ได้รับการยอมรับด้านการบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง</p> 2025-07-16T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 https://so11.tci-thaijo.org/index.php/AndamamJournal/article/view/2399 การศึกษาปัจจัยทางการตลาดบริการผ่านสื่อดิจิทัลที่ส่งผลเกิดการ บอกต่อของผู้ใช้บริการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในเขตอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง 2025-07-16T15:54:21+07:00 ทวิทย์ บัวทอง Thawit2517@Lampangvc.ac.th <p>การศึกษาเรื่องการศึกษาปัจจัยการตลาดบริการผ่านสื่อดิจิทัลที่ส่งผลให้เกิดการบอกต่อของผู้ใช้บริการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในเขตอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการตลาดบริการผ่านสื่อดิจิทัลและการบอกต่อของผู้ใช้บริการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และปัจจัยด้านการตลาดบริการผ่านสื่อดิจิทัลที่ส่งผลให้เกิดการบอกต่อผู้ใช้บริการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประชากรในการศึกษาได้แก่ นักท่องเที่ยวในสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียงในจังหวัดลำปาง 5 แห่ง &nbsp;แห่งละ 30 คน รวมจำนวน 150 คน โดยมีตัวแปรต้นคือ ปัจจัยการตลาดบริการผ่านสื่อดิจิทัล และตัวแปรตามคือการบอกต่อ (Word of Mouth (WOM) การศึกษาในเชิงปริมาณ (Quantitative) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการไม่อาศัยความน่าจะเป็น (Non-Probability Sampling) ด้วยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบโควตา (Quota Sampling) โดยมีสถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน&nbsp; การทดสอบสมมติฐานค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation)และค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยแบบพหุคูณ (Linear Regression) ณ ระดับนัยสําคัญที่ 0.01 และ 0.05 โดยมีผลการศึกษาดังนี้ จากการทดสอบพบว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์และสมมติฐานที่กำหนดไว้ กล่าวคือปัจจัยการตลาดบริการผ่านสื่อดิจิทัลมีความสัมพันธ์กับการบอกต่อของลูกค้าบริการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายพบว่ามีค่าระหว่างตัวแปร ตั้งแต่ระหว่าง 0.175 ถึง 0.609 มีความสัมพันธ์กัน น้อยถึงปานกลางและเป็นทิศทางบวกทั้งหมด ณ ระดับนัยสําคัญ 0.01 และ 0.05 และพบว่าตัวแปรต้นสามารถอธิบายตัวแปรตามได้ร้อยละ 32 จากการทดสอบสัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณ พบว่าด้านกายภาพของการบริการ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการตลาด และด้านการส่งเสริมการตลาดที่ผ่าน สื่อดิจิทัลส่งผลต่อการบอกต่อผู้ใช้บริการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ณ ระดับนัยสําคัญที่ 0.05 โดยสามารถแสดงสมการถดถอยจากคะแนนดิบดังได้นี้</p> <p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การบอกต่อ </strong><strong>= </strong><strong>0.581</strong><strong>+</strong><strong>0.316<sub>ลักษณะทางกายภาพ</sub></strong><strong>+</strong><strong>0.213<sub>ผลิตภัณฑ์</sub>+0.106<sub>ช่องทางจัดจำหน่าย</sub></strong><strong>+</strong><strong>0.043<sub>ส่งเสริมการตลาด</sub>+0.488</strong></p> 2025-07-16T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 https://so11.tci-thaijo.org/index.php/AndamamJournal/article/view/2400 การพัฒนาชุดฝึกทักษะ การต่อขดลวดสเตเตอร์ของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส พันแบบ 2 ชั้น 2025-07-16T16:05:42+07:00 ณัฐพัฒน์ แสนสุข nathaphat2513@gmail.com สุเมธ สุธีรพาณิชย์ nathaphat2513@gmail.com ธวัช เดชทับ nathaphat2513@gmail.com สุดารัตน์ แสนสุข nathaphat2513@gmail.com พิมพิกา ยอดดี nathaphat2513@gmail.com วิพัฒน์ ไทรงาม nathaphat2513@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกทักษะการต่อขดลวดสเตเตอร์ของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส พันแบบ 2 ชั้น 2) หาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดฝึกทักษะที่พัฒนาขึ้น และ 3) หาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยเทคนิคตรัง ลงทะเบียนเรียนรายวิชามอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 18 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ชุดฝึกทักษะการต่อขดลวดสเตเตอร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ วิเคราะห์ ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\large&amp;space;\bar{x}" alt="equation">) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) หาค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ดัชนีประสิทธิผล (E.I.)</p> <p>&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดฝึกทักษะที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.67/82.50 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 2) ผู้เรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้เพิ่มขึ้น โดยมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.73 และ 3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดฝึกทักษะในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\large&amp;space;\bar{x}" alt="equation">=4.84, S.D.=0.31)</p> 2025-07-16T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 https://so11.tci-thaijo.org/index.php/AndamamJournal/article/view/2406 ผลของการใช้กลวิธีลินซ์ร่วมกับสื่อแอนิเมชันต่อความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษและความเข้าใจข้ามวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2025-07-16T22:43:36+07:00 ลักษิกา กองคำบุตร lucksika.k150@gmail.com นทัต อัศภาภรณ์ lucksika.k150@gmail.com ศักดา สวาทะนันทน์ lucksika.k150@gmail.com <p>งานวิจัยเรื่อง ผลของการใช้กลวิธีลินซ์ร่วมกับสื่อแอนิเมชันต่อความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษและความเข้าใจข้ามวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ด้านคำศัพท์ของผู้เรียนก่อนและหลังเรียน จากการใช้กลวิธีลินซ์ร่วมกับสื่อแอนิเมชัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) ศึกษาความเข้าใจข้ามวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการใช้กลวิธีลินซ์ร่วมกับสื่อแอนิเมชันโดยเทียบกับเกณฑ์ ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนบ้านปงสนุก จังหวัดลำปาง จำนวน 46 คน โดยได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยการใช้กลวิธีลินซ์ร่วมกับสื่อแอนิเมชัน เพื่อพัฒนาความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษและความเข้าใจข้ามวัฒนธรรม จำนวน 5 แผน แผนละ 3 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดความรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ผู้ศึกษาจัดทำขึ้น และ 3) แบบประเมินความเข้าใจข้ามวัฒนธรรมฉบับครูประเมินและฉบับนักเรียนประเมินตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่า Paired –sample t - test ค่าสหสัมพันธ์ภายในชั้น (ICC) และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Cronbach’s alpha) โดยใช้สูตรของครอนบัค ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความเข้าใจข้ามวัฒนธรรมคิดเป็นร้อยละ 77.69 ซึ่งผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70</p> 2025-07-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 https://so11.tci-thaijo.org/index.php/AndamamJournal/article/view/2407 ความต้องการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร 2025-07-16T22:53:17+07:00 ศกลวรรณ พาเรือง skonwan@yahoo.com ธิติ ธาราสุข thiti.t.sp@rmutp.ac.th รุ่งอรุณ พรเจริญ rungaroon.s@rmutp.ac.th <p class="a" style="text-align: justify; text-justify: inter-cluster; text-indent: 14.2pt;"><span lang="TH" style="font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif; letter-spacing: -.3pt;">งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ</span><span style="font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif; letter-spacing: -.3pt;"> 1) <span lang="TH">ศึกษาความต้องการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร และ 2) ศึกษาสมรรถนะที่พึงประสงค์ต่อหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน และประชาชนทั่วไปที่กรอกข้อมูลสำรวจผ่านแบบสอบถามออนไลน์ หรือ </span>Google Form <span lang="TH">จำนวน </span>71<span lang="TH"> คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ซึ่งใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน </span></span><span lang="TH" style="font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;">ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 53.5 มีอายุระหว่าง 25-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 30.8 อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ภาคใต้ จำนวน 21 คน ประกอบอาชีพรับราชการ จำนวน 39 คนและมีประสบการณ์ในการทำงานอยู่ระหว่าง 1-5 ปี จำนวน 39 คน มีความสนใจศึกษาต่อในแผนการศึกษาแบบ ข (เน้นวิชาชีพ) คิดเป็นร้อยละ 73.2 รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ต้องการเน้นไปในทางเทคโนโลยี </span><span lang="TH" style="font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;">จำนวน 38 คน ช่วงเวลาที่สนใจศึกษา เป็นหลักสูตรภาคเสาร์-อาทิตย์ คิดเป็นร้อยละ 87.3 และมีการวางแผนศึกษาต่อในอนาคตนั้นยังไม่สามารถระบุได้ จำนวน 45 คน และสมรรถนะที่พึงประสงค์ต่อหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด </span><span style="font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;">3 <span lang="TH">ลำดับแรก ได้แก่ ความฉลาดรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รองลงมาได้แก่ ความยืนหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว และภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม และความฉลาดรู้ด้านสารสนเทศ </span></span></p> 2025-07-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 https://so11.tci-thaijo.org/index.php/AndamamJournal/article/view/2408 การประเมินคุณภาพหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยว (ต่อเนื่อง) ปรับปรุง พ.ศ. 2564 วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 2 ตามแนวคิด CIPP Model 2025-07-16T23:12:56+07:00 เกศสุณีย์ สุขพลอย noogad71798@gmail.com ณัฐรินีย์ พรหมรักษ์ noogad71798@gmail.com เมธาวี วงศ์ไวโรจน์ noogad71798@gmail.com ศิริพงษ์ ประสมกิจ noogad71798@gmail.com จรรจิรา ดาราชาติ noogad71798@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพของหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยว (ต่อเนื่อง) ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต ตามกรอบแนวคิด CIPP Model ประกอบด้วย 1) การประเมินบริบท 2) การประเมินปัจจัยนำเข้า 3) การประเมินกระบวนการดำเนินงาน และ 4) การประเมินผลผลิต&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;กลุ่มประชากร ได้แก่ กรรมการสภาสถาบัน สถานศึกษา สถานประกอบการ และผู้สำเร็จการศึกษา ในช่วงปีการศึกษา 2564–2566 รวมจำนวนทั้งสิ้น 83 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินสำหรับกรรมการสภาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 2 2) แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับบุคลากรในสถานศึกษา &nbsp;&nbsp;&nbsp;3) แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับบุคลากรในสถานประกอบการ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจสำหรับผู้สำเร็จการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (𝜇) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (𝜎) ตามเกณฑ์ของ Best &amp; Kahn</p> <p>ผลการประเมินคุณภาพหลักสูตรตามแนวคิด CIPP Model พบว่า ในด้านบริบท