รูปแบบกระบวนการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุตามแนวคิดพุทธบูรณาการ
คำสำคัญ:
รูปแบบการเรียนรู้, สำหรับผู้สูงอายุ, พุทธบูรณาการบทคัดย่อ
การเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุตามแนวคิดพุทธบูรณาการเป็นกระบวนการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่ผสานหลักธรรมในพระพุทธศาสนากับการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในทุกมิติ ได้แก่ มิติทางร่างกาย จิตใจ ปัญญา และสังคม โดยใช้กระบวนการฝึกสมาธิ การเจริญสติ และกิจกรรมที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาสุขภาพกาย การเสริมสร้างจิตใจที่สงบผ่านการวิปัสสนาและเมตตาภาวนา รวมถึงการสร้างปัญญาโดยการศึกษาอริยสัจ 4 ไตรลักษณ์ และอิทธิบาท 4 เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติของชีวิต การเรียนรู้ยังสนับสนุนการมีส่วนร่วมในสังคมผ่านการถ่ายทอดภูมิปัญญาและการทำงานอาสาสมัคร โดยกระบวนการเรียนรู้ถูกออกแบบให้เกิดขึ้นผ่านกิจกรรมกลุ่ม การปฏิบัติจริง และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในชุมชน ทำให้ผู้สูงอายุสามารถยอมรับและปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลงในชีวิต มีสุขภาพกายและจิตที่ดี และดำรงชีวิตอย่างสงบสุข แนวคิดพุทธบูรณาการจึงสามารถส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ สร้างความเข้มแข็งให้กับครอบครัว ชุมชน และสังคมในภาพรวม เป็นแนวทางที่ตอบสนองความต้องการของสังคมสูงวัยในยุคปัจจุบัน
References
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2546). พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. สืบค้นจาก https://www.dop.go.th/th/laws/2/10/785
ขวัญนภา สุขคร (2554). ความหมายของการวิจัย. ลำปาง: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์ลำปาง.
ตระกูล พุ่มงาม และ สุวัฒสันต์ รักขันโทตะ (2564). สุขภาวะแนวพุทธของผู้สูงวัย. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน).
ดวงเดือน รัตนะมงคลกุล และคณะ (2558). ภาพสุขภาวะของผู้สูงอายุผ่านมุมมองพฤฒพลังในชุมชนจังหวัดนครนายก. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 (สิงหาคม).
นริสรา พึ่งโพธิ์สภา และ ฐาศุกร์ จันประเสริฐ (2555). การสังเคราะห์งานวิจัยที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางจิตและสังคมที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในประเทศไทย. นครนายก: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุญชม ศรีสะอาด (2547). วิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน์.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) (2556). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2548). พุทธธรรม. กรุงเทพฯ: มูลนิธิธรรมสภา.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (2566). สรุปผลที่สำคัญสถิติการทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2566. กรุงเทพมหานคร: กองสถิติแรงงาน.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2568). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2567 ระดับจังหวัด, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.nso.go.th/nsoweb/storage/survey_detail/2025/20250103144326_51634.pdf [9 มกราคม 2568].
United Nations Development Program (UNDP) (2005). Human Development Report 2005. New York: United Nations Development Program.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสาร นวพุทธศาสตร์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.