การจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (RBL) ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาพัฒนาทักษะชีวิต ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.1) สาขาช่างไฟฟ้า วิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • พงสุวัฒน์ เสริมศิริกาญจนา วิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก

คำสำคัญ:

ทักษะชีวิต , ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, วิจัยเป็นฐาน

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1).เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.1) สาขาช่างไฟฟ้า 2).เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างกลุ่มที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานกับการเรียนปกติ 3).เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน เป็นวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.1) สาขาช่างไฟฟ้า วิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก จำนวน 40 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้กลุ่มเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบทดสอบ 2) แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย (equation) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ t-test Independent ผลการวิจัยพบว่า

  1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน วิชา วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต โดยภาพรวมมีค่าเท่ากับ 86.18/83.32
  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนวิชา วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต รหัส 20000-1301 ที่เรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐานหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
  3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน วิชา วิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต รหัส 20000-1301 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (equation= 4.38, S.D. =0.46)

 องค์ความรู้/ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้

  1. ก่อนดำเนินการสอนโดยการใช้วิจัยเป็นฐานผู้สอนต้องศึกษาวิเคราะห์หลักสูตร จุดประสงค์รายวิชา สมรรถนะรายวิชา คำอธิบายรายวิชาที่จะนำมาสอนให้เข้าใจ
  2. ผู้สอนควรมีการศึกษาในเรื่องของสื่อและนวัตกรรมในการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐานให้เข้าใจเห็นจุดอ่อน จุดเด่นของงานวิจัยเพื่อที่จะได้ให้ข้อเสนอแนะแก่นักเรียนได้อย่างดี

References

Arifin, Z., Hanafi, I., & Mukti, A. (2022). Research-based learning strategies in vocational education for 21st-century skills development. International Journal of Educational Learning Systems, 10(3), 45-60.

Dahalan, F., Alias, N., & Shaharom, M. S. N. (2024). Gamification and game-based learning for vocational education and training: A systematic literature review. Education and Information Technologies, 29, 1279–1317.

Dewi, R. S., & Primayana, K. H. (2022). Problem-based blended learning models in vocational education: A literature review. International Journal of Information and Education Technology, 13(12), 2011–2018.

Gao, L., Xu, D., & Li, Y. (2023). Collaborative learning and critical thinking enhancement through research-based learning. Educational Research Review, 18(4), 112-128.

Hanif, M., et al. (2021). The project-based learning management process for vocational and technical education in Thailand. Higher Education Studies, 11(2), 25–35.

Jang, S., Nguyen, D., & Wong, T. (2023). Integrating AI tools into RBL for personalized learning. AI in Education, 10(3), 157–167.

Nguyen, T. H., & Linh, D. (2023). Creativity in RBL: Evidence from STEM education. Educational Research Review, 15, 98–110.

Pascual, L., & Ortiz, M. (2021). Real-world problem-solving through RBL. Learning Environments Research, 24(4), 377–391.

Ruiz-Martín, A., González-Martín, M. C., & Morales-Bueno, P. (2024). Enhancing academic achievement through cognitive research-supported techniques in education. Cognitive Research: Principles and Implications, 9(1), 123-140.

Singh, R., et al. (2022). Research-based learning in EFL classrooms. Journal of Language Teaching, 16(7), 354–367.

Singcharoern, T. (2000). The satisfaction of Grade 7 students at Wang Klai Kangwon School And RajaprajanugrohSchool under Royal Patronage with the satellite-based distance learning method. Bangkok: Ramkhamhaeng University.

Suwattana, S. (2021). Book Title. Bangkok: Example Publisher.

Sharma, P., Mehta, A., & Roy, K. (2023). Research-based learning and its impact on academic satisfaction in health sciences. Asia-Pacific Education Researcher, 12(2), 210-225.

Zhou, H., Li, X., & Tang, Y. (2024). Decision-making models in evaluating RBL outcomes. Journal of Educational Psychology, 22(5),

–472.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

16-02-2025

How to Cite

เสริมศิริกาญจนา พ. (2025). การจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (RBL) ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาพัฒนาทักษะชีวิต ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.1) สาขาช่างไฟฟ้า วิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก. วารสารสังคมศึกษาปริทรรศน์, 1(2), 1–9. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/J_SSR/article/view/1137