วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 2
https://so11.tci-thaijo.org/index.php/AndamamJournal
<p><strong>วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 2 </strong></p> <p><strong> ISSN 3088-1609 (<span style="font-size: 0.875rem;">Online) | ISSN 3088-1730 (Print)</span></strong></p> <p><strong>ระยะเวลาการเผยแพร่ </strong><strong>:</strong> วารสารราย 6 เดือน เผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ </p> <p>ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน </p> <p>ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม </p> <p><strong>นโยบายการจัดทำวารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ </strong><strong>2</strong></p> <p>วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 2 จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษาด้านอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต รวมถึงรองรับแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-Long Learning) โดยให้ความสำคัญกับการเฟ้นหาและให้ความช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่หลุดออกจากระบบการศึกษา เพื่อเปิดโอกาสในการพัฒนาทักษะและศักยภาพที่เหมาะสม นอกจากนี้ วารสารยังมุ่งเน้นการปฏิรูประบบอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพมาตรฐาน และสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ </p>
สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 2 (Institute of Vocational Education Southern Region 2 Journal)
th-TH
วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 2
3088-1730
บทความนี้ได้รับการเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) ซึ่งอนุญาตให้ผู้อื่นสามารถแชร์บทความได้โดยให้เครดิตผู้เขียนและห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าหรือดัดแปลง หากต้องการใช้งานซ้ำในลักษณะอื่น ๆ หรือการเผยแพร่ซ้ำ จำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากวารสาร
-
การพัฒนาชุดการสอนสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ชุดฝึกทักษะงานซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า
https://so11.tci-thaijo.org/index.php/AndamamJournal/article/view/2397
<p>สำหรับการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดการสอนสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ชุดฝึกทักษะ งานซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า วิชางานซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า รหัสวิชา 20104-2110 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดการสอนสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะงานซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า วิชางานซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า รหัสวิชา 20104-2110 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม 3) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของ ชุดการสอนสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะงานซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า วิชางานซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า รหัสวิชา 20104-2110 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม มีค่าประสิทธิผลสูงกว่า 0.50 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดการสอนสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะงานซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า วิชางานซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า รหัสวิชา 20104-2110 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 25 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ชุดการสอน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินคุณภาพ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานของการวิจัยด้วย t-test ผลการวิจัยพบว่าชุดการสอนสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะงานซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า ในรายวิชางานซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า รหัสวิชา 20104-2110 ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ได้รับการประเมินว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด โดยผลการประเมินประสิทธิภาพโดยรวมอยู่ที่ 80.51/81.20 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในสมมุติฐานคือ 80/80 แสดงให้เห็นว่าชุดการสอนนี้มีประสิทธิภาพในระดับที่น่าพึงพอใจ เมื่อพิจารณาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้เรียนโดยใช้ชุดการสอนดังกล่าว พบว่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 แสดงให้เห็นว่าชุดการสอนมีผลต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ในด้านของดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอน ได้ค่าดัชนีเท่ากับ 0.6225 ซึ่งคิดเป็นความก้าวหน้าทางการเรียนร้อยละ 62.