คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูผู้สอน กลุ่มโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ในพระราชูปถัมภ์ฯ

ผู้แต่ง

  • อริศรา ชูช่วย ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สุทธิพงศ์ บุญผดุง ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

คุณลักษณะที่พึงประสงค์, ผู้บริหารสถานศึกษา, ครูผู้สอนกลุ่มโรงเรียนทีปังกร วิทยาพัฒน์ในพระราชูปถัมภ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูผู้สอน กลุ่มโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ในพระราชูปถัมภ์ฯ 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูผู้สอน กลุ่มโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ในพระราชูปถัมภ์ฯ จำแนกตามระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างคือครูผู้สอนกลุ่มโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ในพระราชูปถัมภ์ฯ จำนวน 169 คน จากนั้นดำเนินการสุ่มแบบแบ่งชั้น จำแนกตามสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.985 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าคะแนนเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (Independent t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูผู้สอน กลุ่มโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ในพระราชูปถัมภ์ฯ โดยรวมและรายด้านอยู่ ในระดับมากที่สุด เรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ คุณลักษณะด้านความรู้ความสามารถ คุณลักษณะด้านผู้นำ คุณลักษณะด้านมนุษยสัมพันธ์ คุณลักษณะด้านบุคลิกภาพ ตามลำดับ และคุณลักษณะด้านคุณธรรมจริยธรรม 2) การเปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูผู้สอน กลุ่มโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ในพระราชูปถัมภ์ฯ จำแนกตามระดับการศึกษา โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน

References

กิ่งแก้ว ห้วยจันทร์. (2560). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูในเขตอำเภอศรีราชาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทัศนีย์ ทิพย์คงคา. (2564). คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาที่พึงประสงค์ของครูในโรงเรียนเขตอำเภอสามโคก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

ปัญญา บัวบาน. (2565). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูกลุ่ม สหวิทยาเขตชลบุรี1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี-ระยอง. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ลานนา รักงาม. (2563). การศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21ในอำเภอแม่สาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

ศุภมาส วิสัชนาม. (2560). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

สุภาวดี พรหมทะสาร. ( 2561). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพตามทัศนะ ของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สุรีรัตน์ โพธิ์เลีย. (2560). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของครู โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุวิมล ติรกานันท์. (2549). การใช้สถิติในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York : Harper Collins Publishers.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607– 610

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale in Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04/05/2025

How to Cite

ชูช่วย อ., & บุญผดุง ส. (2025). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูผู้สอน กลุ่มโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ในพระราชูปถัมภ์ฯ. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา, 3(1), 63–77. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/IAEM/article/view/1569

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)