การประเมินคุณภาพหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยว (ต่อเนื่อง) ปรับปรุง พ.ศ. 2564 วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 2 ตามแนวคิด CIPP Model
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพของหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยว (ต่อเนื่อง) ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต ตามกรอบแนวคิด CIPP Model ประกอบด้วย 1) การประเมินบริบท 2) การประเมินปัจจัยนำเข้า 3) การประเมินกระบวนการดำเนินงาน และ 4) การประเมินผลผลิต กลุ่มประชากร ได้แก่ กรรมการสภาสถาบัน สถานศึกษา สถานประกอบการ และผู้สำเร็จการศึกษา ในช่วงปีการศึกษา 2564–2566 รวมจำนวนทั้งสิ้น 83 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินสำหรับกรรมการสภาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 2 2) แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับบุคลากรในสถานศึกษา 3) แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับบุคลากรในสถานประกอบการ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจสำหรับผู้สำเร็จการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (𝜇) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (𝜎) ตามเกณฑ์ของ Best & Kahn
ผลการประเมินคุณภาพหลักสูตรตามแนวคิด CIPP Model พบว่า ในด้านบริบท กรรมการสภาสถาบันมีความเห็นว่าสถานศึกษามีความพร้อมก่อนการจัดการเรียนการสอนในระดับสูง โดยมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่า ร้อยละ 75 ขณะที่บุคลากรในสถานศึกษาและสถานประกอบการมีความเห็นในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.78 และ 4.48 ตามลำดับ สำหรับด้านปัจจัยนำเข้า กรรมการสภาสถาบันยังคงมีความเห็นในระดับสูงกว่าร้อยละ 75 เช่นกัน ส่วนบุคลากรในสถานศึกษาและสถานประกอบการประเมินว่าอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.56 และ 4.46 ตามลำดับ ด้านกระบวนการ กรรมการสภาสถาบันประเมินว่าอยู่ในระดับสูง (มากกว่าร้อยละ 75) เช่นเดียวกับบุคลากรในสถานศึกษาและสถานประกอบการที่ให้ความเห็นว่าอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.59 และ 4.44 ตามลำดับ สุดท้าย ในด้านผลผลิต กรรมการสภาสถาบันประเมินว่าหลักสูตรมีผลลัพธ์ที่ดีในด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สมรรถนะวิชาชีพ และสมรรถนะหลัก/ทั่วไป โดยมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าร้อยละ 75 สำหรับบุคลากรในสถานศึกษาให้ค่าเฉลี่ยในสามด้านนี้ที่ 4.66, 4.74 และ 4.69 ตามลำดับ ขณะที่สถานประกอบการให้ค่าเฉลี่ยที่ 4.13, 4.28 และ 4.56 ซึ่งสะท้อนว่าหลักสูตรดังกล่าวมีคุณภาพในระดับที่น่าพึงพอใจทั้งในมุมมองของผู้เกี่ยวข้องภายในและภายนอกสถานศึกษา
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้ได้รับการเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) ซึ่งอนุญาตให้ผู้อื่นสามารถแชร์บทความได้โดยให้เครดิตผู้เขียนและห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าหรือดัดแปลง หากต้องการใช้งานซ้ำในลักษณะอื่น ๆ หรือการเผยแพร่ซ้ำ จำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากวารสารReferences
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (2566). [ออนไลน์] “รายงานสถิติการท่องเที่ยวประเทศไทย ปี 2566”. [สืบค้นเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2568]. จาก https://www.mots.go.th
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566–2570). กรุงเทพมหานคร
สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. (2566). ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน พ.ศ.2566–2570. กรุงเทพมหานคร
กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (2563). แนวทางการพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา (พ.ศ.2565). กรุงเทพมหานคร. สำนักงานปลัดกระทรวงอุดมศึกษา.
Stufflebeam, D. L., & Shinkfield, A. J. (2007). Evaluation Theory, Models, and Applications. San Francisco, CA: Jossey-Bass.
กชพรรณ นุ่นสังข์, ปิยะรัตน์ ภิรมแก้ว, สุพัฒน์ สีระพัดสะ, อมรรัตน์ แซ่กวั่ง และเอพร โมฬี. (2567). การ ประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์: CIPP Model. วารสารราชภัฏสุราษธานี, ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2567), หน้า 274-306.
อิสริยะ ไทยนาม, และ ดวงเนตร พิพัฒน์สถิตพงศ์. (2566). การประเมินหลักสูตรและความพึงพอใจต่อหลักสูตรนักวิทยาศาสตร์(สบ 1)ของสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ด้วย CIPP Model. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล, ปีที่ 10 ฉบับที่ 2, หน้า 42-59.