แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวอย่างปลอดภัย ในพื้นที่เกาะพะงัน อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศุภัทรชญา วีระกูล ผู้ช่วยศาสตราจารย์, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • ดร.วชิรวิชญ์ อิทธิธนาศุภวิชญ์

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, การมีส่วนร่วม, การจัดการท่องเที่ยว, ปลอดภัย, เกาะพะงัน

บทคัดย่อ

การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศไทยและขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะการจัดงานฟูลมูนปาร์ตี้ แต่สิ่งที่ประเทศไทยควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง คือ ด้านความมั่นคงปลอดภัยของนักท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นด้านที่มีคะแนนเกือบต่ำที่สุดในภูมิภาคอาเซียนเพราะเป็น องค์ประกอบสำคัญของคุณภาพการท่องเที่ยว ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ สถานการณ์การท่องเที่ยวที่ไม่ปลอดภัยในพื้นที่เกาะพะงัน เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การมีส่วนร่วมของผู้นํา ชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการจัดการท่องเที่ยวเพื่อความปลอดภัยในพื้นที่เกาะพะงัน และเพื่อเสนอแนว ทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวอย่างปลอดภัยในพื้นที่เกาะพะงัน ซึ่งงานวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญใช้แบบ สัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือการวิจัย และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาความเรียง พบว่า 1. สถานการณ์การท่องเที่ยวที่ไม่ปลอดภัยในพื้นที่เกาะพะงัน อำเภอเกาะพะงัน ได้รับผลพวงมาจากการเดินทางเข้ามาเที่ยวไทยของนักท่องเที่ยวต่างชาติน้อยลง เนื่องจากมีปัจจัยลดทอนการเดินทางของนักท่องเที่ยวบางส่วนโดยเฉพาะกระแสลบด้านความปลอดภัยในการเดินทางเที่ยวไทย จึงทำให้เกิด สถานการณ์การท่องเที่ยวที่ไม่ปลอดภัยในพื้นที่เกาะพะงัน 2. การมีส่วนร่วมของผู้นําชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการจัดการท่องเที่ยวเพื่อความปลอดภัยในพื้นที่เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า ต้องเข้ามามีทั้ง 4 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 การมีส่วนร่วมในการตัด สินใจ ขั้นตอนที่ 2 การมีส่วนร่วมในการดําเนินงาน ขั้นตอนที่ 3 การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์และขั้นตอนที่ 4 การมีส่วนร่วมในการประเมินผล 3. แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวอย่างปลอดภัยในพื้นที่เกาะ พะงัน โดยส่วนที่จำเป็นต้องมีการพัฒนา คือ การมีส่วนร่วมด้านความปลอดภัย การพัฒนาการมีส่วนร่วมด้านเครือข่าย การพัฒนาการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย

References

กรมการท่องเที่ยว. (2565). แผนพัฒนาบริการท่องเที่ยว 2566-2570. กองพัฒนาบริการ ท่องเที่ยวกรมการท่องเที่ยว.

กองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2567). Model การจัดการความปลอดภัย นักท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2568, จาก http://thaicrimes.org/model-

กองสารนิเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2566). พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ แถลงปิดคดีฆ่าหั่นศพแพทย์ชาว โคลอมเบียร่วมกับสถานทูตประสานญาติอํานวยความสะดวกรับศพกลับ. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2568, จาก https://saranitet.police.go.th/pr-news/mission-commander/

การท่องเที่ยวแห่งประเทศ. (2545). การจัดการการท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2568, จาก http:// www.sara-dd.com/index.php?option=com_content&view=article&id=218:tourismel ement&cat id=25:the-project&Itemid=72.

งานวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ กองกลยุทธ์การตลาด. (2566). สถานการณ์ท่องเที่ยวตลาดต่างประเทศ เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2566 และสรุปภาพรวมสถานการณ์ท่องเที่ยวตลาดต่างประเทศปี 2566. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2568, จาก https://tatreviewmagazine.com/article/inter-q1-2024/.

จุฬาลักษณ์ พันธัง. (2561). การจัดการความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่เมืองพัทยา. วารสาร การเมืองการบริหารและกฎหมาย, 11(2), 509-534.

ดนัย เรืองสอน, บุษริน เพ็งบุญ, กานต์ สินสืบผล, พิพัฒน์ ชื่นสุขจิตต์, กฤษดา พงษ์ประเสริฐ, กฤษฏิ์ จ่างตระกูล และ สิริมา ทองอมร. (2565). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการความปลอดภัยทาง ถนน: กรณีศึกษาชุมชนทองเอน. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27, วันที่ 24- 26 สิงหาคม 2565 จ.เชียงราย. 1-10.

ดำเกิง โถทองและคณะ. (2550). เส้นทางการท่องเที่ยวอารยธรรมขอมในประเทศไทย กัมพูชา ลาว. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ทัชชกร แสงทองดี. (2561). รูปแบบความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรี อยุธยา. วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตํารวจ, 4(2), 22-38.