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 0.50 แสดงถึงความสามารถของชุดการสอนในการส่งเสริมความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนได้อย่างชัดเจน และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดการสอนสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะงานซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าในรายวิชาดังกล่าว พบว่า โดยภาพรวมมีอยู่ในระดับมาก แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ดังกล่าว และยอมรับว่าชุดการสอนมีคุณภาพและเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ในวิชาช่างอุตสาหกรรม</p>
พัตธิพงค์ สังข์ทอง
Copyright (c) 2025
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-07-16
2025-07-16
5 1
001
019
-
แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ของสถานศึกษาในเครือข่ายสถานศึกษา พนัสนิคม 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่เขตการศึกษา ประถมศึกษา ชลบุรี เขต 2
https://so11.tci-thaijo.org/index.php/AndamamJournal/article/view/2398
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาในเครือข่ายสถานศึกษาพนัสนิคม 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 2) ศึกษาแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาในเครือข่ายสถานศึกษาพนัสนิคม 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 ประชากรประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 94 คน และกลุ่มเป้าหมายในการศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาในเครือข่ายสถานศึกษาพนัสนิคม 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 ทั้งหมด 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามและแบบ สนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI <sub>Modified</sub>) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาในเครือข่ายสถานศึกษาพนัสนิคม 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 สภาพปัจจุบันโดยรวมอยูในระดับ<strong>ปานกลาง</strong> สภาพที่พึงประสงค์โดยรวม อยู่ในระดับ<strong>มาก</strong> และความต้องการจำเป็นพบว่า สรุปโดยรวม 5 ด้าน มีค่าความต้องการจำเป็น (ค่า PNI <sub>Modified</sub> = 0.66) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความต้องการจำเป็นอันดับที่ 1 คือ ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (ค่า PNI <sub>Modified</sub> = 0.75) ความต้องการจำเป็น อันดับที่ 2 คือด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน (ค่า PNI <sub>Modified</sub> = 0.68) ความต้องการจำเป็น อันดับที่ 3 คือด้านการบริหารจัดการศึกษา (ค่า PNI <sub>Modified</sub> = 0.67) ความต้องการจำเป็น อันดับที่ 4 คือด้านผลลัพธ์/ภาพความสําเร็จ (ค่า PNI <sub>Modified</sub> = 0.67) และอันดับสุดท้ายคือด้านพัฒนาบุคลากร (ค่า PNI <sub>Modified</sub> = 0.56) ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาในเครือข่ายสถานศึกษาพนัสนิคม 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 มีทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านการบริหารจัดการศึกษา ควรมีการกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 2. ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนควรมีการบูรณาการหลักสูตรท้องถิ่นกับการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ๆ ให้กับผู้เรียน 3. ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนควรมีการเสริมสร้างผู้เรียนให้มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 โดยบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การประสานความร่วมมือกับชุมชนเพื่อสร้างศูนย์การเรียนรู้พอเพียง และการประเมินผลกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมีแนวทางที่ชัดเจนและมีเครื่องมือวัดและประเมินผลที่หลากหลาย 4. ด้านพัฒนาบุคลากรควรมีการส่งเสริมบุคลากรสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้บุคลากรในสถานศึกษาสามารถพัฒนาตนเอง 5. ด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ ควรมีการพัฒนาสถานศึกษาให้ได้รับการยอมรับด้านการบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง</p>
วีระพล ประวันเนย์
บุษราคัม ทองเพชร
Copyright (c) 2025
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-07-16
2025-07-16
