การพัฒนาจริยธรรมในโรงเรียนยุคดิจิทัลด้วยหลักศีล 5

ผู้แต่ง

  • พระครูปลัดอภินันท์ โชติธีโร (สุนทรภักดี) วัดมหาธาตุวรวิหาร เพชรบุรี

คำสำคัญ:

การพัฒนา, จริยธรรม, โรงเรียนในยุคดิจิทัล, ศีล 5

บทคัดย่อ

บทความวิชาการเรื่อง “การพัฒนาจริยธรรมในโรงเรียนยุคดิจิทัลด้วยหลักศีล 5” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำหลักศีล 5 ในพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในกระบวนการพัฒนาจริยธรรมคุณธรรมของนักเรียนในยุคดิจิทัล โดยการเสริมบทบาทของเทคโนโลยีในการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีคุณค่ามาประยุกต์กับหลักศีล 5 ได้แก่ การละเว้นจากการเบียดเบียน การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม การโกหก และการเสพสิ่งเสพติด เป็นกรอบจริยธรรมพื้นฐานที่ช่วยปลูกฝังความรับผิดชอบทางศีลธรรมของนักเรียน การบูรณาการหลักศีล 5 เข้ากับหลักสูตรการเรียนการสอน สามารถกระตุ้นการเรียนรู้ด้านคุณธรรมผ่านกิจกรรมที่ดีสร้างสรรค์และทันสมัย การใช้สื่อดิจิทัลและแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ ได้แก่ สื่ออินเตอร์แอคทีฟ เกมการศึกษา และสื่อเสมือนจริง สามารถสร้างความสนใจต่อการเรียนรู้เชิงจริยธรรมในรูปแบบที่น่าสนใจกับนักเรียน การสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมจริยธรรมในโรงเรียน การมีแบบอย่างที่ดีจากครูและผู้บริหาร การจัดกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการมีส่วนร่วมตัวนักเรียน ครอบครัวและชุมชน เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยพัฒนานักเรียนให้มีจิตสำนึกที่ดี พร้อมรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม  การบริหารจัดการโรงเรียนด้วยหลักศีลธรรม จะสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มีความรับผิดชอบและยั่งยืน การวางนโยบายที่ยึดหลักจริยธรรมและความโปร่งใส จะช่วยให้เกิดการจัดการที่เป็นธรรม การผสมผสานระหว่างการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และหลักศีลธรรมจากพระพุทธศาสนา เป็นแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนานักเรียนให้มีคุณธรรมและจริยธรรมที่มั่นคง จะส่งผลให้สังคมมีความสงบสุขในสังคม

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: บริษัทสยามสปอรต์ซินดิเคท จำกัด.

มูลนิธิยุวสถิรคุณ. (2560). รายงานสรุปการจัดประชุมสัมมนานิเทศอาสาของศูนย์โรงเรียนคุณธรรม.เมื่อวันที่ 19-20 มิถุนายน 2560. ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง. กรุงเทพฯ.

ศูนย์โรงเรียนคุณธรรม มูลนิธิยุวสถิรคุณ. (2560). กระบวนการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรมทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ. กรุงเทพฯ : บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด.

คสช (2558). คู่มือแนวทางการดำเนินงานตามโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล 5” ระยะที่ 3 (ระยะยาว) . กรุงเทพมหานคร : สำนักงานโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยใช้หลักธรรมทารงพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล 5”.

นลินี นุตย์จิต (2543). “แนวทางการดำเนินงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่”.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ .

พระมหาสำรวย ญาณสํวโร (2542). “การศึกษาเรื่องผลกระทบจากการล่วงละเมิดศีลข้อที่ 5 ที่มีต่อสังคมไทย”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสิริปริยัตยานุศาสก์ (ดวงจันทร์ คุตฺตสีโล) (2559). คนมีศีล ดินมีปุ๋ย. เชียงใหม่: บริษัท นันทพันธ์

ปริ้นติ้ง จำกัด.

พีระพงษ์ เจริญพันธุวงศ์ (2541). “การจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา: ศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนกระสังพิทยาคม อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์”วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

โครงการโรงเรียนรักษาศีล 5 (2565). [ออนไลน์] แหล่งที่มา : https://www.sila5.com/school/index/detail#detail2.

สุภาพร สุขสวัสดิ์ (2552). “การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนสตรีนนทบุรี”.

ปริญญาการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อ้อมเดือน สดมณี และคณะ (2548). ประสิทธิผลในการฝึกอบรมทักษะและจิตลักษณะที่มีผลต่อพฤติกรรม ประหยัดน้ำ และไฟฟ้าของนักเรียนระดับประถมศึกษา. รายงานการวิจัย. ฉบับที่ 98. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัย พฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31

How to Cite

พระครูปลัดอภินันท์ โชติธีโร (สุนทรภักดี). (2022). การพัฒนาจริยธรรมในโรงเรียนยุคดิจิทัลด้วยหลักศีล 5. วารสาร นวพุทธศาสตร์, 1(2), 54–62. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMBS/article/view/1385