วิเคราะห์พิธีกรรมการสืบชะตาแม่น้ำ: การผสมผสานความเชื่อดั้งเดิม กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ผู้แต่ง

  • พระสมุห์ประจิรักษ์ มหาปญฺโญ วัดอโยธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

พิธีกรรมการสืบชะตาแม่น้ำ, ความเชื่อดั้งเดิม, การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม, วัฒนธรรมพื้นบ้าน

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งวิเคราะห์พิธีกรรมการสืบชะตาแม่น้ำในฐานะที่เป็นการผสมผสานระหว่างความเชื่อดั้งเดิมกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ผ่านการศึกษาความเป็นมา องค์ประกอบของพิธีกรรม ตลอดจนการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้สอดคล้องกับบริบทสังคมร่วมสมัย ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิเคราะห์เอกสาร ผลการศึกษาพบว่า พิธีกรรมการสืบชะตาแม่น้ำในปัจจุบันไม่เพียงเป็นการแสดงออกถึงความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อดั้งเดิมเท่านั้น หากแต่ยังสะท้อนถึงการให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยปรากฏผ่านสัญลักษณ์ต่าง ๆ ในพิธีกรรม เช่น การใช้วัสดุธรรมชาติ การเน้นความสะอาด และการสร้างจิตสำนึกในการดูแลรักษาแม่น้ำ แสดงให้เห็นศักยภาพของวัฒนธรรมพื้นบ้านในการสร้างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-18

How to Cite

มหาปญฺโญ พ. . (2025). วิเคราะห์พิธีกรรมการสืบชะตาแม่น้ำ: การผสมผสานความเชื่อดั้งเดิม กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม. วารสารภาษาและวัฒนธรรมศึกษา, 3(1), 9–15. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jlcs/article/view/1701