กระบวนการพัฒนาทักษะอาชีพเยาวชนโดยการมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัยและชุมชน: ชุมชนเมืองเก่ากำแพงแสน

ผู้แต่ง

  • อภิเดช ช่างชัย อาจารย์ คณะอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • โชคชัย ดวงแก้ว อาจารย์ คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • ไพทูล คำคอนสาร อาจารย์ คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • ทศพล บุญธรรม อาจารย์ คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

คำสำคัญ:

การศึกษา, ทักษะอาชีพเยาวชน, โรงเรียนขนาดเล็ก, เครือข่ายพัฒนา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและความต้องการในการพัฒนาทักษะอาชีพเยาวชนในชุมชนของโรงเรียนขนาดเล็ก 2) พัฒนาแผนกระบวนการพัฒนาทักษะอาชีพเยาวชน โดยการมีส่วนร่วมของทั้งภาครัฐ มหาวิทยาลัย และชุมชน และ 3) ศึกษาผลกระบวนการพัฒนาทักษะอาชีพเยาวชน โดยการมีส่วนร่วมของทั้งภาครัฐ มหาวิทยาลัย และชุมชน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 20 คน เลือกแบบเจาะจงกลุ่ม 3 ฝ่าย 1) ฝ่ายโรงเรียน ประกอบด้วย ผู้บริหาร 1 คน ครู 3 คน เจ้าหน้าที่ 1 คน และ นักเรียน 5 คน 2) ฝ่ายมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย อาจารย์ 4 คน และ 3) ฝ่ายชุมชน ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน 1 คน ผู้ปกครอง 5 คน ปฏิบัติการ 2 ขั้นตอน 1) วางแผนกระบวนการพัฒนา ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องดำเนินการวางแผนกระบวนการพัฒนาทักษะอาชีพเยาวชนของโรงเรียนขนาดเล็ก และ
2) ศึกษาผลกระบวนการพัฒนาผู้มีส่วนเกี่ยวข้องดำเนินการกับกลุ่มตัวอย่าง 30 คน โดยเลือกแบบเจาะจงกลุ่มเยาวชนชุมชนที่สมัครใจเข้าร่วมกระบวนการ เก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยข้อสอบ แบบวัดทักษะ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพื้นฐาน และการทดสอบสถิติ t-test เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสังเกต สัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัญหาของโรงเรียนขนาดเล็ก คือ การมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ ขาดอุปกรณ์การศึกษา และมีครูจำนวนน้อย 2) แผนกระบวนการพัฒนาทักษะอาชีพเยาวชนที่พัฒนาขึ้นมี 2 กิจกรรม 2.1) กิจกรรมการวิเคราะห์ทุนชุมชนเกษตร และ 2.2) กิจกรรมเยาวชนผู้นำเที่ยว 3) ผลของกิจกรรม 3.1) เยาวชนมีคะแนนเฉลี่ยหลังร่วมกิจกรรมแตกต่างจากก่อนเรียนระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 3.2) เยาวชนมีคะแนนเฉลี่ยทักษะการปฏิบัติงานกลุ่มระดับมากที่สุด และ
3.3) เยาวชนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมในระดับมากที่สุด และ 4) ผลสะท้อนกระบวนการชี้ให้เห็นว่าเป็นกระบวนการพัฒนาเยาวชนที่ดี และต้องการให้มีการวิจัยอย่างต่อเนื่อง

References

กรมกิจการเด็กและเยาวชน. (2567). รายงานแนวทางพัฒนาทักษะเยาวชนตามบริบทชุมชน. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

ชนิกา ศิริสุวรรณ. (2562). การวิเคราะห์ปัญหาทรัพยากรบุคลากรในโรงเรียนขนาดเล็กในชนบท. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สันติ ศรีสวนแตง. (2556). การจัดการเรียนรู้โดยใช้สวนเกษตรเป็นฐาน. นครปฐม: เพชรเกษม พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด.

สุมิตร สุวรรณ และคณะ. (2560). รายงานโครงการบริการวิชาการให้กับเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็กในเขตพื้นที่ อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อภิเดช ช่างชัย, สันติ ศรีสวนแตง, และ ประสงค์ ตันพิชัย. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้านการเกษตรโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษาโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. Veridian e-journal สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 10(2), 1544 - 1560.

Anderson, P., Lee, J., & Taylor, S. (2020). Digital innovations for youth skill development. Technology and Education Journal, 38(2), 90 - 110.

Carnoy, M. (2019). Education and inequality in the globalized world. London: Routledge.

Edwards, H., & Smith, T. (2020). Collaborative learning strategies in vocational education. Journal of Vocational Education, 15(4), 123 - 135.

Garcia, M., & Johnson, P. (2020). Resource allocation in small schools: A comprehensive study. Educational Research Review, 29, 45 - 60.

International Labour Organization (ILO). (2019). Work for a brighter future: Report by the global commission on the future of work. Geneva: ILO.

Jackson, L., & Adams, R. (2019). Bridging the gap: Community-based education for youth empowerment. Journal of Educational Research, 42(3), 150 - 168.

McKinsey & Company. (2022). Future of work: Youth employment and skills. Retrieved October 1, 2024, from https://www.mckinsey.com

OECD. (2020). Skills strategy 2020: Skills to shape a better future. Paris: OECD Publishing.

Smith, T., & Brown, K. (2021). Teamwork in vocational training: Insights from a multi-national study. Vocational Training Quarterly, 19(1), 67 - 82.

UNESCO. (2018). Youth and skills: Putting education to work. Paris: UNESCO Publishing.

World Bank. (2019). World development report 2019: The changing nature of work. Washington, DC: The World Bank.

World Bank. (2023). Global talent competitiveness index 2023: Leveraging talent for growth. Geneva: INSEAD and Adecco Group.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04/05/2025

How to Cite

ช่างชัย อ., ดวงแก้ว โ., คำคอนสาร ไ., & บุญธรรม ท. (2025). กระบวนการพัฒนาทักษะอาชีพเยาวชนโดยการมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัยและชุมชน: ชุมชนเมืองเก่ากำแพงแสน. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา, 3(1), 31–47. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/IAEM/article/view/1192

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)