การสื่อสารเพื่อการจัดการภาพลักษณ์องค์กรภาครัฐในภาวะวิกฤติ
คำสำคัญ:
ภาพลักษณ์องค์กร, การจัดการภาวะวิกฤติ, การสื่อสารเชิงกลยุทธ์บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการสื่อสารเพื่อจัดการภาพลักษณ์ขององค์กรภาครัฐ ในภาวะวิกฤติผ่านกรอบการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ ผ่านการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบได้แก่ 1. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับภาพลักษณ์องค์กร ซึ่งอธิบายว่าภาพลักษณ์องค์กรเป็นปัจจัยที่สะท้อนถึงคุณค่าและตัวตนขององค์กร ซึ่งการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องอาศัยกลยุทธ์การสื่อสารที่เหมาะสมและความสอดคล้องระหว่างการรับรู้ภายในและภายนอก 2. การสื่อสารเชิงกลยุทธ์ โดยที่การสื่อสารเชิงกลยุทธ์สามารถสร้างคุณค่าให้แก่องค์กร โดยการสื่อสารอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกันส่งเสริมการรับรู้ของสาธารณะและช่วยลดช่องว่างในการสื่อสาร 3. บทบาทของการประชาสัมพันธ์และการโฆษณาต่อองค์กรภาครัฐ ซึ่งอธิบายไว้ว่า การประชาสัมพันธ์และการโฆษณามีบทบาทสำคัญต่อการสร้างและรักษาภาพลักษณ์ขององค์กรภาครัฐ การใช้เครื่องมือเหล่านี้อย่างมีกลยุทธ์จะช่วยให้องค์กรสามารถสร้างความเชื่อมั่นและความสัมพันธ์ที่ดีต่อประชาชนได้อย่างยั่งยืน 4. การจัดการภาพลักษณ์องค์กรในภาวะวิกฤตซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องดำเนินการอย่างรวดเร็วและมีการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ที่ชัดเจน โดยมีเป้าหมายเพื่อลดผลกระทบต่อภาพลักษณ์องค์กร ความสามารถในการสื่อสารและรับมือกับวิกฤตได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5. เทคโนโลยีดิจิทัลและสื่อสังคมออนไลน์โยองค์กรภาครัฐที่สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างสร้างสรรค์จะมีข้อได้เปรียบในการเข้าถึงและรักษาความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพในระยะยาว และ 6. การวัดและประเมินภาพลักษณ์องค์กร ซึ่งผลจากการทบทวนพบว่า แนวทางการสื่อสารเพื่อการจัดการภาพลักษณ์องค์กรภาครัฐในภาวะวิกฤติ คือ การสื่อสารเชิงกลยุทธ์ ผ่านการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา ในขณะที่การจัดการภาพลักษณ์ในภาวะวิกฤตต้องการกลยุทธ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากวิกฤต ดังนั้น เทคโนโลยีดิจิทัลและโซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการตอบสนองต่อความคิดเห็นของประชาชนอย่างรวดเร็ว ในขณะที่การวัดและประเมินภาพลักษณ์จะช่วยให้เห็นถึงความสำเร็จในการจัดการภาพลักษณ์ผ่านการสำรวจความคิดเห็นและการวิเคราะห์ข้อมูลในสื่อสังคม
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
![Creative Commons License](http://i.creativecommons.org/l/by-nc-nd/4.0/88x31.png)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.