กระบวนการเสริมสร้างทักษะวิชาชีพสำหรับผู้ต้องขังเรือนจำกลางเชียงราย
คำสำคัญ:
กระบวนการเสริมสร้าง, ทักษะวิชาชีพ, ผู้ต้องขังเรือนจำกลางเชียงรายบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง “กระบวนการเสริมสร้างทักษะวิชาชีพสำหรับผู้ต้องขังเรือนจำกลางเชียงราย” ได้กำหนดวิธีการวิจัยแบบ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้การเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) โดยวิธีใช้การคัดเลือกแบบเจาะจงผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในกระบวนการเสริมสร้างทักษะวิชาชีพสำหรับผู้ต้องขังเรือนจำกลางเชียงราย ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลศึกษาหลักการเกี่ยวกับการเสริมสร้างทักษะวิชาชีพสำหรับผู้ต้องขังเรือนจำกลางเชียงราย พบว่า การฝึกทักษะวิชาชีพช่วยเพิ่มโอกาสการหางานและรักษางานหลังพ้นโทษ โดยการเลือกสายการเรียนที่เหมาะสม พัฒนาทักษะเฉพาะทางและทักษะอ่อน ในด้านการทำงานเป็นทีม การสื่อสาร และการแก้ปัญหา การติดตามและประเมินผลต่อเนื่อง และการสร้างแรงจูงใจผ่านรางวัล ช่วยเสริมความมุ่งมั่นของผู้ต้องขัง 2) ผลการศึกษากระบวนการในการฝึกวิชาชีพผู้ต้องขังเรือนจำกลางเชียงราย พบว่า การฝึกอบรมครอบคลุมงานด้านอาหาร งานช่าง และการบริการ ช่วยผู้ต้องขังพัฒนาทักษะ สร้างความสัมพันธ์กับครอบครัวและชุมชน ลดอัตราการกระทำผิดซ้ำ และเพิ่มความมั่นใจ พร้อมทั้งเสริมสร้างสุขภาพจิตและความรับผิดชอบ 3) ผลการศึกษาแนวทางในการประยุกต์กระบวนการเสริมสร้างทักษะวิชาชีพสำหรับผู้ต้องขังเรือนจำกลางเชียงราย พบว่า การเลือกหลักสูตรตามศักยภาพและความสนใจ ในด้านการเกษตรตามเศรษฐกิจพอเพียง การประกอบอาหาร และการใช้เทคโนโลยี ร่วมกับการออกใบรับรองจากสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่วยเพิ่มโอกาสในการหางาน ลดการกระทำผิดซ้ำ และเสริมความมั่นใจในการกลับสู่สังคม
References
กมลวรรณ ทาวัน และคณะ (2565). แนวทางจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมผู้ต้องขัง ทัณฑสถานบำบัดพิเศษลำปางสู่การประกอบอาชีพที่เหมาะสม. “วารสารลวะศรีมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี”. 6 (2) (กรกฎาคม-ธันวาคม).
กมลวรรณ ทาวัน และคณะ (2565). “แนวทางจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมผู้ต้องขังทัณฑสถานบำบัดพิเศษลำปางสู่การประกอบอาชีพที่เหมาะสม. วารสารลวะศรี. 6 (2) (กรกฎาคม-ธันวาคม)
กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม (2561). คู่มืองานกิจกรรมชุมชน. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงยุติธรรม.
กรมราชทัณฑ์ (2566). สถิติการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขัง. สืบค้นข้อมูลจาก http://www.correct.go.th/ recstats/index.php/th/Home.
กัญญาณัฐ ปูนา, พูนชัย ยาวิราช และไพรภ รัตนชูวงศ์ (2562). “ข้อเสนอเชิงนโยบายในการบริหารจัดการ การศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะอาชีพสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทาง การศึกษาพื้นที่พิเศษจังหวัดเชียงราย”. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 12 (1) (มกราคม – เมษายน).
จันทร์เพ็ญ สุวรรณคร (2558). “กระบวนทัศน์การจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่เสริมสร้าง การใช้ทักษะชีวิต และอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย”. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จารุเนตร เกื้อภักดี (2559). “แนวทางพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ฌานิกา ศรีวรรณวิทย์ (2565). “กระบวนการทางอาชีพเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การมีชีวิตที่ดีของผู้ต้องขังที่อยู่ในเรือนจำและทัณฑสถานภายหลังการพ้นโทษ”. วารสารชุมชนวิจัย. 16 (2) (เมษายน-มิถุนายน).
ทนงศักดิ์ ปัดสินธุ์ (2558). การพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาชุมชนบ้านเปลือยทอง ตำบลขามเฒ่าพัฒนา อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม”. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ประชุม รอดประเสริฐ (2558). การพัฒนาบุคลากร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ (2566). ความหมายของการพัฒนา. สืบค้นข้อมูลจาก https://www. baanjomyut. com/library_3/theories_and_principles_of_community_development/01.html
วิไลพร ไชยโย (2559). “รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของผู้นำท้องถิ่นกับการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่”. รายงานวิจัย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
สมบูรณ์ สิงห์มณี (2564). “การพัฒนาศักยภาพด้านการฝึกวิชาชีพผู้ต้องขังเรือนจำกลางเชียงราย ความต้องการด้านการฝึกวิชาชีพของผู้ต้องขังเรือนจำกลางเชียงราย”. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สรเดช เลิศวัฒนาวณิช (2560). “การพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพและคุณลักษณะใน การประกอบอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา”. วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สหพัฒน์ ทิพยมาศ (2561). รายงานการประเมินโครงการพัฒนาทักษะอาชีพเพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียนของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ พลังประชารัฐ. สงขลา: โรงเรียนตะเครียะวิทยาคม.
สายเพ็ญ บุญทองแก้ว (2563). “การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ สำหรับนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ออมทอง พัฒนพงษ์ และคณะ (2565). การพัฒนาทักษะอาชีพการเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ของผู้ต้องขังทัณฑสถานบำบัดพิเศษลำปาง. “วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร”. 13(2). (กรกฎาคม – ธันวาคม).
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.