แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ของสถานศึกษาในเครือข่ายสถานศึกษา พนัสนิคม 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่เขตการศึกษา ประถมศึกษา ชลบุรี เขต 2
คำสำคัญ:
การบริหารสถานศึกษา, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, แนวทางการบริหารบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาในเครือข่ายสถานศึกษาพนัสนิคม 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 2) ศึกษาแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาในเครือข่ายสถานศึกษาพนัสนิคม 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 ประชากรประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 94 คน และกลุ่มเป้าหมายในการศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาในเครือข่ายสถานศึกษาพนัสนิคม 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 ทั้งหมด 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามและแบบสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI Modified) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาในเครือข่ายสถานศึกษาพนัสนิคม 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 สภาพปัจจุบันโดยรวมอยูในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์โดยรวม อยู่ในระดับมาก และความต้องการจำเป็นพบว่า สรุปโดยรวม 5 ด้าน มีค่าความต้องการจำเป็น (ค่า PNI Modified = 0.66) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความต้องการจำเป็นอันดับที่ 1 คือ ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (ค่า PNI Modified = 0.75) ความต้องการจำเป็น อันดับที่ 2 คือด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน (ค่า PNI Modified = 0.68) ความต้องการจำเป็น อันดับที่ 3 คือด้านการบริหารจัดการศึกษา (ค่า PNI Modified = 0.67) ความต้องการจำเป็น อันดับที่ 4 คือด้านผลลัพธ์/ภาพความสําเร็จ (ค่า PNI Modified = 0.67) และอันดับสุดท้ายคือด้านพัฒนาบุคลากร (ค่า PNI Modified = 0.56) ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาในเครือข่ายสถานศึกษาพนัสนิคม 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 มีทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านการบริหารจัดการศึกษา ควรมีการกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 2. ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนควรมีการบูรณาการหลักสูตรท้องถิ่นกับการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ๆ ให้กับผู้เรียน 3. ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนควรมีการเสริมสร้างผู้เรียนให้มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 โดยบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การประสานความร่วมมือกับชุมชนเพื่อสร้างศูนย์การเรียนรู้พอเพียง และการประเมินผลกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมีแนวทางที่ชัดเจนและมีเครื่องมือวัดและประเมินผลที่หลากหลาย 4. ด้านพัฒนาบุคลากรควรมีการส่งเสริมบุคลากรสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้บุคลากรในสถานศึกษาสามารถพัฒนาตนเอง 5. ด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ ควรมีการพัฒนาสถานศึกษาให้ได้รับการยอมรับด้านการบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
References
กระทรวงศึกษาธิการสำนักส่งเสริมกิจการการศึกษา. (2560). แนวทางการดำเนินโครงการการขับเคลื่อนสถานศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร.
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
ศาลินา บุญเกื้อ และนันทกาญจน์ ชินประหัษฐ์. (2557). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์การถอดบทเรียนและวิเคราะห์อัตลักษณ์ศูนย์การเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สถานศึกษาพอเพียง มูลนิธิยุวสถิรคุณ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. (2567). แผนพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 2567. ชลบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10 ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
พิชญาดา สิงหเลิศ. (2560). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนในสหวิทยาเขตระยอง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
พินิจ เครือเหลา. (2561). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนพิทยาลงกรณ์พิทยาคม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มัลลิกา สีดาเดช. ประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาพอเพียงในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
อุปสรา สิทธิพงษ์. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. สารนิพนธ์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
จุฑามาส พัฒนศิริ. (2560). แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนในจังหวัดนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
Bottery, M. (2012). Leadership, the logic of sufficiency and the sustainability of education. Education Management Administration and Leadership, 40(4), 449–463
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้ได้รับการเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) ซึ่งอนุญาตให้ผู้อื่นสามารถแชร์บทความได้โดยให้เครดิตผู้เขียนและห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าหรือดัดแปลง หากต้องการใช้งานซ้ำในลักษณะอื่น ๆ หรือการเผยแพร่ซ้ำ จำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากวารสาร