การพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์เครื่องขุดดินฝังท่อ ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์เครื่องขุดดินฝังท่อผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน เป็นฐาน สร้างขึ้นเพื่อศึกษาและออกแบบแทนการใช้วิธีการขุดดินแบบเดิมคือ ใช้แรงงานคนขุดด้วยจอบ หรือใช้รถไถ ซึ่ง วิธีการแบบเดิมนั้น ต้องใช้แรงงานเป็นจำนวนมากและเสียค่าใช้จ่ายมากไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน โดยมีขั้นตอนการศึกษา 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาหาประสิทธิภาพเครื่องขุดดินฝังท่อ จากการศึกษา พบว่า เครื่องขุดดินฝังท่อสามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์ มากที่สุด ( = 4.78, S.D. = 0.24) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด ได้แก่ ความเร็วในการขุด ขนาดของร่องที่ขุด (ความกว้าง) ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของร่องที่ขุด อยู่ในระดับมากที่สุด (
= 5.00, S.D. = 0.00) ข้อมูลประสิทธิภาพผลการ ทดลองเปรียบเทียบการขุดดินฝังท่อด้วยเครื่องขุดดินฝังท่อกับใช้แรงงานขุด เมื่อนำเครื่องขุดดินฝังท่อ ไปให้ประชาชนที่ไม่มีประสบการณ์ในการขุดดินฝังท่อใช้ เปรียบเทียบกับใช้วิธีแบบเดิม เก็บรวบรวมข้อมูลจากการทดลอง 10 คน กับการขุดดินฝังท่อพีวีซีขนาด Ø1/2" และ 6" เครื่องขุดวางท่อสามารถใช้งานได้สะดวกรวดเร็ว และงานออกมาเรียบร้อยกว่าวิธีแบบเดิมซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง (
= 2.56, S.D. = 0.97) ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาหาประสิทธิผลความพึงพอใจของเครื่องขุดดินฝังท่อ จากการศึกษาพบว่า ประสิทธิผลการศึกษาความพึงพอใจ ของประชากรกลุ่มตัวอย่าง อยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.91, S.D. = 0.21) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด ได้แก่ ความสะดวกในการใช้งาน การบำรุงรักษา ความปลอดภัยในการใช้งานระบบกลไกมีความง่าย และเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (
= 5.00, S.D. = 0.00) เครื่องขุดดินฝังท่อที่ศึกษาและสร้างขึ้นสามารถ ใช้เพื่อเป็นแนวทางหนึ่ง เพื่อแก้ปัญหาในการขุดดินฝังท่อให้แก่เกษตรกร อีกทั้งเป็นการลดค่าใช้จ่ายให้เกษตรกร
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้ได้รับการเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) ซึ่งอนุญาตให้ผู้อื่นสามารถแชร์บทความได้โดยให้เครดิตผู้เขียนและห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าหรือดัดแปลง หากต้องการใช้งานซ้ำในลักษณะอื่น ๆ หรือการเผยแพร่ซ้ำ จำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากวารสารReferences
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2562). รายงานภาพรวมสถานการณ์นวัตกรรมประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ.
กรมโยธาธิการและผังเมือง. (2564). แนวทางการขุดวางระบบสาธารณูปโภคใต้ดินอย่างปลอดภัย. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงมหาดไทย.
Thomas, J. W. (2000). A Review of Research on Project-Based Learning. San Rafael, CA: The Autodesk Foundation.
ศูนย์ส่งเสริมการสอนแบบโครงงาน มหาวิทยาลัยมหิดล. (2561). แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
กรมวิชาการเกษตร. (2563). คู่มือการจัดการน้ำเพื่อการเกษตร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เกษตรกรรม.
สำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (2564). รายงานสถานการณ์เกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์.
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน. (2562). รายงานการวิเคราะห์ตลาดเครื่องจักรกลเกษตร.
การศึกษา.นวัตกรรม. (2025). งานวิจัยการเรียนรู้แบบโครงงานสำหรับนวัตกรรมการขุดเจาะดินและการฝังท่อ.
Yilmaz, I., Gunaydin, O., & Bascetin, A. (2017). Selection of trench excavation machines using analytic hierarchy process (AHP): A case study from Turkey. Automation in Construction, 81, 60–68.
Tomaselli, A., Di Mariano, A., & Giardina, G. (2019). Soil-pipe interaction in buried pipeline systems: Influence of trench geometry and pipe stiffness. Tunnelling and Underground Space Technology, 88, 113–124.
Moser, A. P., & Folkman, S. (2001). Buried pipe design (3rd ed.). McGraw-Hill.