มรดกพุทธศิลป์ทวารวดี: การแสดงออกทางศิลปะและวัฒนธรรมในยุคโบราณ
คำสำคัญ:
มรดก, พุทธศิลป์, ทวารวดี, ศิลปะและวัฒนธรรมบทคัดย่อ
บทความนี้ศึกษาความหมายคำว่า “ทวารวดี” ซึ่งมีรากศัพท์จากภาษาสันสกฤต “ทวารกะ” หมายถึง “ปากประตู” หรือ “ทางเข้า” เชื่อมโยงกับตำนานเมืองศักดิ์สิทธิ์ที่พระกฤษณะทรงสร้างขึ้นในแคว้นคุชราต คำนี้ถูกนำมาใช้โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในการกำหนดอายุโบราณวัตถุและโบราณสถานสมัยศิลปะคุปตะ หลังคุปตะ และปาละ-เสนะ นอกจากนี้ยังวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ช่วงพุทธศตวรรษที่ 6-9 ชุมชนในลุ่มน้ำป่าสักและลุ่มน้ำเลยมีการติดต่อค้าขายกับพ่อค้าต่างชาติ ส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมผ่านเส้นทางคมนาคมโบราณ หลักฐานสำคัญที่แสดงถึงการแลกเปลี่ยนนี้ ได้แก่ ลูกปัด เครื่องถ้วย และใบเสมาหินแบบทวารวดีที่มีความเชื่อมโยงกับศิลปกรรมในภูมิภาค นักวิชาการสันนิษฐานว่าใบเสมาหินนอกจากแสดงขอบเขตทางศาสนา มีคติความเชื่อทางศาสนาและการทำบุญ ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลของพระพุทธศาสนาเถรวาทและมหายาน รวมถึงลัทธิพราหมณ์ในสมัยนั้น สะท้อนผ่านโบราณวัตถุที่ค้นพบ การผสมผสานทางวัฒนธรรมนี้จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างอัตลักษณ์และมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
References
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (2551). ตำนานพุทธเจดีย์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา.
กรมศิลปากร (2509). โบราณวิทยาเมืองอู่ทอง. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร.
วัชรินทร์ บัวจันทร์ (2561). “ศึกษาเรื่องแดนแห่งพลังศรัทธา”. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม).
พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ และคณะ (2555). อาณาจักรทวารวดี. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เพื่อนเรียนเด็กไทย จำกัด.
บัญชา พงษ์พานิช และ คณะ (2557). จากอินเดียถึงไทย: รอยทางพระพุทธศาสนาแรกๆ. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย: สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สุจิตต์ วงษ์เทศ (2567). เมืองศรีเทพ ‘บรรพชน’ ประเทศไทย. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www. msn.com/th-th/news/national/.
ปรีชา ขันทนันต์ (2567). พุทธศิลป์, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.gotoknow.org/posts/548679.
บัณฑิต ลิ่วชัยชาญ และคณะ (2553). “การประดิษฐานพระพุทธศาสนาจากลังกาทวีปในดินแดนประเทศไทยสมัยวัฒนธรรมทวารวดี”. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สมาพันธ์ จำกัด.
นงเยาว์ ชาญณรงค์ (2549). วัฒนธรรมและศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
ธรรมะไทย (2567), พระวิหารที่ประทับของพระพุทธเจ้า. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.dhammathai.org/buddha/g43.php.
คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (2540). สํานักงานศิลปะนแห่งชาติ 2539. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (2567). วัฒนธรรม. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/.
วีระ บํารุงรักษ์ (2567). กลุ่มประชาสัมพันธ์ สํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม. ความหมาย แนวคิดและประเด็นที่เกี่ยวกับ “วัฒนธรรม”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:http://www.openbase.in.th/node/ 5954.
White, Why Community Paticipation? A Discussion of the Argumentes. Community Paticipation: Current Issue and Lesson Learned, (New York: United Nations Children'S Fund, 1982).
Baptiste, P. (2012). Dvaravati: The earliest kingdom of Siam. River Books.
Higham, C. (2014). Early Thailand: From prehistoric to Sukhothai. River Books.
Indrawooth, P. (2004). The archaeology of the early Buddhist kingdoms of Thailand. Asian Perspectives, 43(2), 255–280.
Welch, S. (1967). The Dvaravati civilization of Southeast Asia. Artibus Asiae, 29(1), 59–80.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสาร นวพุทธศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.