ไทยรัฐออนไลน์. (2561). หนุ่มตีหัวนักท่องเที่ยวฝรั่ง ขอโทษสังคม วอนอย่าด่าลามปามไปถึงพ่อแม่.สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2568, จาก https://www.thairath.co.th/news/society/1363693.

ธนพล อินประเสริฐกุลและรักษ์พงศ์ วงศาโรจน์. (2563). ความตระหนัก ความคาดหวังและการรับรู้ของ นักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีต่อภัยเสี่ยงและมาตรการความปลอดภัยแหล่งท่องเที่ยว. วารสารสังคม ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 23(1), 39-53.

พยอม ธรรมบุตร. (2546). แบบการตรวจสอบการศึกษาชุมชน. สถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พิชญาภา ศิริรัตน์. (2566). นวัตกรรมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของประเทศไทย ความท้าทายใหม่ในเวทีโลก. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2568, จาก https://www.nia.or.th/Sustainable-Tourism-Inno vation-in-Thailand

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2542). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปาจรีย์ ผลประเสริฐ. (2550). ประสิทธิผลของแผนปฏิบัติราชการ: การรักษาความปลอดภัยและให้บริการ แก่นักท่องเที่ยว. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร.

ผู้จัดการออนไลน์. (2566). รวบได้แล้วหนุ่มพม่าแทงเพื่อนร่วมงานเจ็บ 4 ราย เจ้าหน้าที่ปิดล้อมนานกว่า30 ชั่วโมง. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2568, จาก https://mgronline.com/south/detail/9660 000023266.

พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์, กนกวรรณ แก้วอุไทย, สุทธิณี พรพันธุ์ไพบูลย์, ฉัตรชัย เงินแสงสรวย และ กฤษณะเดช เจริญสุธาสินี (2561). ศักยภาพทางการท่องเที่ยวและจัดทำแผนพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. รายงานฉบับสมบูรณ์สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

ภณสิทธ์ อ้นยะ. (2563). ระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีผลต่อความสำเร็จของการบริหารจัดการแหล่ง ท่องเที่ยวตามมาตรฐานการท่องเที่ยวไทย. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 2(1), 331-340.

มนัส สุวรรณและคณะ. (2541). การจัดการการท่องเที่ยว (พิมพ์ครั้งที่ 8). ไทยวัฒนาพานิช.

มติชน. ( 2562). ตำรวจเร่งล่าตัวคนร้ายข่มขืนแหม่มนอร์เวย์ที่เกาะพะงัน. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2568, จาก https://www. matichon.co.th/region/news_1492696.

มติชน. (2561). แหม่มผู้ดี แจ้งความถูกข่มขืน ตร.เกาะพงัน โร่ทำคดี สุดท้ายแค่มโนไปเอง. สืบค้นเมื่อ 25เมษายน 2568, จากhttps://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1144593.

รัฐบาลไทย. (2567). นายกฯ สั่งการเพิ่มความเชื่อมั่น “เมืองไทยปลอดภัย” ด้วยมาตรการให้คุ้มครอง ช่วยเหลือและเยียวยานักท่องเที่ยวต่างชาติ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ไทย แหล่งท่องเที่ยวคุณภาพและ ปลอดภัยระดับโลก. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2568, จาก https://www.thaigov.go.th/news/ contents/details/ 79297.

สุไรดา กาซอ. (2561). แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวพื้นที่ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล. คณะการจัดการการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สนิทเดช จินตนาและอารีวรรณ หัสดิน. (2563). ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินในการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานครในมุมมองของนักท่องเที่ยวต่างชาติ. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี, 1(2), 33-43.

สำนักมาตรฐานและกำกับความปลอดภัยนักท่องเที่ยว. (2558). แผนยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมั่นด้าน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ. สำนักงานกิจการโรง พิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

อรทัย ก๊กผล. (2552). คู่คิด คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับนักบริหารท้องถิ่น. จรัญ สนิทวงศ์การพิมพ์.

Cohen , J.M. and Uphoff, N.T. (1981). Rural Development Participation : Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Rural Development Committee Center for International Studies. Cornell University.

Sunthorn BOONKAEW, Somnuk AUJIRAPONGPAN, Neeranat KAEWPRASERT RAKANGTHONG, Nattakorn POTIYA, Jaturon JUTIDHARABONGSE (2021) Journal of Asian Finance, Economics and Business, 8(6), 1067–1077

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-14

How to Cite

วีระกูล ศ. ., & อิทธิธนาศุภวิชญ์ ว. (2025). แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวอย่างปลอดภัย ในพื้นที่เกาะพะงัน อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการบริหารงานยุติธรรม, 1(2), 1–19. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/JISSJA/article/view/1914