การวิเคราะห์อตักกาวจรธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้

ผู้แต่ง

  • พระมหาไวทย์ชนินทร์ อาวุธปญฺโญ (มีสุวรรณ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • มนตรี สิระโรจนานันท์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

คำสำคัญ : อตักกาวจรธรรม , ปฏิจจสมุปบาท , ญาณวิทยา

บทคัดย่อ

การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าเป็นเหตุการณ์สำคัญที่นำไปสู่การเผยแผ่พระธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา ภายหลังการตรัสรู้ พระพุทธองค์ทรงพิจารณาถึงธรรมที่ได้บรรลุ โดยเฉพาะอริยสัจสี่และปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเป็นหลักธรรมที่อธิบายถึงกระบวนการเกิดและดับของทุกข์ แม้ว่าธรรมะดังกล่าวจะลึกซึ้งและยากแก่การเข้าใจ แต่ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ พระพุทธองค์ทรงตัดสินพระทัยเผยแผ่คำสอนเหล่านี้แก่ผู้มีปัญญาที่สามารถเข้าใจและเข้าถึงได้ ปฏิจจสมุปบาทและนิพพานถือเป็นอตักกาวจรธรรม กล่าวคือ ไม่สามารถเข้าใจได้ด้วยตรรกะและการคิดตามสามัญสำนึกทั่วไป แต่ต้องอาศัยปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติสมาธิและวิปัสสนาเพื่อเข้าถึง พระพุทธองค์ทรงเน้นย้ำว่าการเข้าใจธรรมะเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องของการคิดคำนวณ แต่เป็นการพิจารณาผ่านญาณทัศนะ อย่างไรก็ตาม ปฏิจจสมุปบาทยังสามารถนำมาพิจารณาในชีวิตประจำวันเพื่อช่วยลดทิฏฐิและอุปาทานได้ บทความนี้นำเสนอการวิเคราะห์ธรรมะที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้โดยอาศัยหลักไวยากรณ์บาลีและทฤษฎีญาณวิทยา โดยชี้ให้เห็นว่าคำว่า “ธรรม” ที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงนั้นมีความหมายกว้างขวาง ครอบคลุมถึงทั้งปฏิจจสมุปบาทและนิพพาน การศึกษาธรรมะเช่นนี้จึงช่วยให้เข้าใจความหมายอันลึกซึ้งของพุทธพจน์ได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์

References

นาคารชุน. (2478). รัตนาวลี แปลโดย พระสารประเสริฐ. กรุงเทพมหานคร.

ประยงค์ แสนบุราณ. (2547). ปรัชญาอินเดีย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

พระพุทธโฆสเถระ.(2532). วิสุทธิมรรคฉบับภาษาบาลี ภาค 1. กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์สำนักค้นคว้าทางวิญญาณ.

พระพุทธัปปิยมหาเถระ.(2547). ปทรูปสิทธิปกรณ์. กรุงเทพมหานคร. บริษัทธนาเพรสแอนด์กราฟฟิค.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2557). อรรถกถาภาษาไทย พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกายสีลขันธวรรค. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. โรงพิมพ์สำนักค้นคว้าทางวิญญาณ,2532.

สมภาร พรมทา.(2542). “พุทธปรัชญา” มนุษย์ สังคม และปัญหาจริยธรรม. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โสรัจจ์ หงส์ลดารมภ์. (2562) ปรัชญาทั่วไป .กรุงเทพมหานคร.สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โสรัจจ์ หงส์ลดารมภ์.(2565). มูลมัธยมกการิกา โศลกมูลฐานว่าด้วยทางสายกลาง. กรุงเทพมหานคร. สำนักพิมพ์มูลนิธิพันดารา.

อรรถกถาภาษาบาลี พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ภาค 1. กรุงเทพมหานคร.

Bhatt, S. R., & Mehrotra, A. (2000). Buddhist Epistemology. In Dalai Lama, Contributions

in Philosophy: Vol. Number 75. Greenwood Press. https://www.greenwood.com

Bronkhorst, J. (1993) The Two Traditions of Meditation in Ancient India. Stuttgart: Franz

Steiner Verlag.

Gethin, R. (1998) The Foundations of Buddhism. Oxford: Oxford University Press.

Harvey, P. (2007) An Introduction to Buddhism: Teachings, History and Practices. 2nd edn.

Cambridge: Cambridge University Press.

Kalupahana, D. J. (1975) Causality: The Central Philosophy of Buddhism. Honolulu:

University of Hawaii Press.

Audi, R., & Wainwright, W. J. (Eds.). (1986). Rationality, Religious Belief, and Moral Commitment. CornellUniversityPress. https://archive.org/details/rationalityreligOOunse

Deutsch, E. (1988). Advaita Vedanta: A Philosophical Reconstruction. Honolulu: University of

Hawaii Press.

Harvey, P. (1995). The Selfless Mind: Personality, Consciousness and Nirvana in

Early Buddhism. London: Routledge.

Olivelle, P. (1996). The Early Upanishads: Annotated Text and Translation. Oxford :

Oxford University Press.

Sharma, C. (2001). A Critical Survey of Indian Philosophy. Delhi: Motilal Banarsidass.

Williams, P. (2000). Buddhism: The Doctrinal Foundations. London: Routledge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-30

How to Cite

อาวุธปญฺโญ (มีสุวรรณ) พ., & สิระโรจนานันท์ ม. . (2025). การวิเคราะห์อตักกาวจรธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้. วารสาร นวพุทธศาสตร์, 4(1), 66–80. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMBS/article/view/2106