คดียาเสพติด: การป้องกันการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังเรือนจำกลางเชียงราย

ผู้แต่ง

  • นางวนัชภรณ์ มะโนวัง กรมราชทัณฑ์
  • ปรีชา วงศ์ทิพย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

คดียาเสพติด, ผู้ต้องขังเรือนจำ, การป้องกันการกระทำผิดซ้ำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาลักษณะของคดียาเสพติด และการป้องกันการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังเรือนจำกลางเชียงราย 2) เพื่อวิเคราะห์คดียาเสพติดในการป้องกันการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังเรือนจำกลางเชียงราย 3) เพื่อนำเสนอแนวทางเกี่ยวกับคดียาเสพติดเพื่อป้องกันการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังเรือนจำกลางเชียงราย คณะผู้วิจัยได้กำหนดใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methodology Research) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 365 คน และ การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เกี่ยวข้อง 6 คน สำหรับอธิบายผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษาลักษณะของคดียาเสพติด และการป้องกันการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังเรือนจำกลางเชียงราย พบว่า การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้กระทำผิด พัฒนาความเข้าใจและกำลังใจจากครอบครัว ติดตามผลในระยะแรกผ่านปัจจัยด้านครอบครัว เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม พร้อมสร้างแบบจำลองการป้องกันการกระทำผิดซ้ำ และพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมทักษะและส่งเสริมการจ้างงาน 2. การวิเคราะห์คดียาเสพติดในการป้องกันการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังเรือนจำกลางเชียงราย พบว่า ผลการวิจัยในภาพรวมอยู่ ในระดับปานกลาง (3.29) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านแล้วพบว่าปัจจัยด้านเศรษฐกิจมีระดับมากที่สุด (3.42) และรองลงมา คือ ด้านสังคม (3.41) และน้อยที่สุด คือ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม (3.10) ตามลำดับ 3. นำเสนอแนวทางเกี่ยวกับคดียาเสพติดเพื่อป้องกันการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังเรือนจำกลางเชียงราย พบว่า การเรียงลำดับการให้ข้อเสนอแนะ มีดังต่อไปนี้ ลำดับที่ 1 ควรมีการตรวจสอบและขจัดแหล่งซื้อขายยาเสพติดให้โทษ มีการให้ความเห็นมากที่สุด ลำดับที่ 2 ควรมีการให้ความรู้เรื่อง  ยาเสพติดให้โทษกับคนในชุมชน มีการให้ลำดับรองลงมา และ ลำดับที่ 3 ควรมีการจัดสภาพแวดล้อมที่ดี อยู่ในลำดับที่น้อยที่สุด

References

กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม (2561). คู่มืองานกิจกรรมชุมชน. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงยุติธรรม.

ฉัตรชญา ศรีบุรี (2561). “การบริหารจัดการเชิงบูรณาการเพื่อป้องกันการกระทำผิดซ้ำ ของผู้ต้องขังคดียาเสพติด กรณีศึกษา: เรือนจำจังหวัดลำพูน”. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายและการบริหารสาธารณะ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

นวลจันทร์ ทัศนชัยกุล (2549). อาชญากรรม. ม.ป.ท: ม.ป.พ.

นันทิยา สวัสดิวิชัยโสภิต (2563). “การตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมในสถานศึกษา กรณีศึกษา: มหาวิทยาลัยนเรศวร”. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาภูมิศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ปกรณ์ มณีปกณ์ (2553). อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: เวิลด์เทรดประเทศไทย.

ประเทือง ธนิยผล (2556). อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พระมหานันทวิท์ ธีรภทฺโท, กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์ และอัครนันท์ อริยศรีพงษ์ (2561). “การเสริมสร้างจริยธรรมสำหรับผู้ต้องขังในเขตกรุงเทพมหานคร”. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 6 (4) (ตุลาคม-ธันวาคม).

วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา (2567). พลิกหน้ากฎหมายยาเสพติดใหม่ เปิดมิติใหม่แห่งการแก้ปัญหายาเสพติดไทย สืบค้นข้อมูลจาก https://www.the101.world/new-narcotic-bills/

วรปพัฒน์ มั่นยำและศุภกร ปุญญฤทธิ์ (2563). “สาเหตุและแนวทางการป้องกันการกระทำผิดซ้ำของ ผู้ต้องขังในคดีลักทรัพย์ : กรณีศึกษาเรือนจำจังหวัดปทุมธานี”. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 6 (3) (กันยายน-ธันวาคม).

ศิริวรรณ กมลสุขสถิต (2563). “แนวทางในการป้องกันและแก้ไขการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนในคดีความผิด เกี่ยวกับยาเสพติดโดยอาศัยปัจจัยที่เป็นตัวทำนายทางด้านอาชญาวิทยา”. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. 7 (1) (มกราคม-มิถุนายน).

สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2542). แนวทางการดําเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร : อรุณการพิมพ์.

สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์ และคณะ (2558). “การศึกษาเพื่อพัฒนาแนวทางการลงโทษ หลักการลงโทษที่ได้สัดส่วนกรณีคดียาเสพติดให้โทษ”. รายงานฉบับสมบูรณ์. ม.ป.ท: ม.ป.พ.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

How to Cite

นางวนัชภรณ์ มะโนวัง, & ปรีชา วงศ์ทิพย์. (2024). คดียาเสพติด: การป้องกันการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังเรือนจำกลางเชียงราย. วารสาร นวพุทธศาสตร์, 3(1), 1–16. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMBS/article/view/1403