ศึกษาวิเคราะห์อัตลักษณ์ของชาวไทยทรงดำ
คำสำคัญ:
อัตลักษณ์, ไทยทรงดำ, ไทยทรงดำกับอัตลักษณ์บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มี วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิถีชีวิตชาวไทยทรงดำในจังหวัดเพชรบุรี และเพื่อวิเคราะห์วิถีชีวิตชาวไทยทรงดำตามหลักพระพุทธศาสนาในจังหวัดเพชรบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์ 1) การวิเคราะห์เชิงพรรณนา 2) การตีความหมาย และ 3) การสังเคราะห์ เกี่ยวกับศึกษาวิเคราะห์อัตลักษณ์ของชาวไทยทรงดำ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท เพื่อนำเสนอศึกษาวิเคราะห์อัตลักษณ์ของชาวไทยทรงดำ ผลการวิจัยพบว่า พิธีกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในกลุ่มพุทธศาสนิกชน บางพิธีก็รับความเชื่อมาจากศาสนาพราหมณ์เข้ามาเสริม, ส่วนใหญ่ได้มาจากอิทธิพลหรือคติทางศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู และพระพุทธศาสนา ผู้กระทำพิธีมักจะมีความเชื่อมั่นว่าสามารถนำไปสู่ความสำเร็จ, พุทธโบราณเชื่อกันว่าความผิดปกติทั้งหลายที่เกิดขึ้นและมิได้มาจากการกระทำของมนุษย์โดยตรงแล้วถือว่าเป็นการกระทำของผีหรือวิญญาณต่าง ๆ และเหตุผลทางด้านจิตใจ ต้องการให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยเพิ่มความเชื่อมั่นในการดำเนินชีวิตประจำวันของตน และระบบความเชื่อและศาสนาที่พบในสังคมล่าสัตว์ เป็นรูปแบบพื้นฐานสุดของศาสนา แต่ละชนเผ่ามีสัตว์หรือพืชเป็นสัญญาลักษณ์ประจำกลุ่ม, หลักธรรมที่ปรากฏในหลักฐานทางโบราณคดีตามเส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของชาวไทยทรงดำ คือธรรมจักร เป็นสัญลักษณ์แสดงความเป็นพุทธศาสนาในอดีต, และธงฉัพพรรณรังสี เป็นธงแห่งพระพุทธศาสนาระหว่างชาติ คำว่า “ฉัพพรรณรังสี” แปลว่า รัศมี 6 สี (พระรัศมี 6 สี) ซึ่งแผ่ออกจากพระวรกายของพระพุทธเจ้า นอกจากนี้วิถีชีวิตชาวไทยทรงดำส่วนใหญ่ถูกส่วนใหญ่จะมีความผูกพันอยู่กับความเชื่อในเรื่องผีและขวัญ เป็นอันมาก เนื่องจากเชื่อว่าผีนั้นเป็นเทพยดาที่ให้ความคุ้มครองพิทักษ์รักษา ซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อในสมัยปัจจุบัน ประกอบด้วย 1) ความเชื่อว่า การให้ทานมีผล การบวงสรวงมีผล การบูชามีผล ผลวิบากของกรรมดีกรรมชั่วมี เป็นกรรมศรัทธา เชื่อกรรม เป็นวิบากศรัทธา 2) ความเชื่อ ความเห็นว่า มารดามีคุณ บิดามีคุณ โลกหน้ามีโลกนี้มี สัตว์ที่ตายไปแล้วเกิดมีอยู่ ในแง่ของศรัทธา เป็นตถาคตโพธิสัทธา และ 3) ความเชื่อ ความเห็นว่า สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปชอบปฏิบัติโดยชอบ ทำให้โลกนี้และโลกหน้าให้แจ่มแจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนบุคคลอื่นให้รู้ตามมีอยู่
References
กานต์ทิตา สีหมากสุก (2558). “วิเคราะห์ปัจจัยการดำรงอยู่และการเปลี่ยนแปลงความเชื่อในพิธีกรรมของไทยทรงดำ : กรณีศึกษาเขตตำบลหนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี”. วิทยานิพนธ์การศึกษาตามปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ทวี ธีระวงศ์เสรี (2517). สถานภาพทางกฎหมายของชาวจีนในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
ธรรมะไทย (2565). การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ลาว. สืบค้นข้อมูลจาก http://www.dham mathai.org/ thailand/missionary/laos.php.
บุญนาค วิเชียรรัตนพงษ์ (2563). “การศึกษาอัตลักษณ์ของชุมชนไทยทรงดำตามหลักพระพุทธศาสนาในตำบลบ้านดอน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
พิเชฐ สายพันธ์ (2561). พลวัตในจักรวาลทัศน์และโลกทัศน์ของลาวโซ่ง/ไทดำจากพิธีกรรมความตาย. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
มูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการศึกษาและสิ่งแวดล้อม (2565). ไทยทรงดำ: วัฒนธรรมด้านภาษาท้องถิ่น. สืบค้นข้อมูลจาก https://ipf.or.th/?p=237
เรือนชูอร (2565). การเผยแผ่พระพุทธศาสนา. สืบค้นข้อมูลจาก https://nooornchurue.word press.com/2013/09/11/
สมทรง บุรุษพัฒน์ (2540). สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์: ไทโซ่. นครปฐม: สํานักงานวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชียอาคเนย์ สถาบันวิจัยและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสมุทรสาคร (มปป.). สมุทรสาคร สายน้ำวัฒนธรรมแห่งชาติพันธุ์. บรรณาธิการ.
สุมน อมรวิวัฒน์ (2538). ความคิดและภูมิปัญญาไทยด้านการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุมิตร ปิติพัฒน์ (2540). ลาวโซ่ง: พลวัตของระบบวัฒนธรรมในรอบสองศตวรรษ. กรุงเทพมหานคร: คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อภิญวัฒน์ โพธิ์สาน (2552). สารัตถะคติความเชื่อและพิธีกรรมลาวโซ่ง. มหาสารคาม: หจก.อภิชาติการพิมพ์.
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.