ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้ซื้อในร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเวฟเว่น หน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยทักษิณในสงขลาและ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยที่สงขลา

ผู้แต่ง

  • ณิชาภัทร บุญรัตน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, ใช้จ่าย, ร้านสะดวกซื้อ, เซเว่นอีเลฟเว่น, มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในการเข้าใช้บริการร้านสะดวกซื้อ เซเว่น อีเลฟเว่น (7-Eleven) (2) เพื่อวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจของผู้ซื้อที่มีต่อสินค้า และบริการของร้าน 7-Eleven และ (3) เพื่อระบุปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อในร้าน 7-Eleven สาขาหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา กลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ คือ ผู้บริหารและพนักงานร้าน 3 แห่ง ๆ ละ 2 คน กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ คือ ผู้ซื้อในร้าน 7-Eleven จำนวน 360 คน 3 แห่ง ๆ ละ 120 คน เครื่องมือวิจัยใช้ 2 แบบ คือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม สถิติวิเคราะห์คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบน

ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมของผู้ซื้อในการเข้าใช้บริการร้าน 7-Eleven ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 20-24 ปี อยู่ในระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพนักเรียน/นักศึกษา รายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท โสด จำนวนสมาชิกในครอบครัว 3-5 คน เข้าใช้บริการสัปดาห์ละ 1-2 วัน ค่าใช้จ่ายในการเข้าใช้บริการครั้งละ ต่ำกว่า 100 บาท ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อสินค้าและบริการในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อของในร้าน ทั้ง 4 ด้านมีภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง คือ 1) ปัจจัยสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวก 2) ปัจจัยค่าใช้จ่ายของผู้บริโภค 3) ปัจจัยผลิตภัณฑ์ และ 4) ปัจจัยการให้บริการของพนักงาน

ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ คือ ผู้ประกอบการควรเพิ่มความสนใจด้านลักษณะทางกายภาพของร้านจะส่งผลต่อทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อร้านให้กลับมาซื้อซ้ำ และเกิดการบอกต่อในเชิงบวก

References

กรกนก จันทร์ประภาส, เยาวภา ปฐมศิริกุล และบัณฑิต รัตนไตร. (2566). การตัดสินใจทางการตลาดสำหรับการประกอบธุรกิจเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ. วารสารการบริหารจัดการและนวัตกรรมท้องถิ่น. 5(4), 71-82.

จิรภัทร มิขันหมาก, นิสารัตน์ โสดามุก, ปณิสรา ตันติกุลชาติ และนลินภัสร์ บำเพ็ญเพียร. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้งานแอปมลิเคชันเป๋าตัง. วารสารสืบเนื่องงานประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ครั้งที่ 4. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

ชนิกานต์ ทัศนกุลวงศ์. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านเซเว่นแคตตาล็อก ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ณรัญญา พิพัฒนานนท์, นภัสกร คีรีรักษ์, ศิริวิภา ไตรณรงค์, สมาภรณ์ นวลสุทธิ์ และสุจินดา พรหมขำ. (2567). ประสิทธิภาพผลงานสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ กระเป๋าเดลิเวอรี่ร้อนหนาว. Journal of Roi Kaensarn Academi. 9(5), 457-474.

ณิชาภัทร บุญรัตน์ และเนตรนภา ศรีสุข. (2567). บุพปัจจัยราคาของพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อส่งผลกระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบการตลาดน้ำคลองแหในหาดใหญ่. เอกสารวิชาการประกอบการประชุมและสัมมนาทางวิชาการระดับชาติ ด้านการศึกษาทางการบัญชี ปีที่ 5 (2567). สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. Accounting Education Conference: AccEC 2024. 25-26

ณัฐพงศ์ เกตุเอม และศิริรักษ์ ขาวไชยมหา. (2560). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อจักรยานเสือหมอบของผู้บริโภค ในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มข.10(1), 84-95.

ทศพล ภู่จำนงค์. (2559). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคกรณีศึกษา ร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น. การค้นคว้าอิสระ เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธนพัฒน์ อินทวี. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกสถาบันศึกษาเพื่อเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย. 5(1), 1-14.

ธีรัตว์ รุ่งเรือง. (2558). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อจักรยานปั่นเพื่อสุขภาพในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

นิมิตร ไชยวงค์. (2559). อิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดและภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อรถยนต์กระบะของผู้บริโภคจังหวัดลําปาง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง. 5(2), 95-115.

ปดิวลดา บวรศักดิ์. (2566). เปิดเส้นทางเซเว่น อีเลฟเว่น ร้านสะดวกซื้อเล็ก ๆ ที่พัฒน์พงษ์ สู่ 10,000 กว่าสาขาทั่วประเทศ. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2566.จาก https://www.silpa-mag.com/history/ article_114646.

