วารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์ https://so11.tci-thaijo.org/index.php/NVKS <p><strong>วารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์ </strong>วารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์รับตีพิมพ์บทความทางวิชาการและบทความวิจัยในสาขาที่เกี่ยวกับการสนับสนุนการศึกษา เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา มนุษย์วิทยา ศาสนาศึกษา และพุทธศาสนาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือการประยุกต์พุทธศาสนากับสาขาวิชาอื่น เช่น เศรษฐศาสตร์ การบริหารสังคม สิ่งแวดล้อม และการศึกษา บทความทั้งหมดจะต้องเกี่ยวข้องกับการศึกษาการสอนและการวิจัยของพุทธศาสนา</p> th-TH <p> เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น </p> acting.lt.theethawat@gmail.com (พระศรีสุทธิเวที, ผศ.ดร.) acting.lt.theethawat@gmail.com (ว่าที่ ร.ท. ดร. ธีร์ธวัช ภูมิประมาณ) Tue, 24 Jun 2025 09:18:22 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพัฒนาวิธีปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในสังคมไทยเพื่อนำสู่ผลสัมฤทธิ์แบบซอฟพาวเวอร์ https://so11.tci-thaijo.org/index.php/NVKS/article/view/2015 <p>บทความวิจัยเรื่อง “การพัฒนาวิธีปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในสังคมไทยเพื่อนำสู่ผลสัมฤทธิ์แบบซอฟพาวเวอร์” นี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเชิงวิเคราะห์วิธีการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในสังคมไทย เพื่อเปรียบเทียบวิธีการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในสังคมไทย และเพื่อพัฒนาวิธีการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในสังคมไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ&nbsp; โดยการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเอกสารด้วยเทคนิค 6’Cs และวิจัยภาคสนาม (Field Research) ด้วยการลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึก (Individual depth interview) กับพระวิปัสสนาจารย์ และนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา จำนวน 8 รูป/ท่าน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลแบบสามเส้า</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 1) วิธีการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในสังคมไทย มี 5 สาย คือ 1. สายพุทโธ ใชัคำบริกรรมพุทโธ ควบคู่ไปลมหายใจ&nbsp; 2. สายพองยุบ ใช้สติระลึกรู้ที่อาการเคลื่อนไหวของท้อง 3. สายรูปนามใช้สติตามระลึกรู้ลักษณะอาการต่างๆ 4. สายสัมมาอะระหังใช้การเพ่งแสงสว่างและภาพนิมิต และ 5. สายอานาปานสติใช้การเจริญสติระลึกรู้ที่ลมหายใจเข้าออก</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 2) สายพุทโธ และสายสัมมาอะระหัง เป็นวิธีการปฏิบัติแบบสมถภาวนา ส่วนสายอานาปานสติ และสายพองยุบ เบื้องต้นเป็นวิธีการปฏิบัติสมถภาวนาและเบื้องปลายเป็นวิธีการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา&nbsp; ส่วนสายรูปนาม เป็นวิธีการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ทุกสายเป็นสติปัฏฐาน และได้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามลำดับ</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 3) การพัฒนาวิธีปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาของสำนักปฏิบัติธรรมในสังคมไทย โดยใช้หลักการของการมีสติระลึกรู้ในทุกๆ อิริยาบถ และ เป็นผู้เจริญสติอย่างต่อเนื่องจนเกิดวิปัสสนาปัญญาจนถึงขั้นบรรลุมรรค ผล นิพพาน</p> พระครูปลัดสัมพิพัฒน์ธรรมาจารย์ (นิรันดร์ อภิปุญฺโญ), พระภาวนาพิศาลเมธี (ประเสริฐ มนฺตเสวี), พระครูพิบูลกิจจารักษ์ (ทองมาก) ดร., พระครูวินัยธร ชัยวัตร อาภาธโร, , ดร. ศรินรัตน์ ชิตะธรรมสิทธิ์ Copyright (c) 2025 วารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so11.tci-thaijo.org/index.php/NVKS/article/view/2015 Tue, 24 Jun 2025 00:00:00 +0700 วิเคราะห์คัมภีร์กัจจายนะ https://so11.tci-thaijo.org/index.php/NVKS/article/view/2091 <p> <span class="fontstyle0">บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง คัมภีร์กัจจายนะ: การแปล และ การวิเคราะห์กล่าวคือ คัมภีร์กัจจายนะ เป็นคัมภีร์อธิบายขยายความไวยากรณ์ พระวิชิตาวีเถระเป็นผู้ แต่งขณะพำนักอยู่วัดอภยศิริ แต่งอธิบายไวยากรณ์ใน 6 หัวข้อคือ ตอนว่าด้วยสนธิกัป ตอนว่าด้วย นามกัป ตอนว่าด้วยอาขยาตกัป ตอนว่าด้วยกิพพิธานกัป ตอนว่าด้วยอุณาทิกัป และตอนว่าด้วยนิคม คาถา มีลักษณะการประพันธ์แบบร้อยแก้ว คือ การดำเนินเรื่องแบบธรรมดา และแบบร้อยกรอง คือ การดำเนินเรื่องในรูปแบบคาถา ท่านได้แต่งคัมภีร์โดยใช้นามศัพท์ ใช้กิริยาศัพท์ และใช้อัพพยศัพท์ได้ อย่างถูกต้องตามหลักภาษาและหลักไวยากรณ์</span> </p> รศ.ดร.วิโรจน์ คุ้มครอง, ว่าที่ ร.ท. ดร.ธีร์ธวัช ภูมิประมาณ Copyright (c) 2025 วารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so11.tci-thaijo.org/index.php/NVKS/article/view/2091 Tue, 24 Jun 2025 00:00:00 +0700