วิเคราะห์โพชฌงค์ 7 เพื่อการรู้แจ้งธรรม

Main Article Content

พระทวีวัฒน์ จิรวํโส (ธนธีระเศรษฐ์)

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิคราะห์โพชฌงค์ในฐานะเป็นองค์แห่งการตรัสรู้ และการปฏิบัติซึ่งทำให้เกิดวิชชาและวิมุตติ  โพชฌงค์มีลักษณะไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต  บุคคลที่เจริญโพชฌงค์มากย่อมทำให้แจ้งวิชชาและวิมุตติได้ คุณค่าของโพชฌงค์เป็นธรรมภาคปฏิบัติที่นำให้ถึงอริยมรรคญาณระดับสูง ซึ่งต้องอาศัยเหตุปัจจัยที่เป็นเครื่องเกื้อหนุนส่งทอดกันมาตามลำดับ ส่วนการวิเคราะห์โพชฌงค์เพื่อการรู้แจ้งธรรมโดยผู้ปฏิบัติต้องมีสติระลึกได้รู้ตนตลอดเวลา ชื่อว่า มีสติสัมโพชฌงค์ การวิจัย เลือกสรร พิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญาชื่อว่า มีธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ความเพียร ความไม่ย่อหย่อน พิจารณาธรรมต่อเนื่องด้วยปัญญาชื่อว่า มีวิริยสัมโพชฌงค์ ปีติอันปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ผู้มีความเพียรที่ปรารภแล้วชื่อว่า มีปีติสัมโพชฌงค์ กายและจิตของผู้มีปีติ ย่อมสงบระงับ เพราะระงับความกระวนกระวายทางกาย และทางจิตชื่อว่า มีปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ จิตของผู้มีกายสงบระงับแล้ว มีความสุขที่ตั้งมั่นไว้โดยชอบ ชื่อว่า สมาธิสัมโพชฌงค์ จิตของผู้เพ่งพิจารณาตั้งมั่นอย่างนั้นเป็นผู้วางเฉยในสิ่งต่างๆ ที่เข้ามากระทบชื่อว่า มีอุเบกขาสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ทั้ง 7 นี้ถ้าบุคคลประพฤติปฏิบัติตามอย่างครบถ้วนย่อมเป็นไปเพื่อการรู้แจ้งธรรม

Article Details

How to Cite
ธนธีระเศรษฐ์ พ. . จ. (2024). วิเคราะห์โพชฌงค์ 7 เพื่อการรู้แจ้งธรรม. วารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์, 2(1), 98–114. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/NVKS/article/view/1171
บท
บทความวิชาการ

References

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณ

ราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2539.

ณัฏฐจิตต เลาหวีระ. “ศึกษาการพัฒนาอินทรียในอินทริยภาวนาสูตร”. วิทยานิพนธพุทธศาสตร

มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2554.

พระกัมมัฏฐานาจริยะ พระปณฑิตาภิวงศ. รูแจงในชาตินี้. พิมพครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ

บริษัท สหธรรมิก จํากัด. 2550.

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ). ตามรอยพระอรหันต์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ธรรมสภา.

พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ). วิปสสนากรรมฐาน. กรุงเทพมหานคร: บริษัท

ประยูรวงศพริ้นทติ้ง จำกัด. 2553.

พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก าณสิทฺธิ). วิปสสนากรรมฐาน ภาค 2 วาดวย มหาสติปฏฐาน.

กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพสหธรรมิก จำกัด. 2548.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 15.

กรุงเทพมหานคร :บริษัทสหธรรมิก จำกัด. 2552.

พระพุทธโฆสเถระ. คัมภีร์วิสุทธิมรรค. แปลและเรียบเรียงโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์

(อาจอาสภมหาเถร). พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ บริษัท ธนาเพรส จำกัด.

พระพุทธโฆสเถระ. คัมภีร์วิสุทธิมรรค.แปลและเรียบเรียงสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจอาสภมหาเถร).

พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ประยูรวงศ์พริ้นติ้ง จำกัด. 2547.

พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ). วิปสสนานัย. แปลโดย พระคันธสาราภิวงศ กรุงเทพมหานคร :

ประยูรสาสานการพิมพ์. 2555.

สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก. สัมมาทิฏฐิ. เชียงใหม:

โรงพิมพ์นันทพันธ์. 2554.