พิมานมาศ ลีเลิศวงศ์ภักดี. (2552). ความพึงพอใจ และพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้าที่มีความสัมพันธ์กับแนวโน้มการใช้บริการร้าน Sorbet & Sherbet โกลเด้น เพลซ. สารนิพนธ์ส่วนหนึ่งของหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภูริณัฐ ยมกนิษฐ์, สินิทรา สุขสวัสดิ์ และรุจิกาญจน์ สานนท์. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดกับกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคในเขตจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 8(2), 34-49.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. (2561). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมคลศรีวิชัย ระยะยาว 20 ปี พ.ศ.2561-2580. กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

มุทิตา ย่องไทยสง. (2566). การพัฒนาความฉลาดรู้การเงินโดยใช้แนวคิดปรากฏการณ์เป็นฐานของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รฐา นาราสุรโชติ, วิไลลักษณ์ เผือกพิพัฒน์ และบัณฑิต ผังนิรันดร. (2558). ปัจจัยด้านการตลาดเชิงบูรณาการพฤติกรรมการซื้อและความจงรักภักดีของผู้บริโภคต่อร้านเซเว่นอีเลฟเว่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดชลบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 7(3), 107-120.

รักษ์สุดา เหล่าคา. (2563). การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรชั้นสูงวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคนิคบริหารธุรกิจกรุงเทพ. การศึกษาอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วงศ์พัฒนา ศรีประเสริฐ และรุ่งศักดิ์ วิลามาศ. (2564). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อและบริโภคข้าวกล้องของผู้บริโภคในเขตอําเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 5(3), 137-151.

วลัยลัคน์ ห่านทอง, สหภาพ พ่อค้าทอง และศิริพงศ์ เดียวพิพิธพร. (2567). พฤติกรรมการใช้ และทัศนคติ ที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับนวัตกรรมแอปพลิเคชันเดลิเวอรีของร้านสะดวกซื้อ. วารสารบัญชีปริทัศน์. 9(2), 39-56.

วศินี บุญเอิบ และสารภี ชนะทัพ. (2567). พฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้แพลตฟอร์มเช่าพระเครื่องผ่านเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในยุคดิจิทัล. วารสารบัญชีปริทัศน์. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 9(2), 155-182.

วสุธิดา นักเกษม และประสพชัย พสุนนท์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจบริการในเขตกรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 11(1), 2148-2167.

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2562). การหาขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย: มายาคติในการใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน่ และเครทซี-มอร์. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา. 8(1), 11-28.

ศดานันท์ วิกจพิสุทธ์. (2561). พฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารออนไลน์ (Food Delivery) ผ่านแอพพลิเคชั่น (Application) ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระวารสารศาสตรมหา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศรัญวุฒิ มุ่งมีสกุล. (2566). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของลูกค้า (7C’s) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (โอทอป) ประเภทอาหาร ผ่านการตลาดแบบผสมผสานช่องทางของผู้บริโภคกลุ่มเจนเนอเรชั่นวายภายใต้ยุคปกติใหม่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ศุภกร หนูสม. (2565). คู่มือปฏิบัติงานการเขียนหนังสือราชการ. สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. (2566). แผนยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566-2570. สำนักการจัดการนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

สภามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. (2561). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561 – 2565).

สโรชา นนท์รักษานุกูล. (2560). การส่งเสริมการตลาดที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ CP EASY SNACK ในร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่นในจังหวัดนนทบุรี. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สรัญญา จันทร์สว่าง. (2563). เซเว่นฯ ลุย ออลออนไลน์ รับมือโลกเปลี่ยน. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2566.จาก https://www.bangkokbiznews.com/business/895810.

สุชานันท์ ตาลเจริญธรรม. (2562). การศึกษาพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในโครงการบริหารจัดการสำนักงานสีเขียวของพนักงานวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล. Veridian E-Journal, Silpakorn University. Humanities, Social Sciences and Arts. 12(6), 803-815.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2566). รายงานสถานการณ์ MSME ปี 2566. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2566 จาก https://bds.sme.go.th/Files/f5e20d92-138e-48f2-a29f-5a6c3a37cfd0.pdf.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา. (2567). แผนปฏิบัติราชการ ปีงบประมาณ 2567.

อมรินทร์ทีวีออนไลน์. (2566). สำรวจร้าน 7- Eleven ร้านสะดวกซื้อที่ทำรายได้ทะลุแสนล้านใน 3 เดือน. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2566 จาก https://www.amarintv.com/spotlight/business-marke ting/.

อัจฉรา เนื่องจำนงค์. (2566). พฤติกรรมของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์จากพืช. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Sanook. (2553). มหาวิทยาลัยทักษิณ. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2566 จาก https://www.sanook.com/ campus/924947/.

ThaiPublica. (2555). มหาวิทยาลัยนอกระบบ (4): ปัญหาของมหาวิทยาลัยทักษิณ. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2566 จาก https://thaipublica.org/2012/11/autonomous-university-thaksin/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-28

How to Cite

บุญรัตน์ ณ. . (2025). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้ซื้อในร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเวฟเว่น หน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยทักษิณในสงขลาและ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยที่สงขลา. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการบริหารงานยุติธรรม, 1(1), 37–55. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/JISSJA/article/view/1852