คุณลักษณะด้านดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา ในยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • อวิกา อึ่งสกุล โรงเรียนหอวัง, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2

คำสำคัญ:

คุณลักษณะด้านดิจิทัล, ผู้บริหารสถานศึกษา, ยุคดิจิทัล

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายคุณลักษณะด้านดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมในยุคดิจิทัล ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นบุคคลที่มีความสำคัญ ต้องมีความรู้ความสามารถ และต้องเป็น นักบริหารการศึกษามืออาชีพ มีคุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 เพื่อก้าวทันต่อโลก ปัจจุบันที่มีความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยีดิจิทัล การสร้างงานที่โดดเด่น มีความ รับผิดชอบ ในการปฏิบัติหน้าที่ภายในสถานศึกษา ฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีความพร้อมทางด้านวุฒิภาวะ คุณลักษณะ ศักยภาพความรู้ ความสามารถทางศาสตร์และศิลป์ในการบริหารงานการปรับเข้าสู่ความเป็นดิจิทัล (Digitization/Digitalization) เป็นการผสมผสาน การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลผ่านระบบคลาวด์ อุปกรณ์สมาร์ทโฟน และเครื่องมือที่ใช้ในการทำงาน ร่วมกันเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน สามารถตอบสนองความต้องการของ ประชาชนได้ในทุก เวลา ทุกสถานที่ทุกอุปกรณ์และทุกช่องทางได้อย่างมั่นคง ปลอดภัยและประหยัด ผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูใช้ดิจิทัลในการจัดการเรียนการสอน ได้สำเร็จก็จะกลายเป็นผู้บริหารโรงเรียนดิจิทัล และโรงเรียนที่สอนและบริหารโดยครูและผู้บริหาร ดิจิทัลก็จะกลายเป็นโรงเรียนดิจิทัล

References

จรญ เคหา. (2554). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษาด้านผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา ประจวบคีรีขันธ์ เขต 1. วารสารการบริหารและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 3(2), 119 – 135.

ธีระ รุญเจริญ. (2553). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัท แอล.ที.เพรส.จำกัด.

ยุวดี แก้วสอน. (2558). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

รุ่งกานต์ ใจวงค์ยะ. (2557). สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนรายวิชา สต 301 หลักสถิติ. รายงานการวิจัย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). คู่มือการประเมินตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2560). มาตรฐาน ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การพิจารณาเพื่อการประกันคุณภาพภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานรอบที่ 4 (พ.ศ. 2560-2565). กรุงเทพฯ: รังสี.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bennis. Warren G. (2000). Organization Development: Its Nature Origins and Prospects. Massachusetts: Addison-Wesley.

George Couros. (2010). The 21st Century Principal. Reteieved June 18, 2022, from http://connectedprincipals.com/archives/1663.

Yamkasikorn, Jiraro and Phothong. (2015). Research and Development of Science, Mathematics, and Computer Teachers through English for Integrated Studies Leading to International Standard of the School within EIS 118 (English for Integrated Studies) Networks Phase 2. Bangkok: Office of the Basic Education Commission (OBEC).

Yamkasikorn, Jiraro and Phothong. (2016). Professional Learning Community: Challenges in Self-Development of Teacher. In academic Conference of the Teachers’ Council of Thailand 2016, Research Innovative Learning and Educational Management for Sustainable Development, 27-28 August 2016. Bangkok: The Teachers’ Council of Thailand.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08/30/2023

How to Cite

อึ่งสกุล อ. . (2023). คุณลักษณะด้านดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา ในยุคดิจิทัล. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา, 1(2), 34–42. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/IAEM/article/view/1123

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ (Academic Articles)