5 1
020
036
-
การศึกษาปัจจัยทางการตลาดบริการผ่านสื่อดิจิทัลที่ส่งผลเกิดการ บอกต่อของผู้ใช้บริการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในเขตอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
https://so11.tci-thaijo.org/index.php/AndamamJournal/article/view/2399
<p>การศึกษาเรื่องการศึกษาปัจจัยการตลาดบริการผ่านสื่อดิจิทัลที่ส่งผลให้เกิดการบอกต่อของผู้ใช้บริการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในเขตอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการตลาดบริการผ่านสื่อดิจิทัลและการบอกต่อของผู้ใช้บริการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และปัจจัยด้านการตลาดบริการผ่านสื่อดิจิทัลที่ส่งผลให้เกิดการบอกต่อผู้ใช้บริการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประชากรในการศึกษาได้แก่ นักท่องเที่ยวในสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียงในจังหวัดลำปาง 5 แห่ง แห่งละ 30 คน รวมจำนวน 150 คน โดยมีตัวแปรต้นคือ ปัจจัยการตลาดบริการผ่านสื่อดิจิทัล และตัวแปรตามคือการบอกต่อ (Word of Mouth (WOM) การศึกษาในเชิงปริมาณ (Quantitative) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการไม่อาศัยความน่าจะเป็น (Non-Probability Sampling) ด้วยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบโควตา (Quota Sampling) โดยมีสถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation)และค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยแบบพหุคูณ (Linear Regression) ณ ระดับนัยสําคัญที่ 0.01 และ 0.05 โดยมีผลการศึกษาดังนี้ จากการทดสอบพบว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์และสมมติฐานที่กำหนดไว้ กล่าวคือปัจจัยการตลาดบริการผ่านสื่อดิจิทัลมีความสัมพันธ์กับการบอกต่อของลูกค้าบริการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายพบว่ามีค่าระหว่างตัวแปร ตั้งแต่ระหว่าง 0.175 ถึง 0.609 มีความสัมพันธ์กัน น้อยถึงปานกลางและเป็นทิศทางบวกทั้งหมด ณ ระดับนัยสําคัญ 0.01 และ 0.05 และพบว่าตัวแปรต้นสามารถอธิบายตัวแปรตามได้ร้อยละ 32 จากการทดสอบสัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณ พบว่าด้านกายภาพของการบริการ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการตลาด และด้านการส่งเสริมการตลาดที่ผ่าน สื่อดิจิทัลส่งผลต่อการบอกต่อผู้ใช้บริการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ณ ระดับนัยสําคัญที่ 0.05 โดยสามารถแสดงสมการถดถอยจากคะแนนดิบดังได้นี้</p> <p><strong> การบอกต่อ </strong><strong>= </strong><strong>0.581</strong><strong>+</strong><strong>0.316<sub>ลักษณะทางกายภาพ</sub></strong><strong>+</strong><strong>0.213<sub>ผลิตภัณฑ์</sub>+0.106<sub>ช่องทางจัดจำหน่าย</sub></strong><strong>+</strong><strong>0.043<sub>ส่งเสริมการตลาด</sub>+0.488</strong></p>
ทวิทย์ บัวทอง
Copyright (c) 2025
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-07-16
2025-07-16
5 1
037
051
-
การพัฒนาชุดฝึกทักษะ การต่อขดลวดสเตเตอร์ของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส พันแบบ 2 ชั้น
https://so11.tci-thaijo.org/index.php/AndamamJournal/article/view/2400
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกทักษะการต่อขดลวดสเตเตอร์ของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส พันแบบ 2 ชั้น 2) หาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดฝึกทักษะที่พัฒนาขึ้น และ 3) หาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยเทคนิคตรัง ลงทะเบียนเรียนรายวิชามอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 18 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ชุดฝึกทักษะการต่อขดลวดสเตเตอร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ วิเคราะห์ ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\large&space;\bar{x}" alt="equation">) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) หาค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ดัชนีประสิทธิผล (E.I.)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดฝึกทักษะที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.67/82.50 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 2) ผู้เรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้เพิ่มขึ้น โดยมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.73 และ 3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดฝึกทักษะในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\large&space;\bar{x}" alt="equation">=4.84, S.D.=0.31)</p>
ณัฐพัฒน์ แสนสุข
สุเมธ สุธีรพาณิชย์
