พุทธรรมนำชีวิต: การสร้างแรงบันดาลใจในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากร

ผู้แต่ง

  • พระครูสุวรรณจันทนิวิฐ วัดองค์พระ จังหวัดสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

พุทธรรม, หลักธรรม, สร้างแรงบันดาลใจ, การปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากร

บทคัดย่อ

บทความวิชาการเรื่อง “พุทธรรมนำชีวิต: การสร้างแรงบันดาลใจในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากร” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักธรรมในพระพุทธศาสนาเพื่อเสริมสร้างแรงบันดาลใจในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรในองค์กร โดยการประยุกต์ใช้หลักธรรมสำคัญ ได้แก่ อิทธิบาท 4 ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา เป็นหลักสู่ความสำเร็จ และพรหมวิหาร 4 เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นหลักในการบริหารและพัฒนามนุษย์ในเชิงจริยธรรม การปฏิบัติตามหลักธรรมสามารถเสริมสร้างความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ และการทำงานอย่างมีเป้าหมาย ทำให้บุคลากรมีสำนึกในหน้าที่และรักในงานของตนเอง การนำหลักธรรมนี้ไปใช้ในกระบวนการทำงาน การตัดสินใจอย่างมีสติ การทำงานเป็นทีม การพัฒนาศักยภาพส่วนบุคคล และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมสร้างสรรค์ ช่วยลดความขัดแย้งภายในองค์กรและเพิ่มความสามัคคี รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมที่ดี การพูดสิ่งที่เป็นปิยวาจา มีส่วนช่วยปลูกฝังจริยธรรมคุณธรรม ช่วยสร้างบรรยากาศการทำงานที่เป็นมิตร ทำให้บุคลากรมีความพึงพอใจในการทำงานมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จในหน้าที่และการเติบโตขององค์กรในระยะยาว ผลการศึกษาย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนาจิตใจควบคู่กับการพัฒนาทักษะทางวิชาชีพ ซึ่งเป็นแนวทางที่ยั่งยืนสำหรับการบริหารงานในสังคมสมัยใหม่ การประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจรวมถึงพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนได้ ทั้งส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติหน้าที่ด้วยความตั้งใจและมีจิตสำนึกที่ดี เพื่อสร้างองค์กรที่มีคุณภาพและเจริญก้าวหน้าได้ดียิ่งขึ้น

References

พงษ์เมธี ไชยศรีหา (2561). “แนวทางการพัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองประชาธิปไตยของประชาชนในเขตเทศบาลเมือง ชุมแพ จังหวัดขอนแก่น”. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม).

ปริญญา สัตยธรรม (2550). “ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานกรณีศึกษา : บริษัท วายเอช เอสอินเตอรเนชั่นแนลจำกัด”. สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนา

ทรัพยากรมนุษย์และองค์กร (2550). บัณฑิตวิทยาลัย: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) (2543). ธรรมะกับการทำงาน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ.

พระเทพดิลก (ระแบบ ฐิตญาโณ) (2545). ความสำเร็จหลักธรรมสู่ความสำเร็จและสันติสุข. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ธรรมสภา.

พระราชญาณวิสิฐ (เสริมชัย ชยุมงคโล) (2545). ความสำเร็จหลักธรรมสู่ความสำเร็จและสันติสุข. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ธรรมสภา.

พระมหาณรงค์ศักดิ์ ฐิติญาโณ (2546). พระอภิธรรมปิฎก 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พุทธทาสภิกขุ (2537). คู่มือมนุษย์ (ฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ธรรมสภา.

ชม ภูมิภาค (2526). การศึกษาเพื่อพัฒนาชีวิตและสังคม. กรุงเทพมหานคร: สมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทย.

กิติพันธ์ รุจิรกุล (2529). พฤติกรรมผู้นำทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส พริ้นติ้งเฮ้าส์.

ประภาเพ็ญ สุวรรณ (2556). ทัศนคคติ: การวัดการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมอนามัย. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

นพพงษ์ บุญจิตราดุล (2557). หลักการและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. นนทบุรี : ดีรณสาร.

ยงยุทธ์ เกษสาคร (2547). การวางแผนและนโยบายทางด้านทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

จักร อินทจักร และเกรียงไกร เจียมบุญศรี (2548). คู่มือการบริหารทรัพยากรบุคคล. กรุงเทพมหานคร: มีวงษ์พับลิซซึ่ง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31

How to Cite

พระครูสุวรรณจันทนิวิฐ. (2022). พุทธรรมนำชีวิต: การสร้างแรงบันดาลใจในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากร. วารสาร นวพุทธศาสตร์, 1(2), 43–53. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMBS/article/view/1384