การศึกษาประเพณีการทำขวัญข้าว: การปรับตัวในบริบทเกษตรกรรมสมัยใหม่

ผู้แต่ง

  • ประดิษฐ์ คำมุงคุณ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

คำสำคัญ:

ทำขวัญข้าว, การปรับตัว, เกษตรกรรมสมัยใหม่, ประเพณี, วัฒนธรรม

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษาประเพณีการทำขวัญข้าวในฐานะประเพณีที่สำคัญของสังคมไทยในอดีต
โดยวิเคราะห์ถึงการปรับตัวของประเพณีดังกล่าวในบริบทของการทำเกษตรกรรมสมัยใหม่ ผ่านการศึกษาเอกสารทางประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา ประกอบกับการลงพื้นที่ภาคสนามเพื่อสัมภาษณ์และสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่า หลายชุมชนยังคงสืบทอดประเพณีการทำขวัญข้าวอยู่แม้ในยุคที่การทำนาด้วยแรงงานคนได้ลดลง แต่เดิมประเพณีดังกล่าวทำเพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้ชาวนาและเพื่อผลผลิตทางการเกษตร แต่ปัจจุบันมีเป้าหมายเพิ่มเติมเพื่อสืบทอดประเพณี ส่งเสริมการท่องเที่ยว และการรักษาวัฒนธรรมชุมชน การทำขวัญข้าวจึงยังคงดำรงอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง แต่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบและหน้าที่ให้เหมาะสมกับบริบททางสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-18

How to Cite

คำมุงคุณ ป. (2025). การศึกษาประเพณีการทำขวัญข้าว: การปรับตัวในบริบทเกษตรกรรมสมัยใหม่. วารสารภาษาและวัฒนธรรมศึกษา, 3(1), 31–38. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jlcs/article/view/1703