การนำศาสตร์พระราชาสู่การบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง
คำสำคัญ:
ศาสตร์พระราชา, การบริหารจัดการศึกษา, เศรษฐกิจพอเพียงบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำศาสตร์พระราชาสู่การบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มี 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน 164 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย ระยะที่ 2 ศึกษาดูงานโรงเรียนที่มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ 3 แห่ง กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนและครูที่รับผิดชอบงานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนละ 2 คน รวม 6 คน ได้มาโดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน โดยรวมอยู่ในระดับมาก และมีความต้องการนำศาสตร์พระราชามาใช้ในการบริหารจัดการศึกษา 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการโรงเรียน ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ และด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 2) แนวทาง ประกอบด้วย ด้านการบริหารจัดการโรงเรียน เน้นการกำหนดนโยบาย การวางแผน การมีส่วนร่วม ด้านการพัฒนาบุคลากร เน้นการพัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะตรงตามสายงาน มีความเป็นมืออาชีพ ด้านการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ เน้นการพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมกับการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนเป็นรายบุคคล และนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ และด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เน้นการส่งเสริมกิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ และระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้การสร้างความเข้าใจ การเข้าถึงแนวทางพัฒนา และการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นกรอบแนวทาง
References
ดารุวรรณ วงศ์นิคม. (2556). การบริหารการเรียนการสอนแบบบูรณาการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงวิทยาลัยการอาชีพฝาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
ธนกฤต สิทธิราช และคณะ. (2558). อนาคตภาพการจัดการมัธยมศึกษาของประเทศไทยในสองทศวรรษหน้า. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 17(3), 71-80.
ธัญญรัตน์ ศุภธนพิพัฒน์. (2563). การน้อมนำศาสตร์พระราชาไปใช้ในการบริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
บุญเลิศ เย็นคงคา และคณะ. (2549). การจัดการศึกษาเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: วี.เจ. พริ้นติ้ง.
สกาวเดือน ควันไชย. (2560). สภาพและแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์, ณิชา พิทยาพงศกร, ทัฬหวิชญ์ ฐิติรัตน์สกุล. (2564). ประเทศไทยในอนาคต Future Thailand มิติที่ 3 การศึกษาไทย. รายงานผลการวิจัย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
สมบัติ นพรัก. (2561). ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาศาสตร์การบริหาร. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของสถานศึกษาสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วารสารศึกษาศาสตร์, 28(1), 140-141.
สุนันท์ ศลโกสุม และไพฑูรย์ โพธิสาร. (2561). ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาการศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 12 (เสริม), 9 – 21.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.