ผลการใช้แอปพลิเคชันไลน์ติดตามผู้เรียนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยหัวข้อ ผลการใช้แอปพลิเคชันไลน์ติดตามผู้เรียนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเพื่อติดตามนักเรียนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการส่งงานในรายวิชาภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ในรายวิชาภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย จำนวน 644 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) บทเรียนออนไลน์ (E-Learning) รายวิชาภาษาไทย 5 (ท33101) และรายวิชาภาษาไทย 6 (ท33102) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประกอบไปด้วย เนื้อหา ภาระงาน และแบบทดสอบ 2) กลุ่มไลน์ “ภาษาไทย ม.6 ปี 2564” และ “64-ติดตามแก้ผลการเรียนภาษาไทย ม.6” ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) จากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นระดับผลการเรียนเมื่อสิ้นสุดในแต่ละภาคเรียน จากผลการวิจัย พบว่า ผลของนักเรียนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการส่งงาน มีการส่งงานและทำแบบทดสอบเพิ่มขึ้น เนื่องจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาภาษาไทยอยู่ในระดับที่สูงขึ้น ถึงแม้ว่าในภาคเรียนที่ 2 นักเรียนจะมีผลการเรียนในระดับ 0 และ ร เพิ่มขึ้นกว่าภาคเรียนที่ 1 ซึ่งผู้วิจัยได้แก้ปัญหาดังกล่าวโดยการสร้างกลุ่มไลน์เฉพาะ เพื่อแก้ไข ติดตามนักเรียนที่มีผลการเรียนในระดับ 0 และ ร ให้ดำเนินการสอบแก้ตัว ทำให้นักเรียนกลุ่มนี้มีผลการเรียนผ่านเกณฑ์ และทำให้มีนักเรียนที่มีผลการเรียนในระดับ 0 และ ร น้อยลง อีกทั้งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ในรายวิชาภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับที่สูงขึ้น โดยในภาคเรียนที่ 1 มีนักเรียนได้ระดับผลการเรียนระดับ 3 ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 92.9 และได้รับผลการเรียน 0, ร ร้อยละ 1.4 และในภาคเรียนที่ 2 นักเรียนได้ระดับผลการเรียนระดับ 3 ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 78.5 และได้รับผลการเรียน 0, ร ร้อยละ 2.9 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ นอกจากนี้ ผลการติดตาม แก้ไข และช่วยเหลือนักเรียนที่มีผลการเรียนในระดับ 0 และ ร ในรายวิชาภาษาไทยหลังจากเข้ากลุ่มไลน์ พบว่า มีนักเรียนมีผลการเรียนในระดับ 0 และ ร จำนวน 18 คน สอบแก้ตัวผ่าน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 61.11 สอบแก้ตัวไม่ผ่านหรือไม่ติดต่อจำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 38.9 ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทำให้มีนักเรียนที่มีผลการเรียนในระดับ 0 และ ร มีจำนวนน้อยลง
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
![Creative Commons License](http://i.creativecommons.org/l/by-nc-nd/4.0/88x31.png)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.