การบริหารและการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • ภัควลัญชญ์ ทรัพย์เจริญ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การบริหารและการจัดการศึกษา, การพัฒนาที่ยั่งยืน, การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

บทคัดย่อ

การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาที่ยั่งยืน สังคมที่มีการพัฒนาที่ยั่งยืนจึงต้องอาศัยการศึกษาเป็นกลไกในการดำเนินการ ซึ่งกลวิธีในการจัดการให้การศึกษาบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาคนให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ทำได้โดยการบริหารและจัดการการศึกษาให้ประสบความสำเร็จในทุกระดับการศึกษา ซึ่งแบ่งระดับการศึกษา ได้ดังนี้ (1) การศึกษาระดับพื้นฐาน (2) การศึกษาระดับอาชีวศึกษา และ (3) การศึกษาระดับอุดมศึกษา และมีองค์ประกอบในการบริหารและการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังต่อไปนี้ (1) การพัฒนาหลักสูตรที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ในทุกระดับของการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบ (2) การพัฒนาผู้บริหารให้เป็นผู้บริหารในยุคการศึกษา 4.0 (3) การพัฒนาผู้สอนเป็นผู้สอนแบบมืออาชีพ (Professional) (4) การพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะ (Competencies)       (5) การบริหารงบประมาณที่ใช้ในการบริหารจัดการการศึกษา (6) การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา และ (7) การส่งเสริมและสนับสนุนสิ่งอำนวยประโยชน์ในการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรรม เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้านการศึกษานำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

References

ดารานาถ มาตย์เทพ และคณะ. (2567). การบริหารงานทั่วไปของสถานศึกษา. วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี. 7(2), 484 – 499.

โสภณ ลือดัง และชยาภรณ์ จตุรพรประสิทธิ์. (2567). การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน:จากความคาดหวังสู่อนาคต. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง. 13(1), 76- 93.

ภานุพันธ์ จินาวรณ์, สุมาลี ศรีพุทธรินทร์ และ จารุวรรณ เขียวน้ำชุม. (2566). การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ทางการศึกษากับการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครพนม. Journal of Roi Kaensarn Academi. 8(4), 361 - 378.

กุลจิรา รักษนคร. (2563). การศึกษากรอบแนวคิดของผู้บริหารมืออาชีพยุคการศึกษา 4.0. Journal of Modern Learning Development. 5(4), 206 – 217.

ธีรศักดิ์ อุปรมัย อุปไมย อธิชัย และสุชาติ บางวิเศษ. (2563). การบริหารและการจัดการศึกษาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พระมหาสัมฤทธิ์ อธิจิตฺโต (ถาพร). (2562). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของพระสงฆ์เพื่อการสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์. 2(2), 11 – 23.

ชล บุนนาค และคณะ. (2561). โครงการประสานงานการวิจัยเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs). ในรายงานการวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

กาญจนา เงารังษี. (2559). การศึกษากับการพัฒนาที่ยั่งยืน Education for Sustainable Development (ESD). วารสารสมาคมวิจัย, 21(2), 13-18.

พิณสุดา สิริธรังศรี. (ม.ป.ป.). การศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน: การศึกษาโดยการมีส่วนร่วม. สืบค้นเมื่อ เมษายน 5, 2567 จาก https://www.dpu.ac.th/ces/kmces/p1.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08/30/2024

How to Cite

ทรัพย์เจริญ ภ. . . (2024). การบริหารและการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา, 2(2), 52–64. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/IAEM/article/view/1127

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ (Academic Articles)