ความต้องการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

Main Article Content

ศกลวรรณ พาเรือง
ธิติ ธาราสุข
รุ่งอรุณ พรเจริญ

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร และ 2) ศึกษาสมรรถนะที่พึงประสงค์ต่อหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน และประชาชนทั่วไปที่กรอกข้อมูลสำรวจผ่านแบบสอบถามออนไลน์ หรือ Google Form จำนวน 71 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ซึ่งใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 53.5 มีอายุระหว่าง 25-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 30.8 อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ภาคใต้ จำนวน 21 คน ประกอบอาชีพรับราชการ จำนวน 39 คนและมีประสบการณ์ในการทำงานอยู่ระหว่าง 1-5 ปี จำนวน 39 คน มีความสนใจศึกษาต่อในแผนการศึกษาแบบ ข (เน้นวิชาชีพ) คิดเป็นร้อยละ 73.2 รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ต้องการเน้นไปในทางเทคโนโลยี จำนวน 38 คน ช่วงเวลาที่สนใจศึกษา เป็นหลักสูตรภาคเสาร์-อาทิตย์ คิดเป็นร้อยละ 87.3 และมีการวางแผนศึกษาต่อในอนาคตนั้นยังไม่สามารถระบุได้ จำนวน 45 คน และสมรรถนะที่พึงประสงค์ต่อหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ความฉลาดรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รองลงมาได้แก่ ความยืนหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว และภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม และความฉลาดรู้ด้านสารสนเทศ

Article Details

How to Cite
[1]
พาเรือง ศ. ., ธาราสุข ธ. ., และ พรเจริญ ร., “ความต้องการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร”, Andj, ปี 5, ฉบับที่ 1, น. 075–085, ก.ค. 2025.
บท
บทความวิจัย

References

ASEAN. (2021). ASEAN Digital Masterplan 2025. ASEAN Secretariat. https://asean.org/book/asean-digital-masterplan-2025

UNESCO Institute for Statistics. (2023). Global Education Monitoring Report: Technology in Education – A Tool on Whose Terms?. https://uis.unesco.org/

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566–2570). กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.

Ryan, R. M. et Deci, E. L. (2017). Self-determination theory. Basic psychological needs in motivation, development and wellness. New York, NY : Guilford Press

สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์. (2560). ทิศทางการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(2), 2843-2854.

UNESCO Institute for Statistics. (2022). Data for Sustainable Development Goals: ICT in Education, http://uis.unesco.org

Yeo, S. H., & Lee, J. M. (2020). Human capital development and the knowledge-based economy: Policy implications for Southeast Asia. Asian Development Review, 37(2), 118–136, https://doi.org/10.1162/adev_a_00152

พงศ์กร จันทราช. (2566). ความต้องการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาในสาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลของศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเอกชน. วารสารวิชาการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการศึกษา, 10(2), 22–31.

พงศ์กร จันทราช. (2566). ความต้องการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาในสาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลของศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเอกชน. วารสารวิชาการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการศึกษา, 10(2), 22–31.

ASEAN Secretariat. (2023). ASEAN Digital Integration Framework Action Plan 2023–2025, https://asean.org