กรรมการสภาสถาบันมีความเห็นว่าสถานศึกษามีความพร้อมก่อนการจัดการเรียนการสอนในระดับสูง โดยมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่า&nbsp;&nbsp;&nbsp; ร้อยละ 75 ขณะที่บุคลากรในสถานศึกษาและสถานประกอบการมีความเห็นในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.78 และ 4.48 ตามลำดับ สำหรับด้านปัจจัยนำเข้า กรรมการสภาสถาบันยังคงมีความเห็นในระดับสูงกว่าร้อยละ 75 เช่นกัน ส่วนบุคลากรในสถานศึกษาและสถานประกอบการประเมินว่าอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.56 และ 4.46 ตามลำดับ ด้านกระบวนการ กรรมการสภาสถาบันประเมินว่าอยู่ในระดับสูง (มากกว่าร้อยละ 75) เช่นเดียวกับบุคลากรในสถานศึกษาและสถานประกอบการที่ให้ความเห็นว่าอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.59 และ 4.44 ตามลำดับ สุดท้าย ในด้านผลผลิต กรรมการสภาสถาบันประเมินว่าหลักสูตรมีผลลัพธ์ที่ดีในด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สมรรถนะวิชาชีพ และสมรรถนะหลัก/ทั่วไป โดยมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าร้อยละ 75 สำหรับบุคลากรในสถานศึกษาให้ค่าเฉลี่ยในสามด้านนี้ที่ 4.66, 4.74 และ 4.69 ตามลำดับ ขณะที่สถานประกอบการให้ค่าเฉลี่ยที่ 4.13, 4.28 และ 4.56 ซึ่งสะท้อนว่าหลักสูตรดังกล่าวมีคุณภาพในระดับที่น่าพึงพอใจทั้งในมุมมองของผู้เกี่ยวข้องภายในและภายนอกสถานศึกษา</p> 2025-07-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 https://so11.tci-thaijo.org/index.php/AndamamJournal/article/view/2409 การพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์เครื่องขุดดินฝังท่อ ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน 2025-07-16T23:33:51+07:00 จิตวัฒนา บุญเลิศ machine.bspc@gmail.com ศรีปราชญ์ ทิพย์เศวก machine.bspc@gmail.com เทวนาถ สุดใจ machine.bspc@gmail.com พัณณิตา ตะนสะ machine.bspc@gmail.com สิริลักษณ์ บุญเลิศ machine.bspc@gmail.com <p>การวิจัยเรื่อง การพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์เครื่องขุดดินฝังท่อผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน&nbsp;&nbsp; เป็นฐาน สร้างขึ้นเพื่อศึกษาและออกแบบแทนการใช้วิธีการขุดดินแบบเดิมคือ ใช้แรงงานคนขุดด้วยจอบ หรือใช้รถไถ ซึ่ง วิธีการแบบเดิมนั้น ต้องใช้แรงงานเป็นจำนวนมากและเสียค่าใช้จ่ายมากไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน โดยมีขั้นตอนการศึกษา 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาหาประสิทธิภาพเครื่องขุดดินฝังท่อ จากการศึกษา พบว่า เครื่องขุดดินฝังท่อสามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์ มากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\large&amp;space;\bar{x}" alt="equation">&nbsp;= 4.78, S.D. = 0.24) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด ได้แก่ ความเร็วในการขุด ขนาดของร่องที่ขุด (ความกว้าง) ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของร่องที่ขุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\large&amp;space;\bar{x}" alt="equation">= 5.00, S.D. = 0.00) ข้อมูลประสิทธิภาพผลการ ทดลองเปรียบเทียบการขุดดินฝังท่อด้วยเครื่องขุดดินฝังท่อกับใช้แรงงานขุด เมื่อนำเครื่องขุดดินฝังท่อ ไปให้ประชาชนที่ไม่มีประสบการณ์ในการขุดดินฝังท่อใช้ เปรียบเทียบกับใช้วิธีแบบเดิม เก็บรวบรวมข้อมูลจากการทดลอง 10 คน กับการขุดดินฝังท่อพีวีซีขนาด Ø1/2" และ 6" เครื่องขุดวางท่อสามารถใช้งานได้สะดวกรวดเร็ว และงานออกมาเรียบร้อยกว่าวิธีแบบเดิมซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\large&amp;space;\bar{x}" alt="equation">= 2.56, S.D. = 0.97) ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาหาประสิทธิผลความพึงพอใจของเครื่องขุดดินฝังท่อ จากการศึกษาพบว่า ประสิทธิผลการศึกษาความพึงพอใจ&nbsp;ของประชากรกลุ่มตัวอย่าง อยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\large&amp;space;\bar{x}" alt="equation">= 