การพัฒนากฎหมายเฉพาะด้านการกำกับดูแลความปลอดภัย ของระบบโครงข่ายอัจฉริยะ

ผู้แต่ง

  • นายยงยศ กาญจนาโรจน์พันธ์ นักศึกษาปริญญาเอกหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขากฎหมาย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

โครงข่ายอัจฉริยะ, ความปลอดภัยทางไซเบอร์, กฎหมายพลังงาน, โครงสร้างพื้นฐานสำคัญ, การคุ้มครองข้อมูล

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันของกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลความปลอดภัยของระบบโครงข่ายอัจฉริยะในประเทศไทย (2) เปรียบเทียบกรอบกฎหมายและนโยบายด้านการกำกับดูแลความปลอดภัยของระบบโครงข่ายอัจฉริยะในต่างประเทศ (3) วิเคราะห์ช่องว่างทางกฎหมายและความท้าทายในการกำกับดูแลความปลอดภัยของระบบโครงข่ายอัจฉริยะในประเทศไทย (4) พัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและร่างกรอบกฎหมายที่เหมาะสมสำหรับการกำกับดูแลความปลอดภัยของระบบโครงข่ายอัจฉริยะในประเทศไทยผล

จากการศึกพบว่า การพัฒนากฎหมายเฉพาะด้านการกำกับดูแลความปลอดภัยของระบบโครงข่ายอัจฉริยะในประเทศไทยเผชิญกับความท้าทายหลายประการ อาทิ ความซับซ้อนของเทคโนโลยี การบูรณาการระหว่างหน่วยงาน ความสมดุลระหว่างการส่งเสริมนวัตกรรมและการคุ้มครองความปลอดภัย ดังนั้น ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ หรืิอ Smart Grid ยังเป็นอะไรที่ใหม่สำหรับประเทศไทย เนื่องจากส่วนใหญ่ยังไม่ได้มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย การวิเคราะห์แนวทางการพัฒนากรอบกฎหมายจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

ผู้ศึกษาจึงมีข้อเสนอแนะดังนี้ (1) ควรกำหนดนโยบายที่ชัดเจนในการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด รวมถึงการสนับสนุนพลังงานหมุนเวียน (2) ควรมีการทบทวนกฎหมายให้มีความทันสมัยและสอดคลองกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) (3) ควรส่งเสริมธุรกิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และ (4) ควรส่งเสริมการใช้พลังงานภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน เพื่อให้เกิดโครงการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดในพื้นที่ที่มีศักยภาพของพลังงานหมุนเวียนที่สามารถนำมาเป็นแหล่งพลังงานในกำรผลิตไฟฟ้า และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน

References

กระทรวงพลังงาน. (2558). แผนแม่บทการพัฒนา ระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศไทย พ.ศ. 2558-2579.

กระทรวงพลังงาน. (2562). สมาร์ทกริด. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2025, จาก https://thai-smartgrid. com/%E0%B9

บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน). (2567). Smart Grid โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ตอบโจทย์ครบในทุก ๆ ด้าน. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2025, จาก https://nt-metro-service.com/arti cle/tech-trend/smart-grid/

สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2568). “SMART GRID” ระบบโครงข่ายไฟฟ้าสิ่งแวดล้อม. เอกสารวิชาการอิเล็กทรอนิกส์ สำนักวิชาการ.

อุษา กัลลประวิทย์. (2566). นโยบายด้านพลังงานของสหรัฐอเมริกา. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2025, จาก https://www.oap.go.th/wpcontent/uploads/ 2023/01/america-energy.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-14

How to Cite

กาญจนาโรจน์พันธ์ ย. . (2025). การพัฒนากฎหมายเฉพาะด้านการกำกับดูแลความปลอดภัย ของระบบโครงข่ายอัจฉริยะ. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการบริหารงานยุติธรรม, 1(2), 77–91. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/JISSJA/article/view/1995