https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jlcs/issue/feed วารสารภาษาและวัฒนธรรมศึกษา 2025-02-22T23:53:16+07:00 พระมหาภราดร ภูริสฺสโร, ดร. /Dr. Phramaha Pharadon Bhurissaro jlcs@mcu.ac.th Open Journal Systems <p>วารสารภาษาและวัฒนธรรมศึกษามีนโยบายรับตีพิมพ์บทความคุณภาพสูงในด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์และแขนงวิชาที่เกี่ยวข้องอันได้แก่ ภาษา ภาษาศาสตร์ วรรณคดีศึกษา วรรณกรรมศึกษา การเรียนการสอนภาษา วัฒนธรรมศึกษา การแปล การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม พหุวัฒนธรรมศึกษา และพระพุทธศาสนา โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคณาจารย์ นิสิตนักศึกษา และนักวิจัยทั้งในและนอกสถาบัน</p> https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jlcs/article/view/1692 จากวัดสู่วงการดิจิทัล: พัฒนาการของภาษาบาลีในสื่อสังคมออนไลน์ไทย 2025-02-17T21:32:54+07:00 พระครูเจติยธรรมวิเทศ (สงวน หาญณรงค์) phrakruchetiyathamwithetsangua@gmail.com <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของภาษาบาลีในสื่อสังคมออนไลน์ของไทย ตั้งแต่เริ่มใช้ภาษาบาลีในแวดวงพระพุทธศาสนาและงานวรรณกรรมโบราณ จนกระทั่งแพร่หลายสู่โลกดิจิทัลในยุคปัจจุบัน ผู้ศึกษาใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงคุณภาพจากข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์และกรณีศึกษาในสื่อสังคมออนไลน์ไทย ผลการศึกษาพบว่า ภาษาบาลีเข้าสู่สังคมไทยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมา ใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาและการประพันธ์คัมภีร์ ต่อมาเพิ่มบทบาทในงานวรรณกรรม นิทานชาดก บทสวดมนต์ จนเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมพุทธไทย ในยุคดิจิทัลมีการนำภาษาบาลีผ่านสื่อสังคมออนไลน์มากขึ้น ทั้งเพื่อการศึกษาธรรมะ การโต้ตอบ การสร้างอัตลักษณ์ชาวพุทธ และการอนุรักษ์มรดกทางภาษา นับเป็นพัฒนาการที่น่าสนใจของภาษาบาลีจากวัดสู่โลกออนไลน์ของไทยในปัจจุบัน</p> 2025-02-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jlcs/article/view/1690 การปรับตัวของภาษาธรรมะในพอดแคสต์ไทย: การสื่อสารพุทธธรรมในยุคหลอมรวมสื่อ 2025-02-17T21:21:54+07:00 พระมหาประทวน ธมฺมรกฺขิโต phramahapratuanmumsil@gmail.com <p>บทความนี้มุ่งศึกษาการปรับตัวของการใช้ภาษาธรรมะในรายการพอดแคสต์ไทย ในฐานะพื้นที่สื่อใหม่สำหรับการเผยแผ่พุทธธรรม โดยวิเคราะห์รูปแบบการใช้ภาษา กลวิธีการสื่อสาร และการปรับประยุกต์หลักธรรมให้เข้ากับบริบทสังคมร่วมสมัย ผลการศึกษาพบว่า ภาษาธรรมะในพอดแคสต์มีการปรับเปลี่ยนจากรูปแบบดั้งเดิมสู่ภาษาที่เข้าใจง่าย ทันสมัย และสอดคล้องกับชีวิตประจำวันของคนรุ่นใหม่มากขึ้น มีการผสมผสานศัพท์ธรรมะกับภาษาทั่วไป ใช้การเล่าเรื่องและยกตัวอย่างร่วมสมัย รวมถึงการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ฟังผ่านช่องทางดิจิทัล ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงพลวัตของการสื่อสารพุทธธรรมที่ปรับตัวให้เข้ากับยุคหลอมรวมสื่อ</p> 2025-02-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jlcs/article/view/1691 พระธรรมเทศนาบนแพลตฟอร์มดิจิทัล: การปรับตัวของภาษาธรรมะในยุคสื่อใหม่ 2025-02-17T21:29:17+07:00 พระครูใบฎีกาประเทือง กนฺตจาโร prathueangmisomdet.24@gmail.com <p>การศึกษาครั้งนี้มุ่งวิเคราะห์การปรับตัวของภาษาธรรมะในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยศึกษารูปแบบการสื่อสารธรรมะของพระสงฆ์ที่มีบทบาทบนสื่อสังคมออนไลน์ในปัจจุบัน บทความวิชาการใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่า