การเจริญวิปัสสนาเพื่อความสิ้นกรรมด้วยการบรรลุวิชชา 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
กาบรรลุวิชชา 3 ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท หมายถึง การปฏิบัติเพื่อความรู้แจ้งพิเศษ 3 อย่าง ซึ่งจัดเป็นญาณทัสสนะ ได้แก่ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ ปัญญารู้แจ้งในการระลึกชาติก่อนได้ จุตูปปาตญาณ คือ ปัญญารู้แจ้งจุติ-อุบัติของเหล่าสัตว์เป็นไปตามกรรม และอาสวักขยญาณ คือ ปัญญารู้แจ้งธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย พระสังคีติกาจารย์ได้รวบรวมวิชชา 3 ไว้หลายแห่งในพระไตรปิฎก พบมากในพระสูตร มีปรากฎกว่า 30 สูตร ซึ่งจะประกอบด้วยธรรมะส่วนต้นแล้วจึงแสดงต่อด้วยวิชชาทั้ง 3 ธรรมช่วงต้นที่พบมากที่สุด ได้แก่ กำจัดนิวรณ์ 5 และการเจริญรูปฌาน 4 แล้วจึงเข้าสู่การแสดงวิชชา ที่ 1 และ 2 ในส่วนของวิชชาที่ 3 อาสวักขยญาณ มีการแสดงไว้หลายแบบ แต่กล่าวถึงการรู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจ 4 เป็นส่วนมาก เมื่อบรรลุอรหัตตผลจะเรียกว่า พระอรหันต์เตวิชโช เป็นการเจริญวิปัสสนาแบบสมถยานิก ซึ่งการเจริญในวิชชาที่ 1 และ 2 จัดเป็นสมถะ ที่ต้องเจริญสมาธิถึงรูปฌาน 4 เพื่อเป็นบาทให้อภิญญาจิต เมื่อยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาในวิชชาที่ 3 จะเข้าสู่พลวอุทยัพพยญาณ ดำเนินไปตามลำดับแห่งวิปัสสนาญาณ 9 ตัดอาสวะและสังโยชน์เข้าสู่ความสิ้นกรรม
การเจริญวิปัสสนาเพื่อความสิ้นกรรมด้วยการบรรลุวิชชา 3 เมื่อวิเคราะห์หลักธรรมเกี่ยวกับกรรมและความสิ้นกรรม มี 2 ระดับ คือ ระดับศีลธรรม หรือปฏิจจสมุปบาทข้ามภพชาติ และระดับสัจจธรรม เป็นปรมัตถธรรม หรือปฏิจจสมุปบาทจิตดวงเดียวที่เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมโดยตรง ด้วยการเจริญวิปัสสนากำหนดรู้รูปนามปัจจุบัน เรียกว่า กรรมไม่ดำไม่ขาว เพื่อตัดวงจรกฎแห่งกรรม การปฏิบัติจะดำเนินไปตามอริยมรรคมีองค์ 8 ว่าโดยย่อคือ ไตรสิกขา จนสามารถรู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจ 4 ในที่สุด นี้เป็นปฏิปทาเพื่อความสิ้นกรรมตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ การนำไปใช้สำหรับนักปฏิบัติ ให้ตระหนักถึงสภาพธรรมที่เกิดขึ้น ไม่ยึดติดในคุณวิเศษที่พบ แม้จะย้อนอดีต เห็นกรรมสัมพันธ์ต่าง ๆ เพราะจะเนิ่นช้าต่อวิปัสสนา ให้ตามรู้ด้วยปัญญาที่เห็นตามจริง ส่วนการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันด้วยการเพิ่มกุศลจิต โดยเน้นตัวสติเท่าทันปัจจุบันไปทุกขณะ ๆ จะสะสมจนเกิดเป็นวิปัสสนาปัญญา เข้าสู่ความรู้แจ้งในสภาพปรมัตถธรรม เป็นเหตุปัจจัยสู่ความสิ้นกรรม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
พระธรรมบาลเถระ. เนตติอรรถกถา. แปลโดย พระคันธสาราภิวงศ์. นครปฐม: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซีเอไอเซ็นเตอร์, 2551.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จันทร์เพ็ญ, 2552.
พระมหาวีระ ถาวรโร. คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน. อุทัยธานี: วัดท่าซุง, ม.ป.ป.
พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ. ปรมัตถโชติกะ ปริจเฉทที่ 4 วิถีสังคหะ. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: ทิพยวิสุทธิ์, 2553.
พุทธทาสภิกขุ. อิทัปปัจจยตา. กรุงเทพมหานคร: การพิมพ์พระนคร, 2516.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
________. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2535.