ธวัช เดชทับ
สุดารัตน์ แสนสุข
พิมพิกา ยอดดี
วิพัฒน์ ไทรงาม
Copyright (c) 2025
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-07-16
2025-07-16
5 1
052
062
-
ผลของการใช้กลวิธีลินซ์ร่วมกับสื่อแอนิเมชันต่อความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษและความเข้าใจข้ามวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
https://so11.tci-thaijo.org/index.php/AndamamJournal/article/view/2406
<p>งานวิจัยเรื่อง ผลของการใช้กลวิธีลินซ์ร่วมกับสื่อแอนิเมชันต่อความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษและความเข้าใจข้ามวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ด้านคำศัพท์ของผู้เรียนก่อนและหลังเรียน จากการใช้กลวิธีลินซ์ร่วมกับสื่อแอนิเมชัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) ศึกษาความเข้าใจข้ามวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการใช้กลวิธีลินซ์ร่วมกับสื่อแอนิเมชันโดยเทียบกับเกณฑ์ ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนบ้านปงสนุก จังหวัดลำปาง จำนวน 46 คน โดยได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยการใช้กลวิธีลินซ์ร่วมกับสื่อแอนิเมชัน เพื่อพัฒนาความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษและความเข้าใจข้ามวัฒนธรรม จำนวน 5 แผน แผนละ 3 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดความรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ผู้ศึกษาจัดทำขึ้น และ 3) แบบประเมินความเข้าใจข้ามวัฒนธรรมฉบับครูประเมินและฉบับนักเรียนประเมินตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่า Paired –sample t - test ค่าสหสัมพันธ์ภายในชั้น (ICC) และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Cronbach’s alpha) โดยใช้สูตรของครอนบัค ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความเข้าใจข้ามวัฒนธรรมคิดเป็นร้อยละ 77.69 ซึ่งผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70</p>
ลักษิกา กองคำบุตร
นทัต อัศภาภรณ์
ศักดา สวาทะนันทน์
Copyright (c) 2025
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-07-01
2025-07-01
5 1
063
074
-
ความต้องการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
https://so11.tci-thaijo.org/index.php/AndamamJournal/article/view/2407
<p class="a" style="text-align: justify; text-justify: inter-cluster; text-indent: 14.2pt;"><span lang="TH" style="font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif; letter-spacing: -.3pt;">งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ</span><span style="font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif; letter-spacing: -.3pt;"> 1) <span lang="TH">ศึกษาความต้องการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร และ 2) ศึกษาสมรรถนะที่พึงประสงค์ต่อหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน และประชาชนทั่วไปที่กรอกข้อมูลสำรวจผ่านแบบสอบถามออนไลน์ หรือ </span>Google Form <span lang="TH">จำนวน </span>71<span lang="TH"> คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ซึ่งใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน </span></span><span lang="TH" style="font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;">ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 53.5 มีอายุระหว่าง 25-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 30.8 อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ภาคใต้ จำนวน 21 คน ประกอบอาชีพรับราชการ จำนวน 39 คนและมีประสบการณ์ในการทำงานอยู่ระหว่าง 1-5 ปี จำนวน 39 คน มีความสนใจศึกษาต่อในแผนการศึกษาแบบ ข (เน้นวิชาชีพ) คิดเป็นร้อยละ 73.2 รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ต้องการเน้นไปในทางเทคโนโลยี </span><span lang="TH" style="font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;">จำนวน 38 คน ช่วงเวลาที่สนใจศึกษา เป็นหลักสูตรภาคเสาร์-อาทิตย์ คิดเป็นร้อยละ 87.3 และมีการวางแผนศึกษาต่อในอนาคตนั้นยังไม่สามารถระบุได้ จำนวน 45 คน และสมรรถนะที่พึงประสงค์ต่อหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด </span><span style="font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;">3 <span lang="TH">ลำดับแรก ได้แก่ ความฉลาดรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รองลงมาได้แก่ ความยืนหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว และภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม และความฉลาดรู้ด้านสารสนเทศ </span></span></p>
ศกลวรรณ พาเรือง
ธิติ ธาราสุข
