การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนตำบลเข้มแข็ง ตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษา ตำบลบึงกอก อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • วรพงษ์ เหล็กเพ็ชร กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

คำสำคัญ:

ตำบลเข้มแข็ง, เศรษฐกิจพอเพียง, ภาคีเครือข่าย

บทคัดย่อ

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) สำรวจภาวะผู้นำ ความร่วมมือ และการประสานงานของภาคีเครือข่ายตำบลเข้มแข็ง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลบึงกอก อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก 2) ศึกษาพฤติกรรมและความถี่ ในการดำเนินงานของภาคีเครือข่ายตำบลเข้มแข็ง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลบึงกอก อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก และ 3) ขยายผลสู่การขับเคลื่อนตำบลเข้มแข็ง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอื่น ๆ ในตำบลใกล้เคียง การวิจัยครั้งนี้เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากประชากรที่เป็น 7 ภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนตำบลเข้มแข็ง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลบึงกอก อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 60 คน และการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้แทน 7 ภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนตำบลเข้มแข็ง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลบึงกอก อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาจากผลการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า ) ในมุมมองของประชากร 7 ภาคีเครือข่าย ทั้ง 60 คน คิดว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนตำบลเข้มแข็ง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษา ตำบลบึงกอก อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก โดยภาพรวมและรายปัจจัยอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ (1) ความถี่ในการดำเนินงาน (2) พฤติกรรมในการดำเนินงาน (3) การประสานงานของภาคีเครือข่าย (4) ความร่วมมือของภาคีเครือข่าย และ (5) ภาวะผู้นำของภาคีเครือข่าย ตามลำดับ 2) การเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนตำบลเข้มแข็ง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษา ตำบลบึงกอก อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก จำแนกตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่าไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามภาคีเครือข่าย พบว่าแตกต่างกัน 3) ประมวลข้อเสนอแนะ พบว่า ภาคีเครือข่ายควรมีการประชุม แลกเปลี่ยนความคิดเห็น นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปเผยแพร่ให้กับชาวบ้านในหมู่บ้าน และมีการกระตุ้นให้ชุมชนได้ลงมือทำตลอดเวลา โดยเริ่มที่บ้านตนเองและกรรมการ แล้วไปขับเคลื่อนในทั้ง 12 หมู่บ้าน อย่างน้อย 1 ครั้งต่อเดือน เพื่อประโยชน์ของชุมชน ส่งเสริมพลังให้ชุมชนเข้มแข็ง รักษาความสมดุลของทุนและทรัพยากร สามารถปรับตัวพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งนี้ ผู้ประสานงานต้องมีความสามารถ และมีความชัดเจน ทำงานอย่างมีขั้นตอน เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ และควรมีการรวมกลุ่มแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และจัดไปในแนวทางเดียวกัน

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2565). แนวทางการดำเนินงานตำบลเข้มแข็ง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. สืบค้น 25 ธันวาคม 2565, จาก https://district.cdd.go.th/muang-suphan/wp-content/uploads/sites/757/2023

/03/แนวทางการดำเนินงานตำบลเข้มแข็ง-1.pdf

ชฎาพร สิงโตเกษม. (2566, 12 มกราคม). เครือข่ายนักขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นำการเปลี่ยนแปลงสู่นักสื่อสารสังคมตำบลบึงกอก [บทสัมภาษณ์].

ชนพัฒน์ เห็มทอง. (2566, 10 มกราคม). ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดบึงกอก [บทสัมภาษณ์].

พงศ์นริทร์ สมจิตต์ชอบ. (2566, 12 มกราคม). ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน (ผู้นำ อช.) ตำบลบึงกอก [บทสัมภาษณ์].

พระครูสุธรรมพิศาล. (2566, 10 มกราคม). เจ้าอาวาสวัดบึงกอก [บทสัมภาษณ์].

มณีรัตน์ ธูปเทียน. (2566, 12 มกราคม). หัวหน้าคณะทำงานขับเคลื่อนสารสนเทศตำบลต้นแบบเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลบึงกอก [บทสัมภาษณ์].

มูลนิธิชัยพัฒนา. เศรษฐกิจพอเพียง. สืบค้น 25 ธันวาคม 2565, จาก

https://www.chaipat.or.th/site-content/item/1309-2010-06-03-09-50-07.html

วันชัย ไกรเกตุ. (2566, 13 มกราคม). นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบึงกอก [บทสัมภาษณ์].

วินิจ ผาเจริญ และคณะ. (2565). บทบาทผู้นำชุมชนท้องถิ่นในการเสริมสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านโป่งกุ่ม ตำบลป่าเมี่ยง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสันติสุขปริทรรศน์. 3(2), 1 – 12.

สุนทร หิรัญทับทิม. (2566, 13 มกราคม). กำนันตำบลบึงกอก [บทสัมภาษณ์].

สุนทร หิรัญทับทิม. (2566, 13 มกราคม). ผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.สุนทรพานิช [บทสัมภาษณ์].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/30/2023

How to Cite

เหล็กเพ็ชร ว. . (2023). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนตำบลเข้มแข็ง ตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษา ตำบลบึงกอก อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา, 1(3), 1–15. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/IAEM/article/view/1116

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)