ความไม่ได้สัดส่วนในการกำหนดโทษของกฎหมายประมงไทย การวิเคราะห์เชิงกฎหมาย สังคม และหลักพระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • นิรมล ยินดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร., คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

กฎหมายประมง, ความได้สัดส่วน, หลักพุทธศาสนา, นิติธรรม, ความยั่งยืน

บทคัดย่อ

พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ถูกตราขึ้นเพื่อควบคุมการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal, Unreported, and Unregulated Fishing: IUU Fishing) อย่างไรก็ตาม กฎหมายดังกล่าวกลับก่อให้เกิดปัญหาความไม่ได้สัดส่วนของโทษ ส่งผลกระทบต่อชุมชนประมงพื้นบ้านที่ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดที่เข้มงวดได้ การศึกษานี้วิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายและผลกระทบทางสังคม พร้อมเชื่อมโยงกับหลักพุทธศาสนา เช่น หลักธรรมมัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง) หลักเมตตาธรรม และหลักปัญญา เพื่อเสนอแนวทางปรับปรุงกฎหมายให้มีความสมดุลมากขึ้น

ผลการศึกษาพบว่า พระราชกำหนดประมง พ.ศ. 2558 มาตรา 123 ไม่ได้แยกแยะประเภทของการทำประมงระหว่างประมงพาณิชย์และประมงพื้นบ้าน จึงก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนที่ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน ดังนั้น จะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติมาตรา 123 ให้มีความชัดเจนระหว่างประมงพาณิชย์และประมงพื้นบ้านกรณีที่มีความผิดและการบังคับใช้กฎหมายที่สอดคล้องกับหลักพุทธศาสนา และหลักนิติธรรมจะช่วยให้เกิดความเป็นธรรมและความยั่งยืนของทรัพยากรทางทะเล

References

กรมประมง. (2562). รายงานผลการดำเนินงานตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ระหว่างปี 2558-2562. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กิติมา แก้วนะรา. (2559). หลักความได้สัดส่วนกับบทกำหนดโทษที่เหมาะสมสำหรับผู้กระทำความผิดในคดียาเสพติดให้โทษ: ศึกษากรณีแอมเฟตามีน.

จิรวัฒน์ จันทร์สว่าง. (2554). ประมงพื้นบ้าน. Veridian E-Journal SU, 4(1), 261-274.

พลพิศิลป์ สุวรรณชัย. (ม.ป.ป.). การบริหารจัดการทรัพยากรประมงทะเลภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในศตวรรษที่ 21. กองประมงต่างประเทศ กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

พระกิตติพงษ์ อาภาธโร (ไลไธสงค์), สมเดช นามเกตุ, & พระครูจิรธรรมธัช. (2564). การประยุกต์ใช้หลักเมตตาธรรมเพื่อลดความรุนแรงในชุมชนบ้านสร้างก่อ ตำบลสร้างก่อ อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี. วารสารปัญญาปณิธาน, 6(1), 201-214.

ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเล. (2560). รายงานสถานการณ์การทำประมง IUU ในประเทศไทย ปี 2560. กรมประมง.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2560). การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากการปฏิรูปการประมงของประเทศไทย. TDRI.

สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2561). รายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน กรณีผลกระทบจากการบังคับใช้พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ต่อชาวประมงพื้นบ้าน.

Abdul Rahman, M. F., Hashimee, N. B., Ibrahim, N. A., & Jaffar, F. H. F. (2023). Principle of proportionality in criminal law. International Journal of Law, Government and Communication, 8(33), 22-30.

Duereh, A., & Sendang, W. (2023, April 21). Trawling, a silent threat to the future of Thai seas. Find answers in the latest EJF trawling industry report. https://www.sdgmove. com /2023/04/21/trawls-sea-thailand/

European Commission. (2022). Illegal fishing (IUU). https://oceans-and-fisheries.ec.europa.e u/fisheries/rules/illegal-fishing_en

Ketsin, T. (2018). The Middle Way for Coexistence of Social and Reduction Exploiting Nature in Integration. Journal of Philosophical Vision, 23(1), 82-95.

U.S. Fish & Wildlife Service. (n.d.). Magnuson-Stevens Fishery Conservation and Management Act. https://www.fws.gov/law/magnuson-stevens-fishery-conservation-and-manage ment-act

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-28

How to Cite

ยินดี น. . . (2025). ความไม่ได้สัดส่วนในการกำหนดโทษของกฎหมายประมงไทย การวิเคราะห์เชิงกฎหมาย สังคม และหลักพระพุทธศาสนา. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการบริหารงานยุติธรรม, 1(1), 71–80. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/JISSJA/article/view/1854