การวิเคราะห์พิธีกรรมการรำผีฟ้า: มิติทางการรักษาและความเชื่อในสังคมไทย

ผู้แต่ง

  • วราสะยะ วราสยานนท์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

คำสำคัญ:

พิธีกรรมรำผีฟ้า, การรักษา, ความเชื่อ, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, สังคมไทย

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มุ่งวิเคราะห์พิธีกรรมการรำผีฟ้า ซึ่งเป็นพิธีกรรมการรักษาความเจ็บป่วยที่มีความเชื่อเรื่องผีเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างพิธีกรรม ระบบความเชื่อ และการดำรงอยู่ของคนในชุมชน ผ่านการเก็บข้อมูลด้วยการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่า พิธีกรรมรำผีฟ้ามีบทบาทสำคัญในฐานะกลไกเยียวยารักษาทั้งทางกายและจิตใจ ตลอดจนเป็นพื้นที่ในการธำรงรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม ภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยสมัยใหม่ พิธีกรรมนี้กำลังเผชิญความท้าทายจากการลดลงของผู้สืบทอด ดังนั้นการสร้างความเข้าใจและการให้คุณค่าต่อภูมิปัญญาท้องถิ่น จึงเป็นแนวทางสำคัญในการอนุรักษ์และสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่านี้ให้คงอยู่สืบไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-18

How to Cite

วราสยานนท์ ว. . (2025). การวิเคราะห์พิธีกรรมการรำผีฟ้า: มิติทางการรักษาและความเชื่อในสังคมไทย. วารสารภาษาและวัฒนธรรมศึกษา, 3(1), 1–8. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jlcs/article/view/1697