ศึกษาวิเคราะห์หลักสัมมาวาจาเพื่อประยุกต์ใช้ในสถานศึกษา
คำสำคัญ:
หลักสัมมาวาจา, การประยุกต์ใช้ในสถานศึกษา, สัมวาจากับสถานศึกษาบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มี วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหลักสัมมาวาจาในคัมภีร์พระพุทธศาสนา และเพื่อวิเคราะห์หลักสัมมาวาจาเพื่อประยุกต์ใช้ในสถานศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์ 1) การวิเคราะห์เชิงพรรณนา 2) การตีความหมาย และ 3) การสังเคราะห์ เกี่ยวกับศึกษาวิเคราะห์หลักสัมมาวาจาเพื่อประยุกต์ใช้ในสถานศึกษา โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท เพื่อนำเสนอการวิเคราะห์หลักสัมมาวาจาเพื่อประยุกต์ใช้ในสถานศึกษา ผลการวิจัย พบว่า 1. การนำหลักสัมมาวาจามาใช้ในการประยุกต์กับสถานศึกษา ต้องเข้าใจว่า สังคมมนุษย์เป็นสังคมที่สื่อสารกันด้วยวาจา วาจาจึงเป็นเครื่องมือที่ทําให้มนุษย์เข้าใจความต้องการและความรู้สึกของกันและกัน ประกอบด้วย 1) การพูดจริง ดํารงคําสัตย์ สืบทอดคําสัตย์ไว้ด้วยความจริง ความจริงใจในคําพูด มีความหนักแน่นมั่นคง เพราะตระหนักว่า คนเราจะมีเกียรติได้เพราะความสัตย์ 2) การพูดคําที่ทําให้เกิดความสามัคคี เป็นคําพูดที่สร้างสรรค์ พูดสมานคนที่แตกกัน ในที่นี้คือ ปิยวาจา การเจรจาถ้อยคําที่น่ารักไพเราะอ่อนหวาน 3) การกล่าววาจาที่ไม่มีโทษ ไพเราะหวาน วาจาสบายหู ไพเราะด้วยพยัญชนะ ไม่เกิดแสลงหูดุจเข็มแทงหู ไม่ทําให้เกิดความโกรธ ให้เกิดความรักไปทั่วเพราะไพเราะ 4) พูดพอประมาณ พูดถูกกาล เพราะพูดถูกกาลอันควร คือพูดตามกําหนดกาลที่ควรพูด เพราะพูดจริงแท้ตามความจริง ผู้พูดมีสติในการพูด คิดก่อนพูด 2. ความสัมพันธ์ระหว่างเกี่ยวกับสถานศึกษาและ หลักสัมมาวาจาในคัมภีร์พระพุทธศาสนา มีขึ้นเพื่อประโยชน์สุขแก่ชนจำนวนมาก หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว ได้ทรงจาริกไปเพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชน ส่วนสถานศึกษาที่มีต่อหลักสัมมาวาจาในคัมภีร์พระพุทธศาสนานั้น เน้นการทำงานให้สำเร็จโดยอาศัยคนอื่นโดบใช้หลักสัมมาวาจาจะยึดเป้าหมาย คือ คุณภาพการศึกษาของนักเรียนโดยมีงานวิชาการเป็นหลัก งานวิชาการเป็นงานที่สำคัญที่สุดในการที่จะทำให้นักเรียนบรรลุจุดหมายที่กำหนดไว้ในหลักสูตร เป็นต้น
References
ฉวีวรรณ สุวรรณาภาและคณะ (2547). “ความพึงพอใจของนิสิตต่อการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู”. รายงานการวิจัย. แพร่: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่.
ธนัชกร กีรติเสถียร (2550). “ศึกษาการใช้วาจาเพื่อการสร้างสรรค์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ธรณิศวร์ จิตขวัญ (2542). “ความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจัดหวัดนนทบุรี”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ประสาน- ทิพวรรณ หอมพูล (2537). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร : พิศิษฐ์การพิมพ์.
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (2565). เด็กและเยาวชน จะได้อะไรจากแผนพัฒนาฉบับที่ 12: สื่ออิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม. สืบค้นข้อมูลจาก http://planning.dld.go.th/th/ images/ stories/section-5/2561/strategy09.pdf.
พระธรรมปิฎก (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (2549). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.
พระธรรมปิฎก (2552). เครื่องวัดความเจริญ ของชาวพุทธ (อารยวัฑฒิ). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สหธรรมิก.
พระธรรมปิฎก (2554). การเสริมสร้างคุณลักษณะเด็กไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.
พระพรหมคุณากรณ์ (2552). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสุรวุฒิ จนฺทธมฺโม (2557). “การศึกษาเรื่องสัมมาวาจาในพระพุทธปรัชญาเถรวาท”. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ (2539). ปรมัตถโชติกะ มหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา ปริจเฉทที่ 5 เล่ม 2 กัมมจตุกกะ-มรณุปปัตติจตุกกะ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ทิพยวิสุทธิ์.
สงวน สุทธิเลิศอรุณและคณะ (2522). จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพมหานคร : ชัยศิริการพิมพ์.
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต ดร. (2526). การปรับพฤติกรรม. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร.
สุภาวดี หาญเมธี (2558). EF ภูมิคุ้มกันชีวิตและป้องกันยาเสพติด คู่มือสำหรับเด็กอนุบาล. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์รักลูกบุ๊คส์.
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.