การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การออกแบบโปรแกรมควบคุมด้วย PLC โดยใช้แบบฝึกทักษะตามกระบวนการโพลยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การออกแบบโปรแกรมควบคุมด้วย PLC โดยใช้แบบฝึกทักษะตามกระบวนการโพลยา 2) หาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ และ 3) หาความพึงพอใจของผู้เรียนหลังการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงที่ลงทะเบียนเรียน วิชาระบบควบคุมในงานอุตสาหกรรม รหัสวิชา 30104-2006 แผนกวิชาไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยเทคนิคตรัง ซึ่งได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบวัดความพึงพอใจ
ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการออกแบบโปรแกรมควบคุมด้วย PLC โดยใช้แบบฝึกทักษะตามกระบวนการโพลยา มีประสิทธิภาพ 84.37/82.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ดัชนีประสิทธิผลของ การจัดการเรียนรู้ มีค่าเท่ากับ 0.76 หรือคิดเป็นร้อยละ 76.00 และผู้เรียนมีความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้ในครั้งนี้ อยู่ในระดับมากที่สุด (=4.73, S.D.=0.49)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้ได้รับการเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) ซึ่งอนุญาตให้ผู้อื่นสามารถแชร์บทความได้โดยให้เครดิตผู้เขียนและห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าหรือดัดแปลง หากต้องการใช้งานซ้ำในลักษณะอื่น ๆ หรือการเผยแพร่ซ้ำ จำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากวารสารReferences
Polya, G. (1957). How to solve It: A new aspect of mathematical method (2nded). New York: Doubleday and Company.
สุเกษม เกียรติไพบูลย์. (2565). การพัฒนาชุดการสอนสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้แบบ PQ-ADAPP. วารสารวิชาการภาคใต้ 2. ปีที่ 4 ฉบับที่ 2. 058-077.
วิสันต์ หวังวรวงศ์ และคณะ. (2567). การพัฒนาชุดฝึกปฏิบัติงานเขียนโปรแกรมพีแอลซีควบคุมระบบนิวเมติกส์. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสหกรรมและวิศวกรรมศึกษา. ปีที่ 15 ฉบับที่ 1. 49-58
ราชันย์ ขาวกุญชร และคณะ. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาอนุพันธ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบซิปปาที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา.ปีที่ 3 ฉบับที่ 2. 116-124.
จินดาภา ฤทธิศร และคณะ. (2567). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการกำลังสองตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผ่านการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์. ปีที่ 2 ฉบับที่ 2. 58-69.