แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • นุชนาถ จันทร์บัว นิสิตหลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • พงษ์ศักดิ์ ลาบรรเทา นิสิตหลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • สถิรพร เชาวน์ชัย หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม, ผู้บริหารสถานศึกษา, มัธยมศึกษา, นครสวรรค์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ และเพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ โดยมีการดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู จำนวน 317 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า  5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการบริหารสถานศึกษา มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า จำนวน 3 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการเอาใจใส่และเห็นใจผู้อื่น และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความยุติธรรม 2. แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ ผู้บริหารสถานศึกษาแจ้งหลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานและประเมินให้ตรงตามหลักเกณฑ์ วางตัวเป็นกลาง เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลาย ดูแลเอาใจใส่ผู้ใต้บังคับบัญชา เคารพและให้เกียรติในความเป็นมนุษย์ เป็นต้น

References

เกวลิน เมืองชู. (2564). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1. วารสารวิชาการ, 12(2), 55 - 68.

ธีรพัฒน์ เพชรศรีจันทร์. (2562). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของครู. วารสารบริหารธุรกิจ, 11(2), 125 - 139.

ธีระ รุณเจริญ. (2552). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: แอลทีเพรส.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

รัตติกรณ์ จงวิศาล (2567). ภาวะผู้นำ ทฤษฎี การวิจัยและแนวทางสู่การพัฒนา. กรุงเทพฯ: เอเชีย ดิจิตอลการพิมพ์.

วิภาวดี อินทร์ด้วง. (2561). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. การประชุมวิชาการระดับชาติ, 5, 2235 - 2248.

รัตติกรณ์ จงวิศาล (2567). ภาวะผู้นำ ทฤษฎี การวิจัยและแนวทางสู่การพัฒนา. กรุงเทพฯ: เอเชีย ดิจิตอลการพิมพ์.

พิมพ์ใจ โนนธิง (2558). การบริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร 4 ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. (ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กนกรรณ บุญเรื่อง (2560). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10(3), 1409 – 1426.

รัชนีวรรณ สุวรรณชัยรบ (2566). ความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสกลนคร. (ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย

ราชภัฏสกลนคร.

เอกชัย ลวดคำ (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา

เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี. (ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ธีรพัฒน์ เพชรศรีจันทร์ (2562). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการครูโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐในจังหวัดอุทัยธานี. (ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

วิภาวดี อินทร์ด้วง (2561). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. (ปริญญาครุศาสตร

มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

วินัย ทองมั่น (2563). คุณธรรมและจริยธรรม แนวทางป้องกันความไม่โปร่งใสในการบริหารสถานศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์. 8(1), 367 - 375.

วราภรณ์ ธนากูลจีรวัฒน์ (2560). ประสิทธิภาพการบริหารงานงบประมาณของ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 9(2), 304 – 318.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/23/2024

How to Cite

จันทร์บัว น. ., ลาบรรเทา พ., & เชาวน์ชัย ส. . (2024). แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ . วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา, 2(3), 14–26. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/IAEM/article/view/1182

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)