การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์เรื่องการหารของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบเปิด

ผู้แต่ง

  • สุธิดา จันทร์ส่ง สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • ธัญญา กาศรุณ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • อัญชลี แสงอาวุธ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

ทักษะการคิดวิเคราะห์, การหาร, กิจกรรมการเรียนรู้แบบเปิด, นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบเปิด(Open Approach) เรื่องการหารสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเปิด
3) เปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเปิดและ 4) ศึกษาเจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบเปิดรูปแบบการวิจัยเป็นแบบเชิงทดลองกลุ่มเดียวมีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบเปิด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ และแบบวัดเจตคติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้แบบเปิดมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)  3) ทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) 4) นักเรียนมีเจตคติต่อกิจกรรมการเรียนรู้ในระดับมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จุฬาลักษณ์ เชื้อเงิน, เชวง ซ้อนบุญ และ สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์. (2562). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์โดยวิธีการแบบเปิดร่วมกับการใช้คำถามของบาดแฮมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 11(1), 42 - 58.

นิภาพร ชิงชัย. (2556). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการคูณ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และการใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐานและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปานทอง กุลนาถศิริ. (2555). การจัดการศึกษาคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. สืบค้น 10 ตุลาคม 2567, จาก http://www.chonlinet.lib.buu.ac.th

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ตถาตาพับลิเคชั่น.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566). การทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test: NT). สืบค้น 10 ตุลาคม 2567, จาก https://www.obec.go.th

/archives

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). แนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิคจำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). สภาวะการศึกษาไทยปี 2559/2560 แนวทางการปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อก้าวสู่ยุค Thailand 4.0. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

อรทัย ชินาภาษ. (2560). การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. อุบลราชธานี: โรงเรียนเมืองเดช สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5.

Becker, J. P., & Shimada, S. (1997). The open-ended approach: A new proposal for teaching mathematics. Reston, VA: National Council of Teachers of Mathematics.

Bruner, J. S. (1960). The process of education. Cambridge, MA: Harvard University Press.

Hashimoto, Y., & Becker, J. P. (1999). The open approach to teaching mathematics: Creating a culture of mathematics in the classroom. In L. J. Sheffield (Ed.), Developing mathematically promising students. Reston, VA: National Council of Teachers of Mathematics.

Krulik, S. and Rudnick, J. (1993). Reasoning and problem solving: a handbook for elementary school teachers. America.

Mezirow, J. (1991). Transformative dimensions of adult learning. San Francisco: Josse.

Nohda, N. (2000). Teaching by open-approach method in Japanese mathematics classroom. In T. Nakahara & M. Koyama (Eds.), Proceedings of the 24th Conference of the International Group for the Psychology of Mathematics Education, (1), 39 – 53.

Sawada, T. (1997). Developing lesson plans. In J. P. Becker & S. Shimada (Eds.), The open-ended approach: A new proposal for teaching mathematics (pp. 25-41). Reston, VA: National Council of Teachers of Mathematics.

Schoenfeld, A. H. (1992). Learning to think mathematically: Problem solving, metacognition, and sense making in mathematics. In D. A. Grouws (Ed.), Handbook of research on mathematics teaching and learning. New York: Macmillan.

Sullivan, P., & Lilburn, P. (2002). Good questions for math teaching: Why ask them and what to ask, K - 6. Sausalito, CA: Math Solutions Publications.

Van de Walle, J. A. (2004). Elementary and middle school mathematics: Teaching developmentally. Boston: Pearson Education.

Yackel, E. (2001). Perspectives on arithmetic from classroom-based research in the United States. In J. Anghileri (Ed.), Principles and practices in arithmetic teaching. Buckingham, UK: Open University Press.

Yackel, E., Cobb, P., & Wood, T. (1991). Small-group interactions as a source of learning opportunities in second-grade mathematics. Journal for Research in Mathematics Education, 22(5), 390 - 408.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04/05/2025

How to Cite

จันทร์ส่ง ส., กาศรุณ ธ., & แสงอาวุธ อ. (2025). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์เรื่องการหารของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบเปิด. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา, 3(1), 16–30. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/IAEM/article/view/1185

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)