4.91, S.D. = 0.21) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด ได้แก่ ความสะดวกในการใช้งาน การบำรุงรักษา ความปลอดภัยในการใช้งานระบบกลไกมีความง่าย&nbsp; &nbsp;และเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\large&amp;space;\bar{x}" alt="equation">= 5.00, S.D. = 0.00) เครื่องขุดดินฝังท่อที่ศึกษาและสร้างขึ้นสามารถ&nbsp; ใช้เพื่อเป็นแนวทางหนึ่ง เพื่อแก้ปัญหาในการขุดดินฝังท่อให้แก่เกษตรกร อีกทั้งเป็นการลดค่าใช้จ่ายให้เกษตรกร</p> 2025-07-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 https://so11.tci-thaijo.org/index.php/AndamamJournal/article/view/2410 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การออกแบบโปรแกรมควบคุมด้วย PLC โดยใช้แบบฝึกทักษะตามกระบวนการโพลยา 2025-07-16T23:45:08+07:00 สุดารัตน์ แสนสุข bimsudarat.sk@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การออกแบบโปรแกรมควบคุมด้วย PLC โดยใช้แบบฝึกทักษะตามกระบวนการโพลยา 2) หาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ และ 3) หาความพึงพอใจของผู้เรียนหลังการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงที่ลงทะเบียนเรียน วิชาระบบควบคุมในงานอุตสาหกรรม รหัสวิชา 30104-2006 แผนกวิชาไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยเทคนิคตรัง ซึ่งได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบวัดความพึงพอใจ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการออกแบบโปรแกรมควบคุมด้วย PLC โดยใช้แบบฝึกทักษะตามกระบวนการโพลยา มีประสิทธิภาพ 84.37/82.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ดัชนีประสิทธิผลของ การจัดการเรียนรู้ มีค่าเท่ากับ 0.76 หรือคิดเป็นร้อยละ 76.00 และผู้เรียนมีความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้ในครั้งนี้ อยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\large&amp;space;\bar{x}" alt="equation">=4.73, S.D.=0.49)</p> 2025-07-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 https://so11.tci-thaijo.org/index.php/AndamamJournal/article/view/2411 การพัฒนารูปแบบการประชุมวิชาการระดับชาติ เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยแบบออนไลน์ ของสถาบันการอาชีวศึกษา 2025-07-16T23:50:42+07:00 อดิศักดิ์ ชัชเวช jariyar_eab@hotmail.com จริยา เอียบสกุล jariyar_eab@hotmail.com กาญจนา ทรงยศ jariyar_eab@hotmail.com กิตติ บัณฑิตเลิศรักษ์ jariyar_eab@hotmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการประชุมวิชาการระดับชาติเพื่อนำเสนอผลงานวิจัยแบบออนไลน์ของสถาบันการอาชีวศึกษา และ 2) เพื่อประเมินความเหมาะสมของการดำเนินการตามรูปแบบดังกล่าว โดยดำเนินการวิจัยเป็นสองขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การสอบถามความคิดเห็น ของผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 27 คน ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการวิจัย การจัดทำบทความ และการจัดการประชุมวิชาการ เกี่ยวกับรูปแบบร่างซึ่งพัฒนาจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และขั้นตอนที่ 2 การประเมินความเหมาะสมของการดำเนินงานตามรูปแบบ โดยกลุ่มผู้ประเมินคือผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 30 คน ซึ่งประกอบด้วยกองบรรณาธิการวารสารวิชาการของสถาบันการอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา ตลอดจนผู้ที่เคยเป็นคณะทำงานจัดประชุมวิชาการฯ โดยใช้แบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นด้วยในระดับมากที่สุดต่อรูปแบบการประชุมวิชาการระดับชาติเพื่อนำเสนอผลงานวิจัยแบบออนไลน์ของสถาบันการอาชีวศึกษาในทุกรายการ และ 2) การประเมินความเหมาะสมของการดำเนินการตามรูปแบบ พบว่าผู้ทรงคุณวุฒิเห็นด้วยในระดับมากที่สุดในทุกรายการเช่นกัน สะท้อนถึงความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปใช้จริง</p> 2025-07-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025