การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมชุมชนและท้องถิ่น กรณีศึกษา ประเพณีชักพระตักบาตรเทโว จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
การเรียนรู้แบบชุมขน , ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น , ประเพณีชักพระบทคัดย่อ
ประเพณีชักพระหรือลากพระของชาวจังหวัดสงขลานั้นเกิดขึ้นมานานตั้งแต่สมัยศรีวิชัยตามจดหมายเหตุของภิกษุจี้อิง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความงดงามของศิลปะ ประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของชาวบ้านที่ยึดถือ ปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงความศรัทธาเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชน และภูมิปัญญาเชิงท้องถิ่นได้อีกด้วย
บทความวิชาการนี้ ผู้เขียนจะนำเสนอสภาพปัจจุบันของแหล่งเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมของประเพณีชักพระตักบาตรเทโว จังหวัดสงขลา แบ่งเป็น 3 องค์ประกอบดังนี้ 1) ด้านวัตถุประสงค์ 2) ด้านแหล่งการเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรม และ 3) ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรม ผลลัพธ์จากอดีตจนถึงปัจจุบันผ่านการสร้างสรรค์ สะสม และสร้างต้นทุนใหม่ทางวัฒนธรรม พัฒนาสังคมให้เกิดคุณประโยชน์ต่อชาติทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ให้ก้าวทันต่อความเปลี่ยนแปลงและแสดงความเป็นตัวตนในด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณีชักพระจึงเป็นการสืบทอดวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนในชุมชนที่มีความเชื่อมโยงกับพุทธศาสนา การจัดพิธีชักพระจึงไม่เพียงแต่เป็นกิจกรรมที่ให้ความบันเทิงแก่ประชาชน แต่ยังเป็นการแสดงออกถึงความเคารพและศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา รวมถึงการส่งเสริมความสามัคคีในชุมชนและการปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวันของจังหวัดสงขลาตลอดไป โดยองค์ความรู้จากบทความนี้จะส่งผลให้พุทธศาสนิกชนชาวสงขลา ผู้ที่สนใจ หรือชาวพุทธในประเทศไทยทั่วไปได้ทราบถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมในประเพณีชักพระตักบาตรเทโว จังหวัดสงขลา ทำให้เกิดความประทับใจในมรดกทางวัฒนธรรมที่ได้พบ อีกทั้งยังเป็นฐานการเรียนรู้นอกห้องเรียนร่วมกันระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน (บวร) และชุมชนที่จะส่งเสริมให้เกิดการเห็นคุณค่าซึ่งจะพัฒนาไปเป็นการรวมพลังในการสืบสานอนุรักษ์ต่อไป
References
Butsarakul, T. (2023). Community Lifelong Learning Management to Create a Learning Community. Journal of Management and Local Innovation, 5(7), 448-463.
Chaowarakul, J. (2021). Analysis of Knowledge Management Components of Local Wisdom of Educational Institutions in Phra Nakhon Si Ayutthaya Primary Educational Service Area. Rajapark Journal, 15(40), 214-226.
Jensantikul, N. (2021). Community-Based Learning Process: Reflections on Experience and Learning. Journal of Humanities and Social Sciences Mahamakut Buddhist University Isan Campus, 2(3), 78-85
Malakunto, P. (2022). The Guideline to Rehabilitation and Conservation of Chak Phra Tradition in Area of Nakhon Songkhla Municipality. Thesis, Master of Arts (Social Development), Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Nunart, N. (2017). Local Wisdom as the Value of Life and Culture for Sustainable Education. Social Sciences Research and Academic Journal, 12(34), 17-26.
Phumisiripaiboon, S. (1998). Study of making Buddhist monk boats in Songkhla Province. Thaksin University, Songkhla Province
Rittikoop, W. (2018). Community-Based Learning: Effective Pedagogy Strategies for Teachers in the 21st Century. Graduate School Journal Chiang Rai Rajabhat University, 11(3), 179-191.
Rueangsrt, W. (2022). Uniting the volunteer spirits to continue the Buddhist Art of “Ruea Phra” Southern culture traditions of Khuansuban temple Khuansuban sub-district, Nasan district, Suratthani province. Journal of Social Science Development, 5(2), 1-19.
Srichan, T., & Kosolkittiamporn, S. (2023). 20 years of national strategy for the development of Thailand. Journal of Modern Learning Development, 8(1), 413-435.
Songkhla Provincial Hall. (2022). Buddha boats from various temples In Songkhla Province, the procession moves in a grand and spectacular way, continuing the good cultural heritage in the 2022 Buddhist Monk Drag and Alms Giving Festival. Activity news.
https://www.songkhla.go.th/news/detail/7733
Thaenkaew, B. (2004). Buddhist traditions and rituals. Odeon Store.
Thongchap, R., & Kamhom, N. (2021). ChakPhra Tradition: Integration to Promote Learning Management in Social Studies Subjects religion and culture Ban Khlong Khut School Satun Primary Educational Service Area Office. Journal of Roi Kaensarn
Academi, 7(1), 253-272
Tunyaboontrakun, P. (2017). Enhance art and culture awareness by Place-based Art Education. Veridian E-Journal Silpakorn University Humanities, Social Sciences, and Arts, 10(3), 2732-2749.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
License
Copyright (c) 2025 วารสารสังคมศึกษาปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.