ภาวะผู้นำเชิงพุทธ: พระสังฆาธิการสู่แนวทางส่งเสริมการเป็นผู้นำยุคใหม่

ผู้แต่ง

  • วันไชย์ กิ่งแก้ว วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำเชิงพุทธ, พระสังฆาธิการ, การสร้างผู้นำยุคใหม่

บทคัดย่อ

โลกในศตวรรษที่ 21 เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในมิติต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเทคโนโลยี ประเทศไทยเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี สังคม และปัญหาภูมิอากาศ ทำให้องค์กรต่าง ๆ ต้องปรับตัวโดยมีผู้บริหารที่สามารถนำองค์กรผ่านความเปลี่ยนแปลง ภาวะผู้นำเชิงพุทธ เป็นแนวทางการบริหารที่ผสานหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ในด้านสติปัญญา ความดีงาม ความรู้ โดยการประยุกต์ใช้กระบวนการบริหาร POSDC เพื่อเสริมสร้างความสมดุลระหว่างองค์กรกับสังคม ผ่านวัฒนธรรมองค์กรเชิงพุทธที่มีคุณธรรม ความรับผิดชอบ ต่อสังคมปัจจุบัน บริบทพระสังฆาธิการเชิงพุทธมีความสำคัญในการปกครอง กับการพัฒนาวัดในมิติต่าง ๆ ในเรื่อง การปกครอง การศาสนศึกษา การเผยแผ่ศาสนธรรม และการสงเคราะห์ รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์กับคนในชุมชน โดยใช้หลักธรรมที่เกี่ยวการพัฒนาตนเอง การบริหารจัดการเสนาสนะ หรือการอนุเคราะห์คฤหัสถ์ การพัฒนาวัดแบบบูรณาการแบบนี้ถือว่าสร้างความร่วมมือระหว่างวัดกับชุมชน วัดจึงเป็นศูนย์กลางในการสร้างสังคมที่เจริญอย่างยิ่ง

References

กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 24. (2541). ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ หมวด 2 การแต่งตั้งพระสังฆาธิการ. แถลงการณ์คณะสงฆ์ เล่มที่ 86 ฉบับพิเศษ.

พงษ์เทพ สุขทนารักษ์. (2565). ความสำคัญของภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.gotoknow.org/posts/458910.

พระวิสุทธิภัทรธาดา. (2547). พระราชบัญญัติคณะสงฆ์และกฎมหาเถรสมาคม. กรุงเทพมหานคร:

โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสมศักดิ์ สุขทวีเลิศพงศ์ และวรเดช จันทรศร. (2561). ประสิทธิผลของการบริหารกิจการคณะสงฆ์.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (มกราคม - เมษายน): 153 -163.

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2556). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2546). ภาวะผู้นำ : ความสำคัญต่อการพัฒนาคน พัฒนาประเทศ. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กองพุทธศาสนสถาน. (2563). คู่มือการประเมินมาตรฐานการพัฒนาวัด. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สุรเชษฐ์ หิรัญสถิต. สิทธิชัย แสงนิล และสุกัญญา แช่มช้อย. (2019). การส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำของประเทศญี่ปุ่น. Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences. Vol.3 No.1 (January-March): 1-24.

Koontz Harold D. and Cyril O’Donnell. (1975). Principles of Management: An Analysis of Managerial Functions. New York: McGraw–Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30

How to Cite

วันไชย์ กิ่งแก้ว. (2022). ภาวะผู้นำเชิงพุทธ: พระสังฆาธิการสู่แนวทางส่งเสริมการเป็นผู้นำยุคใหม่. วารสาร นวพุทธศาสตร์, 1(1), 52–60. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMBS/article/view/1378