สังคมศึกษาวิถีพุทธ: การประยุกต์หลักธรรมในการเรียนรู้เพื่อลดความเครียดของนักเรียน

ผู้แต่ง

  • สันติ เมืองแสง คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระรัตนมุนี (ปุณณมี วิสารโท) วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

สังคมศึกษาวิถีพุทธ, การประยุกต์หลักธรรม, ลดความเครียดของนักเรียน

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการจัดการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา เพื่อลดความเครียดและส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักธรรมที่นำมาใช้ ได้แก่ อิทธิบาท 4 เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ และ สติปัฏฐาน 4 เพื่อเสริมการรู้เท่าทันอารมณ์ นอกจากนี้ยังบูรณาการ พรหมวิหาร 4 เพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนรู้อย่างอบอุ่นและปลอดภัยทางอารมณ์ ผลการศึกษาการพบว่า การเรียนการสอนที่บูรณาการหลักธรรมช่วยลดความเครียดของนักเรียนได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยส่งเสริมให้นักเรียนมีความตระหนักรู้ในตนเอง สามารถควบคุมอารมณ์ และลดแรงกดดันจากการเรียน กิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม ได้แก่ การทำสมาธิก่อนเริ่มเรียน การฝึกสติผ่านกิจกรรมระดมสมอง การอภิปราย และการสะท้อนความคิดในบทเรียน ช่วยให้นักเรียนมีสมาธิและมีความพร้อมในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น การสร้างความร่วมมือระหว่างครูและผู้ปกครองเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะช่วยเสริมพฤติกรรมที่ดี การปรับตัวต่อแรงกดดันในชีวิตประจำวันอย่างเหมาะสม การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ดี มีผลการส่งเสริมช่วยพัฒนาให้นักเรียนมีบุคลิกภาพที่ดีรวมถึงมีจิตใจที่ผ่องใส การประยุกต์หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการจัดการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา ช่วยลดความเครียดและส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ของนักเรียน การพัฒนาทางการเรียนรู้ควบคู่กับการเสริมสร้างจิตสำนึกที่ดี เป็นแนวทางการจัดการศึกษาที่เหมาะสมในยุคปัจจุบัน ต่อการสร้างบุคคลที่มีสมดุลทางความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม พร้อมที่จะออกไปดำเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรมในสังคมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

References

กรมสุขภาพจิต (2543). คู่มือคลายเครียด. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สยามเอ็มแอนด์บีพับลิชชิ่ง.

กรมสุขภาพจิต (2566). สภาวะอารมณ์ที่ไม่คงที่ในวัยรุ่น (ตอนที่ 1). [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://dmh.go.th/news/view.asp?id=2503.

คณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้ (2543). ปฏิรูปการเรียนรู้ ผู้เรียนสำคัญที่สุด. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: สำนักคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

จินตนา พัฒนพงศ์ธร และคณะ (2561). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย ครั้งที่ 6 ปี พ.ศ. 2560. “รายงานวิจัย”. กลุ่มสนับสนุนวิชาการและการวิจัย สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน (2544). การบริหารงานบุคคลแผนใหม่. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพาณิช.

พระธรรมกิตติวงศ์ (2541). พระในบ้าน. กรุงเทพมหานคร: คำธาวรรณการพิมพ์.

พระธรรมปิฎก (2538). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 6. ฉบับปรับปรุงและขยายความ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิมพ์มาดา (2566). 101 วิธีกำจัดความเครียด. กรุงเทพมหานคร: กู๊ดไลฟ์.

ลิเดีย. “ความเครียด”. วารสารกรมบัญชีกลาง. ปีที่ 55 ฉบับที่ 2. (2557): 61-63.

วิภาพรรณ พิมลา. “แนวทางการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมี วิจารณญาณสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21” . วารสารปาริชาต. ปีที่ 30 ฉบับที่ 1 (มกราคม- มิถุนายน 2560): 16.

วิโรจน์ ตระการวิจิตร (2557). เครียดอย่างฉลาด. กรุงเทพมหานคร: ดีเอ็มจี, 2557.

วิลาวัลย์ เอี่ยมเจริญ (2566). เทคนิคการสอนตามหลักการทั้งสี่ของอริยสัจ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?id=talatoppy&month=09-2007&date=15&group=2&gblog=1

ส่งเสริมสวัสดิการและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ, สำนักงาน. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (2550). แนวทางการดำเนินงาน โครงการคาราวานเสริมสร้างเด็ก ปี 2550, (เอกสารอัดสำเนา).

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2566). สุขภาพคนไทย 2565: ครอบครัวไทยในวิกฤตโควิด-19. บริษัท อมรินทร์พรินติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https:// www.thaihealthreport.com/file_book/569-ThaiHealth2022-THFinal_compressed.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ 2542, แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) 2553. กรุงเทพมหานคร: มปพ.

สุคนธ์ สินธพานนท์ (2559). การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่ เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

อรทัย มูลคำ และสุวิทย์ มูลคำ (2544). การบรูณาการหลักสูตรและการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.

Bee H (1995). The growing child. New York: Harper Collins College Publishers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

สันติ เมืองแสง, & พระรัตนมุนี (ปุณณมี วิสารโท). (2023). สังคมศึกษาวิถีพุทธ: การประยุกต์หลักธรรมในการเรียนรู้เพื่อลดความเครียดของนักเรียน. วารสาร นวพุทธศาสตร์, 2(2), 60–72. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMBS/article/view/1401