การเทศนาธรรมบนแพลตฟอร์มดิจิทัลมีการปรับเปลี่ยนทั้งในด้านรูปแบบการนำเสนอ การใช้ภาษา และการประยุกต์หลักธรรมให้เข้ากับบริบทร่วมสมัย โดยยังคงรักษาแก่นของพระธรรมคำสอนดั้งเดิม การปรับตัวนี้สะท้อนให้เห็นถึงพลวัตของพระพุทธศาสนาในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมและเทคโนโลยี</p> 2025-02-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jlcs/article/view/1717 อนุสาวรีย์แห่งชัยชนะในสงครามอานามสยามยุทธ กัมพูชา เวียดนาม : วัดชัยชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร 2025-02-22T23:53:16+07:00 มัลลิกา ภูมะธน raphind@yahoo.com <p>บทความนี้เขียนถึง อนุสาวรีย์แห่งชัยชนะในสงครามอานามสยามยุทธ เขมร เวียดนาม : วัดชัยชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร อันเป็นศาสนสถานในพระพุทธศาสนาที่สะท้อนแนวคิดในเรื่องชัยชนะกับการสร้างอนุสรณ์สถานในพระพุทธศาสนา ใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร งานวิจัย การสังเกตจากพื้นที่จริง และเขียนนำเสนอในรูปแบบบทความทางวิชาการ การสร้างอนุสรณ์สถานที่เนื่องด้วยชัยชนะจากสงครามมีอยู่ทั่วไปทั่วโลก โดยวัดชัยชนะสงคราม เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่ถูกสร้างด้วยคติดังกล่าว โดยเป็นวัดในพระพุทธศาสนาที่สร้างขึ้นในบริเวณบ้านและที่ดินของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) แม่ทัพใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 3 ภายหลังจากเดินทางไปรบชนะญวนและเขมรกลับมา ได้มีจิตศรัทธายกที่ดินและบ้านถวายเป็นวัด ตั้งชื่อว่า "วัดชัยชนะสงคราม" เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการมีชัยชนะสงคราม อยู่ในพื้นที่คลองถม ในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร วัดถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ของชัยชนะในสมรภูมิกัมพูชา โดยมีวัดหรือศาสนสถานที่เนื่องด้วยสงครามและเหตุการณ์นี้ อาทิ วัดเทพลีลา วัดพระไกรสีห์ (น้อย) และ วัดปราบปัจจามิตร หรือ วัดกระโดน (វត្ត​ក្ដុលដូនទាវ) ที่เมืองพระตะบอง ที่สร้างเมื่อ พ.ศ. 2388 วัดพระพุทธโฆสาจารย์ หรือ วัดเจินฎ็อมแฎก (វត្តព្រះពុទ្ធឃោសាចារ្យ​) ที่<a href="https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%8D">พนมเปญ</a> ล้วนเนื่องจากเหตุการณ์ในสมรภูมิในครั้งนั้นด้วย ประหนึ่งเป็นอนุสรณ์แห่งสงครามและการต่อสู้ในอดีตด้วย</p> 2025-02-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jlcs/article/view/1710 โปสต์การ์ดเล่าเรื่องลาวหลวงพระบางว่าด้วยพระพุทธศาสนาวัฒนธรรมอันเก่าแก่ 2025-02-20T13:15:53+07:00 พระปลัดระพิน พุทธิสาโร Raphind@yahoo.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาเกี่ยวกับลาวหลวงพระบางซึ่งมีมรดกทางวัฒนธรรมจากพระพุทธศาสนา ใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร งานวิจัย การสังเกต และการสัมภาษณ์ในพื้นที่ นำเสนอในรูปแบบบทความวิชาการ ผลการศึกษาพบว่า หลวงพระบางมีมรดกทางวัฒนธรรม เป็นวิถีประเพณีความเชื่อศาสนาที่ได้รับการยอมรับ เป็นส่วนหนึ่งของสังคมหลอมรวมความเป็นประชามลรัฐของลาวหลวงพระบาง ผสมผสานรวมกันออกมาเป็นลาวร่วมสมัย จนได้รับการยกย่องเป็นเมืองมรดกโลก ส่งผลให้เกิดเป็นวิถีวัฒนธรรมการท่องเที่ยว เรื่องการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ดังปรากฏในปัจจุบัน มีคนไปเที่ยวเพื่อร่วมกิจกรรมวิถีทางศาสนา เช่น การใส่บาตรข้าวเหนียว การท่องเที่ยวในวัตถุทางศาสนาทางวัฒนธรรม เช่นวัดเชียงทอง วัดสีสะเกต และวัฒนธรรมของความเรียบง่าย ดังปรากฏเป็นภาพจำที่หลวงพระบางซึ่งถูกนำเสนอผ่านโปสการ์ดที่ส่งมาเป็นที่ระลึกด้วย&nbsp;</p> 2025-02-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025