การประยุกต์หลักภาวนา 4 สำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในจังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
การประยุกต์หลักภาวนา 4, การพัฒนาคุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง “การประยุกต์หลักภาวนา 4 สำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงราย” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทของการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุทั่วไปในจังหวัดเชียงราย 2) เพื่อศึกษาวิธีการนำหลักภาวนา 4 มาใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงราย 3) เพื่อนำเสนอแนวทาง การประยุกต์หลักภาวนา 4 สำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงราย ใช้วิธีวิจัยแบบเชิงคุณภาพ ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 10 คน ทำการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 10 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลแบบอรรถาธิบาย และพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาบริบทของการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุทั่วไปในจังหวัดเชียงราย พบว่า 1) หน่วยงานธุรกิจเอกชนจัดระบบบำนาญ และผลประโยชน์เมื่อเกษียณอายุ ส่งเสริมรายได้ให้ผู้สูงอายุ จัดกิจกรรมสันทนาการ จัดหาแหล่งงานที่เหมาะสมกับวัย หน่วยงานของรัฐ จัดระบบประกันสังคม กำหนดรายได้ที่มั่นคงและเหมาะสม ให้การดูแลช่วยเหลือกลุ่มผู้สูงอายุที่ยากจนหน่วยบริการแพทย์และสาธารณสุข จัดหาผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุ ลดค่าใช้จ่ายของระบบประกันสังคมให้ถูกลงจัดบริการรักษาพยาบาล สถาบันครอบครัว และสถาบันที่จัดบริการรักษาให้กับผู้สูงอายุ ด้านกิจกรรม ของผู้สูงอายุเป็นกิจกรรมการพัฒนาตนเองตามศักยภาพ พัฒนาอย่างรอบด้าน และกิจกรรมทางด้านศาสนา เพื่อพัฒนา ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม 2) การศึกษาวิธีการนำหลักภาวนา 4 มาใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงราย พบว่า การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผู้นำชุมชน บุคลากรที่มีความรู้ในชุมชน (อดีตข้าราชการครู) วัด และองค์กรภาคีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้สร้างกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ได้แก่ กิจกรรมสร้างหลักคุณธรรม จริยธรรม เพื่อเห็นคุณค่าของตนเอง ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ มีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพกาย และสุขภาพจิต 3) การนำเสนอแนวทาง การประยุกต์หลักภาวนา 4 สำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงราย พบว่า แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ที่เหมาะสม คือการให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ ด้วยการกิน การอยู่อาศัยในสิ่งแวดล้อมที่ดี และการออกกำลังกายที่พอเหมาะแก่วัย ไปสู่การพัฒนาด้านจิตใจเริ่มตั้งแต่หลักศีลธรรมที่พึงมีต่อสังคม การมีสติในการใช้ชีวิตและประกอบการงาน รวมถึงด้านปัญญารู้พิจารณา เข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนเองและสังคม
References
ขจาย เหล่าสุนทร (2562). “แนวทางในการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงราย”. ดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาคม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.
คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ (2443). แผนพัฒนาสุขภาพ แห่งชาติฉบับที่ 9. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
จิรภา วิลาวรรณ (2565). “ผลของโปรแกรมการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและป้องกัน ภาวะซึมเศร้า เชิงสังคมและวัฒนธรรมในกลุ่มผู้สูงอายุตำบลนาฝาย อำเภอเมืองจังหวัดชัยภูมิ”. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 15 (1) (เดือนมกราคม – เมษายน): 181-195.
ประคอง อินทรสมบัติ (2539). การประเมินภาวะสุขภาพในผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร : รามาธิบดีพยาบาลสาร.
ประเวศ วะสี (2541). บนเส้นทางใหม่การสงเสริมสุขภาพอภิวัฒนชีวิตแลสังคม. กรุงเทพมหานคร : หมอชาวบ้าน.
พระครูโกศลอรรถกิจ, นวินดา นิลวรรณ, สิทธิโชค ปาณะศรีม (2563). การประยุกต์ใช้หลักภาวนา 4 ตาม แนวพระพุทธศาสนาเถรวาทสู่สังคมผู้สูงอายุ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 7 (3) (มีนาคม): 38-39.
พระพรหมคุณาภรณ์ (2547). หลักแม่บทของการพัฒนาตน. พิมพ์ครั้ง ที่ 15. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (2551). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : บริษัทสหพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง.
พระมหาเชาวฤทธ ทรัพย์สวัสดิ์ นรินฺโท, พระมหามิตร ฐิตปญฺโญ, พระครูสุธีคัมภีรญาณ, หอมหวนบัวระภา (2562). “การศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักภาวนา 4 กรณีศึกษา: ผู้สูงอายุบ้านห้วยหอยตำบลธาตุทอง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ”. รายงานการวิจัย. (มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น).
เมธชนัน เลิศชุณหะเกียรติ แพทย์หญิง (2567). 10 วิธีดูและสุขภาพดีทั้งกาย – ใจ. สืบค้นข้อมูลจาก www. phyathai3hospital.com.
รศรินทร์ เกรย์ และคณะ (2556). มโนทัศน์ใหม่ของนิยามผู้สูงอายุ, มุมมองเชิงจิตวิทยาสังคมและสุขภาพ. เอกสารทางวิชาการ. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุรจิตต์ วุฒิการณ์ พิสิษฐ์ จอมบุญเรือง ไพศาล สรรสรวิสุทธิ์ (2555). “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองบางมูลนาก อำเภอบางมูลนากจังหวัดพิจิตร”. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.