รุ่งอรุณ พรเจริญ
Copyright (c) 2025
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-07-01
2025-07-01
5 1
075
085
-
การประเมินคุณภาพหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยว (ต่อเนื่อง) ปรับปรุง พ.ศ. 2564 วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 2 ตามแนวคิด CIPP Model
https://so11.tci-thaijo.org/index.php/AndamamJournal/article/view/2408
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพของหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยว (ต่อเนื่อง) ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต ตามกรอบแนวคิด CIPP Model ประกอบด้วย 1) การประเมินบริบท 2) การประเมินปัจจัยนำเข้า 3) การประเมินกระบวนการดำเนินงาน และ 4) การประเมินผลผลิต กลุ่มประชากร ได้แก่ กรรมการสภาสถาบัน สถานศึกษา สถานประกอบการ และผู้สำเร็จการศึกษา ในช่วงปีการศึกษา 2564–2566 รวมจำนวนทั้งสิ้น 83 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินสำหรับกรรมการสภาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 2 2) แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับบุคลากรในสถานศึกษา 3) แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับบุคลากรในสถานประกอบการ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจสำหรับผู้สำเร็จการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (𝜇) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (𝜎) ตามเกณฑ์ของ Best & Kahn</p> <p>ผลการประเมินคุณภาพหลักสูตรตามแนวคิด CIPP Model พบว่า ในด้านบริบท กรรมการสภาสถาบันมีความเห็นว่าสถานศึกษามีความพร้อมก่อนการจัดการเรียนการสอนในระดับสูง โดยมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่า ร้อยละ 75 ขณะที่บุคลากรในสถานศึกษาและสถานประกอบการมีความเห็นในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.78 และ 4.48 ตามลำดับ สำหรับด้านปัจจัยนำเข้า กรรมการสภาสถาบันยังคงมีความเห็นในระดับสูงกว่าร้อยละ 75 เช่นกัน ส่วนบุคลากรในสถานศึกษาและสถานประกอบการประเมินว่าอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.56 และ 4.46 ตามลำดับ ด้านกระบวนการ กรรมการสภาสถาบันประเมินว่าอยู่ในระดับสูง (มากกว่าร้อยละ 75) เช่นเดียวกับบุคลากรในสถานศึกษาและสถานประกอบการที่ให้ความเห็นว่าอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.59 และ 4.44 ตามลำดับ สุดท้าย ในด้านผลผลิต กรรมการสภาสถาบันประเมินว่าหลักสูตรมีผลลัพธ์ที่ดีในด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สมรรถนะวิชาชีพ และสมรรถนะหลัก/ทั่วไป โดยมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าร้อยละ 75 สำหรับบุคลากรในสถานศึกษาให้ค่าเฉลี่ยในสามด้านนี้ที่ 4.66, 4.74 และ 4.69 ตามลำดับ ขณะที่สถานประกอบการให้ค่าเฉลี่ยที่ 4.13, 4.28 และ 4.56 ซึ่งสะท้อนว่าหลักสูตรดังกล่าวมีคุณภาพในระดับที่น่าพึงพอใจทั้งในมุมมองของผู้เกี่ยวข้องภายในและภายนอกสถานศึกษา</p>
เกศสุณีย์ สุขพลอย
ณัฐรินีย์ พรหมรักษ์
เมธาวี วงศ์ไวโรจน์
ศิริพงษ์ ประสมกิจ
จรรจิรา ดาราชาติ
Copyright (c) 2025
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-07-01
2025-07-01
5 1
086
097
-
การพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์เครื่องขุดดินฝังท่อ ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน
https://so11.tci-thaijo.org/index.php/AndamamJournal/article/view/2409
<p>การวิจัยเรื่อง การพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์เครื่องขุดดินฝังท่อผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน เป็นฐาน สร้างขึ้นเพื่อศึกษาและออกแบบแทนการใช้วิธีการขุดดินแบบเดิมคือ ใช้แรงงานคนขุดด้วยจอบ หรือใช้รถไถ ซึ่ง วิธีการแบบเดิมนั้น ต้องใช้แรงงานเป็นจำนวนมากและเสียค่าใช้จ่ายมากไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน โดยมีขั้นตอนการศึกษา 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาหาประสิทธิภาพเครื่องขุดดินฝังท่อ จากการศึกษา พบว่า เครื่องขุดดินฝังท่อสามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์ มากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\large&space;\bar{x}" alt="equation"> = 4.78, S.D. = 0.24) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด ได้แก่ ความเร็วในการขุด ขนาดของร่องที่ขุด (ความกว้าง) ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของร่องที่ขุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\large&space;\bar{x}" alt="equation">= 5.00, S.D. = 0.00) ข้อมูลประสิทธิภาพผลการ ทดลองเปรียบเทียบการขุดดินฝังท่อด้วยเครื่องขุดดินฝังท่อกับใช้แรงงานขุด เมื่อนำเครื่องขุดดินฝังท่อ ไปให้ประชาชนที่ไม่มีประสบการณ์ในการขุดดินฝังท่อใช้ เปรียบเทียบกับใช้วิธีแบบเดิม เก็บรวบรวมข้อมูลจากการทดลอง 10 คน กับการขุดดินฝังท่อพีวีซีขนาด Ø1/2" และ 6" เครื่องขุดวางท่อสามารถใช้งานได้สะดวกรวดเร็ว และงานออกมาเรียบร้อยกว่าวิธีแบบเดิมซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\large&space;\bar{x}" alt="equation">= 2.56, S.D. = 0.97) ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาหาประสิทธิผลความพึงพอใจของเครื่องขุดดินฝังท่อ จากการศึกษาพบว่า ประสิทธิผลการศึกษาความพึงพอใจ ของประชากรกลุ่มตัวอย่าง อยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\large&space;\bar{x}" alt="equation">= 4.91, S.D. = 0.21) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด ได้แก่ ความสะดวกในการใช้งาน การบำรุงรักษา ความปลอดภัยในการใช้งานระบบกลไกมีความง่าย และเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\large&space;\bar{x}" alt="equation">= 5.00, S.D. = 0.00) เครื่องขุดดินฝังท่อที่ศึกษาและสร้างขึ้นสามารถ ใช้เพื่อเป็นแนวทางหนึ่ง เพื่อแก้ปัญหาในการขุดดินฝังท่อให้แก่เกษตรกร อีกทั้งเป็นการลดค่าใช้จ่ายให้เกษตรกร</p>
จิตวัฒนา บุญเลิศ
ศรีปราชญ์ ทิพย์เศวก
เทวนาถ สุดใจ
พัณณิตา ตะนสะ
สิริลักษณ์ บุญเลิศ
Copyright (c) 2025
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-07-01
2025-07-01
5 1
098
115
-
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การออกแบบโปรแกรมควบคุมด้วย PLC โดยใช้แบบฝึกทักษะตามกระบวนการโพลยา
https://so11.tci-thaijo.org/index.php/AndamamJournal/article/view/2410
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การออกแบบโปรแกรมควบคุมด้วย PLC โดยใช้แบบฝึกทักษะตามกระบวนการโพลยา 2) หาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ และ 3) หาความพึงพอใจของผู้เรียนหลังการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงที่ลงทะเบียนเรียน วิชาระบบควบคุมในงานอุตสาหกรรม รหัสวิชา 30104-2006 แผนกวิชาไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยเทคนิคตรัง ซึ่งได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบวัดความพึงพอใจ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการออกแบบโปรแกรมควบคุมด้วย PLC โดยใช้แบบฝึกทักษะตามกระบวนการโพลยา มีประสิทธิภาพ 84.37/82.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ดัชนีประสิทธิผลของ การจัดการเรียนรู้ มีค่าเท่ากับ 0.76 หรือคิดเป็นร้อยละ 76.00 และผู้เรียนมีความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้ในครั้งนี้ อยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\large&space;\bar{x}" alt="equation">=4.73, S.D.=0.49)</p>
สุดารัตน์ แสนสุข
Copyright (c) 2025
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-07-01
2025-07-01
5 1
116
126
-
การพัฒนารูปแบบการประชุมวิชาการระดับชาติ เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยแบบออนไลน์ ของสถาบันการอาชีวศึกษา
https://so11.tci-thaijo.org/index.php/AndamamJournal/article/view/2411
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการประชุมวิชาการระดับชาติเพื่อนำเสนอผลงานวิจัยแบบออนไลน์ของสถาบันการอาชีวศึกษา และ 2) เพื่อประเมินความเหมาะสมของการดำเนินการตามรูปแบบดังกล่าว โดยดำเนินการวิจัยเป็นสองขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การสอบถามความคิดเห็น ของผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 27 คน ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการวิจัย การจัดทำบทความ และการจัดการประชุมวิชาการ เกี่ยวกับรูปแบบร่างซึ่งพัฒนาจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และขั้นตอนที่ 2 การประเมินความเหมาะสมของการดำเนินงานตามรูปแบบ โดยกลุ่มผู้ประเมินคือผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 30 คน ซึ่งประกอบด้วยกองบรรณาธิการวารสารวิชาการของสถาบันการอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา ตลอดจนผู้ที่เคยเป็นคณะทำงานจัดประชุมวิชาการฯ โดยใช้แบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นด้วยในระดับมากที่สุดต่อรูปแบบการประชุมวิชาการระดับชาติเพื่อนำเสนอผลงานวิจัยแบบออนไลน์ของสถาบันการอาชีวศึกษาในทุกรายการ และ 2) การประเมินความเหมาะสมของการดำเนินการตามรูปแบบ พบว่าผู้ทรงคุณวุฒิเห็นด้วยในระดับมากที่สุดในทุกรายการเช่นกัน สะท้อนถึงความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปใช้จริง</p>
อดิศักดิ์ ชัชเวช
จริยา เอียบสกุล
กาญจนา ทรงยศ
กิตติ บัณฑิตเลิศรักษ์
Copyright (c) 2025
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-07-01
2025-07-01
5 1
127
137