การพัฒนาคู่มือการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนสำหรับครูผู้สอนการศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1
คำสำคัญ:
การพัฒนาคู่มือ, การเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน, ครูผู้สอนการศึกษาพิเศษ, กระบวนการนิเทศบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคู่มือการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน และเพื่อศึกษาผลการใช้คู่มือการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน กลุ่มตัวอย่าง เป็นครูผู้สอนการศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 28 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง จากโรงเรียนที่สนใจที่สมัครเข้าร่วมโครงการ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการ 3 ระยะ ระยะทึ่ 1 การสร้างและพัฒนาคู่มือการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน (ปีการศึกษา 2566) ระยะที่ 2 การทดลองใช้และการพัฒนาคู่มือการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน (ปีการศึกษา 2567) ระยะที่ 3 การขยายผลการใช้คู่มือการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน (ปีการศึกษา 2567) โดยนำกระบวนการนิเทศการศึกษามาปรับใช้ 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการและกำหนดจุดพัฒนา ขั้นที่ 2 การวางแผนการพัฒนา/การวางแผนการนิเทศ ขั้นที่ 3 การสร้างสื่อและเครื่องมือนิเทศ ขั้นที่ 4 การปฏิบัติการนิเทศ ขั้นที่ 5 การติดตามประเมินผล และขั้นที่ 6 การสรุปรายงานและเผยแพร่ผลงาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) คู่มือการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน 2) แบบทดสอบการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน 3) แบบสอบถามความคิดเห็นต่อคู่มือ 4) แบบประเมินคุณภาพรายงานวิจัยในชั้นเรียน และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t-test) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และพรรณนาความ ผลการวิจัย พบว่า พบว่า คู่มือการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน มีประสิทธิภาพ E1/E2 = 84.96/84.76 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพ E1/E2 = 80/80 ที่กำหนดไว้ ความรู้ด้านการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน หลังได้รับการนิเทศและใช้คู่มือการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนการศึกษาพิเศษ สูงกว่าก่อนได้รับการนิเทศและใช้คู่มือการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 รายงานการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนการศึกษาพิเศษ ที่ได้รับการนิเทศและใช้คู่มือการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน โดยรวมในระดับดีมาก ความพึงพอใจของครูผู้สอนการศึกษาพิเศษที่มีต่อการใช้คู่มือการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนโดยรวมในระดับมากที่สุด
References
กนิษฐา เชาว์วัฒนกุล. (2553). การพัฒนารูปแบบการดูแลให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสอนและการทำวิจัยในชั้นเรียนของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). การศึกษาความต้องการเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาการวิจัยสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เกียรติสุดา ศรีสุข. (2552). ระเบียบวิธีวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. เชียงใหม่: โรงพิมพ์ครองช่างพริ้นติ้ง.
จันทรานี สงวนนาม. (2551). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บุ๊คพอยท์.
ชาญยุทธ มั่งคั่ง. (2553). การสังเคราะห์ผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนวิทยฐานะชำนาญการพิเศษสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ โดยวิธีวิเคราะห์อภิมาน. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2520). ระบบสื่อการสอน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นงลักษณ์ นุชอุดม. (2555). ปัญหาการจัดทำผลงานทางวิชาการของข้าราชการครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
นิภาพร กุลสมบูรณ์. (2552). การวิจัยและพัฒนากระบวนการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน เพื่อส่งเสริมวินัยของครูและการเรียนรู้ของโรงเรียน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2552). เทคนิคการเขียนและผลิตตำรา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปุญชรัศมิ์ ตาคำ. (2552). การพัฒนาครูด้านการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนพานพสกสวัสดิ์ อำเภอพานจังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2553). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: ศรีอนันต์การพิมพ์.
พิมวล คันศิลป์. (2552). การพัฒนาครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนดงน้อยวิทยา อำเภอสหัสขันธ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2555.) วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 7. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ยุพิน ยืนยง. (2553). การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูเขตการศึกษา 5 อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยศิลากร.
ยุทธพงษ์ อายุสุข. (2550). การประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครู. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย. 20 (3): 464-482.
เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. (2554). การวัดผลและการสร้างแบบสอบผลสัมฤทธิ์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุคส์ พับลิเคชั่นส์.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
สมโภชน์ หลักฐาน. (2550). ผลการสร้างและการใช้คู่มือเรียนรู้และปฏิบัติการ การวิจัยในชั้นเรียน : พลศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้พลศึกษาครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. รายงานการวิจัย. ศรีสะเกษ: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 1.
สายชล แซ่จิว. (2550). ปัญหาการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูในโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุมาลี สังข์ศรี. (2553). การเขียนคู่มือการเขียนผลงานวิชาการและบทความ. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน), สำนักงาน. (2553). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554-2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับสถานศึกษา พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แมทซ์พอยท์.
อัจฉรา สระวาสี. (2555). การพัฒนาวิชาชีพโดยใช้กระบวนการวิจัย. วารสารข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. 2 (1): 30.
อาทิวรรณ โชติพฤกษ์. (2553). ก้าวสู่ความเป็นนักวิจัยมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Kenneth, M. (2006). Developing teacher-researchers in high school: A case Study of planned in fermentation. Pennsylvania: University of Pennsylvania.
Mingucci, M.M. (2001). Action Research as ESL Teacher Professional Development. Dissertation Abstracts International, 63 (2), 229-A.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.