การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ท้องถิ่นเราชาวตำบลยางขี้นก เพื่อส่งเสริมทักษะการนำเสนอสินค้าชุมชนท้องถิ่นผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบชุมชนเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนรู้ผสานเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้แบบชุมชนเป็นฐาน, ทักษะการนำเสนอสินค้าชุมชน, เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้หน่วยการเรียนรู้เรื่อง "ท้องถิ่นเราชาวตำบลยางขี้นก" เพื่อส่งเสริมทักษะการนำเสนอสินค้าชุมชนผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบชุมชนร่วมกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ การวิจัยนี้เป็นการทดลองแบบกึ่งทดลองในกลุ่มเดียว โดยประชากรที่ศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านคําสมอ (ศรีศึกษา) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้จำนวน 4 แผน
ใช้เวลา 8 ชั่วโมง และแบบประเมินทักษะการนำเสนอสินค้าชุมชน โดยแบ่งเกณฑ์คุณภาพ
เป็น 3 ระดับ ได้แก่ ปรับปรุง พอใช้ และดี โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสถิติเชิงพรรณนา
ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ผลการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ท้องถิ่นเราชาวตำบลยางขี้นกเพื่อส่งเสริมทักษะการนำเสนอสินค้าชุมชนท้องถิ่นผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบชุมชนเป็นฐาน ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ผสานเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ พบว่า มีคุณภาพในระดับดีมาก โดยนักเรียนมีคะแนนทักษะการนำเสนอสินค้าชุมชนท้องถิ่นผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล ร้อยละ 86.33 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ร้อยละ 80
References
กัญญาณัฐ สิมสวัสดิ์. (2565). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน: กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19. วารสารวิจัยศรีล้านช้าง, 2(6), 47-55.
นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2564). กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน: บทสะท้อนจากประสบการณ์และการเรียนรู้. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร วิทยาเขตอีสาน, 2(3), 78-85.
วิทยา ดำรงเกียรติศักดิ์. (2561). พลเมืองดิจิทัล. แหล่งที่มา http://www.infocommmju.com/icarticle/images/stories/icarticles/ajwittaya/digital/Digital Citizenship.pdf
วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน: กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ของครูในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11(3), 179-191.
วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ. (2561). ทักษะทางดิจิตอลที่จำเป็นสำหรับเด็กในอนาคต. แหล่งที่มา http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/642553
สำนักงานดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2565). ผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2565 (Thailand Internet User Behavior 2022). สืบค้น กันยายน 10, 2566 จาก https://www. etda.or.th/th/Useful-Resource/publications/iub2022.aspx
สำนักงานดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2566). หลักสูตรการเข้าใจดิจิทัลสำหรับพลเมืองไทย และกรอบสมรรถนะด้านดิจิทัลสำหรับพลเมืองไทย. สืบค้น กันยายน 15, 2566 จาก https:/www.onde.go.th/view/1/E-BOOK/TH-TH?cat=7&page=2
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2566). แนวทางการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาทักษะความฉลาดทางดิจิทัลของผู้เรียบทุกช่วงวัย: กรณีศึกษาของต่างประเทศและประเทศไทย (ฉบับเข้าใจง่าย). กรุงเทพฯ: กลุ่มมาตรฐานการศึกษา สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้.
Flinders University. (2020). Good practice guide - Digital literacies “Digital Intelligence (DQ) Framework”. Retrieved September 10, 2023 from https://staff.flinders.edu.au/learning-teaching/good-practice-guides/gpg-digital-literacies
Ministry of Education Singapore. (2014). Core Values of Singapore’sCharacter and Citizenship. Retrieved September 17, 2023 from https://www.moe.gov.sg/-/media/files/programmes/2014-character-citizenship-education-secondary.pdf
Smart Nation and Digital Government Office. (2018). Digital Readiness. Retrieved September 15, 2023 from https://www.smartnation.gov.sg/files/publications/smart-nation-strategy-nov2018.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.