การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

ผู้แต่ง

  • ณฐพงศ์ สุขประเสริฐ นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

การปรับตัว, ความอยู่รอดของธุรกิจ, วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อ

บทคัดย่อ

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ “SMEs” เป็นหน่วยธุรกิจที่มีจำนวนมากในประเทศไทยจึงมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจในหลากหลายมิติ โดยก่อให้เกิดการจ้างงาน เป็นจุดกำเนิดของ ผู้ที่สนใจลงทุนเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ เป็นแหล่งฝึกอาชีพของแรงงานประเภทต่าง ๆ ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงกับกิจการขนาดใหญ่หรือกิจการอื่น ๆ เพิ่มมูลค่าให้วัตถุดิบในประเทศ สร้างรายได้ให้ประเทศ โดยเฉพาะจากภาคการผลิตเพื่อการส่งออก และภาคการท่องเที่ยว ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีสัดส่วนมูลค่า GDP คิดเป็นร้อยละ 34.2 ของในประเทศ แต่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้สัดส่วนดังกล่าวปรับลดลง ดังนั้นการปรับตัวจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ธุรกิจอยู่รอด โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ผู้ประกอบการควรนำเพิ่มกลยุทธ์ช่องทางการขายสินค้าและบริการทางออนไลน์ Delivery การศึกษาความต้องการของผู้บริโภค ปรับเปลี่ยนรูปแบบสินค้า การเพิ่มความเชื่อมั่นของผู้บริโภค การลดต้นทุนโดยตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น และในส่วนของภาครัฐ คือ การเร่งกระจายฉีดวัคซีนเพื่อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจฟื้นกลับมาโดยเร็ว ควบคู่ไปกับการช่วยเหลือด้านต้นทุน จากภาครัฐ สถาบันการเงิน และผู้ประกอบการรายใหญ่ที่เป็นคู่ค้าเพื่อประคับประคองให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดต่อไปข้อกำหนดของวารสารพายัพ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08/30/2023

How to Cite

สุขประเสริฐ ณ. . (2023). การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs). วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา, 1(2), 43–59. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/IAEM/article/view/1124

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ (Academic Articles)